หน้าแรก ค้นหา

worklife - ค้นหาผล

หากคุณไม่มีความสุขกับผลที่ได้ โปรดดำเนินการค้นหาอื่น
Nappuchio ดื่มกาแฟอย่างไรให้โปรดักทีฟตลอดทั้งวัน

จิบสักนิดแล้วงีบสักหน่อย Nappuchio ดื่มกาแฟอย่างไร ให้โปรดักทีฟตลอดทั้งวัน

เชื่อว่าสำหรับเหล่าพนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่หรือใครก็ตามที่กำลังทำงานประจำแบบมนุษย์เงินเดือน มักจะมีเครื่องดื่มหนึ่งที่เป็นตัวช่วย “ปลุก” ให้เรานั้นเกิดความสดชื่น พร้อมมีกำลังในการทำงาน ซึ่งเครื่องดื่มที่ว่านี้ก็คือ “กาแฟ” นั่นเองสำหรับชีวิตของคนทำงานหลายคน เชื่อว่าจะต้องมีกาแฟสอดแทรกอยู่ในกิจวัตรยามเช้าของตัวเองอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นกาแฟดริปจากเอธิโอเปียที่เต็มไปด้วยโปรไฟล์รสชาติแบบผลไม้ ไปจนถึงเอสเปรสโซช็อตแบบเข้มข้นที่ทำให้นัยน์ตาเบิกโพลงอย่างรวดเร็ว โดยพฤติกรรมการดื่มกาแฟของแต่ละคนนั้นก็แตกต่างกันออกไป สำหรับบางคน การดื่มกาแฟแบบค่อยๆ จิบไปอย่างช้าๆ ตั้งแต่เช้าถึงสายก็เพียงพอแล้วกับการที่จะทำให้พวกเขามีแรงทำงานไปตลอดทั้งวัน แต่สำหรับใครหลายคน การดื่มกาแฟแค่แก้วเดียวนั้นไม่เคยพอ ต้องมีแก้วที่สองในตอนบ่าย หรือเผลอๆ ต้องมีแก้วที่สามเป็นการปิดท้ายวันก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง จนเกิดเป็นคำถามว่าทำไมไม่ว่าจะดื่มเท่าไหร่ ก็ยังไม่หายง่วงเสียทีไม่แน่นะ เราอาจจะกำลังดื่มกาแฟผิดวิธีอยู่ก็เป็นได้ แล้วทำไมบางคนดื่มกาแฟแล้วไม่ง่วง? บางคนกินกาแฟแล้วตาสว่าง...
softskill 10 how to increase creativity at work

10 วิธีเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานระหว่างวัน จากนักประสาทวิทยาศาสตร์

เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน เราก็พบว่าโลกของการทำงานเต็มไปด้วยสิ่งที่ต้องทำมากมาย ชั่วโมงประชุมอันยาวนาน งานที่จำเป็นและไม่จำเป็น และการนั่งอยู่หน้าคอมพ์ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ เป็นเวลานาน ช่วงแรกๆ เรายังพอมีพลังพอที่จะใช้ “ความคิดสร้างสรรค์” และออกไอเดียใหม่ๆ แต่พอเวลาผ่านไป กลายเป็นว่าแค่ทำงานให้เสร็จก่อนหมดวันก็พอแล้ว ในเมื่อสภาพแวดล้อมการทำงานดูดพลังเช่นนี้ จะทำอย่างไรให้สมองยังสามารถผลิตความคิดสร้างสรรค์ได้? พอล แซค นักประสาทวิทยาศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เชิงสมอง (Neuroeconomics) แห่ง Claremont Grduate University คือหนึ่งในผู้ที่สนใจหาคำตอบเรื่องนี้
รู้จักเทรนด์ “FatFIRE”เมื่อคนไม่อยากทำงานที่รักแต่อยากทำงานที่รวย

รู้จักเทรนด์ “FatFIRE”เมื่อคนไม่อยากทำงานที่รักแต่อยากทำงานที่รวย

รู้จักเทรนด์ “FatFIRE”เมื่อคนไม่อยากทำงานที่รักแต่อยากทำงานที่รวย ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเห็นเทรนด์และนิยามการทำงานรูปแบบใหม่ๆ มากมาย ที่ต่างก็ได้รับการถกเถียงจนกลายเป็นกระแสไวรัลบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Job Hopper, Quiet Firing, หรือ Hybrid Working . แต่ท่ามกลางเทรนด์การทำงานทั้งหมดนั้น มี 2 เทรนด์ ที่เรียกว่าเรียกเสียงฮือฮาจากผู้คนบนโลกออนไลน์ และมีเสียงตอบรับที่ดูจากกลุ่มคนรุ่นใหม่จำนวนมาก นั่นก็คือ วิธีการทำงานเก็บเงินแบบสุดโต่งเพื่อเกษียณตัวเองอย่างรวดเร็วและมีความสุขที่มีชื่อว่า “F.I.R.E.” และ วิธีการทำงานแบบเรียบง่าย ไม่ต้องพยายามทำงานหนัก เพียงแค่รับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองก็พอแล้วอย่าง “Quiet Quitting” . เทรนด์การทำงานทั้ง 2 อย่างนี้ เป็นการนิยามการทำงานที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว โดยเทรนด์ F.I.R.E นั้นเป็นเทรนด์การทำงานที่ทุ่มเทให้กับการทำงานหารายได้ เพื่อปลดปล่อยตัวเองสู่อิสรภาพทางการเงินอย่างรวดเร็วโดยไม่สนถึง Work-Life Balnce หรือความสุขของตัวเองเลยแม้แต่น้อย สวนทางกับ Quiet Quitting ที่ต้องการหันมาให้ความสำคัญของ Work-Life Balance และความสุขในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง . ด้วยเหตุนี้ จึงได้เกิดเทรนด์การทำงานแบบใหม่เกิดขึ้น ซึ่งเหมือนเป็นลูกผสมระหว่าง F.I.R.E. และ Quiet Quitting ที่เหมาะสำหรับคนที่ยังอยากทำงานอย่างมีความสุขในปัจจุบันแต่ก็ยังสามารถเกษียณตัวเองจากการทำงานแบบมีอิสรภาพทางการเงินตั้งแต่อายุยังน้อยอยู่เช่นเดียวกัน โดยเทรนด์การทำงานนี้ มีชื่อว่า “FatFIRE”
งานโหลด ไม่ท้าทาย หรือถูกลืม? ตอนนี้เรากำลัง Burnout แบบไหน แล้วทำอย่างไร ถึงจะเอาชนะมันได้

งานโหลด ไม่ท้าทาย หรือถูกลืม? ตอนนี้เรากำลัง Burnout แบบไหน แล้วทำอย่างไร ถึงจะเอาชนะมันได้

ภาวะหมดไฟ หรือ อาการ Burnout ได้กลายเป็นเรื่องที่เหมือนจะเป็นความปกติที่เหล่าคนทำงานมักจะได้ยินหรือเจอกับตัวเองอยู่บ่อยๆ มันคือภาวะที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังหรือความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ที่ส่งผลให้เราไม่มีความสุข เศร้า หดหู่ ไม่มีแรงลุกขึ้นมาทำงาน รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานเองก็ลดลงตามไปด้วย ถึงแม้ว่าหน้าที่ความรับผิดชอบนั้นจะแทบไม่แตกต่างไปจากเดิมเลยก็ตาม . โดยปกติแล้ว คนเรามักผูกติดอาการ Burnout นี้เข้ากับ “ความเหนื่อยล้า” และ “ยุ่ง” อยู่บ่อยครั้ง หากเรานึกภาพคนที่กำลังมีอาการ Burnout อยู่ล่ะก็ คนส่วนใหญ่ก็อาจจะนึกภาพถึงคนที่กำลังง่วนทำงานหนักอย่างเอาเป็นเอาตาย จมอยู่แต่ในกองงานกองประชุม เป็นคนประเภท “Work ไร้ Balance” ที่ไม่สามารถบริหารจัดการชีวิตส่วนตัวแยกออกจากชีวิตการทำงานได้ . แต่ในความจริงนั้น อาการ Burnout นั้นอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องกำเนิดจากความเหนื่อยล้า หรือ ความยุ่ง เสมอไป
ใครกำลังหางานลองฝึก! ทักษะ “การคิดเชิงโครงสร้าง” เพิ่มโอกาสการได้งานในยุคนี้ Structured Thinking

ใครกำลังหางานลองฝึก! ทักษะ “การคิดเชิงโครงสร้าง” เพิ่มโอกาสการได้งานในยุคนี้

คุณคิดว่า การจะคว้าโอกาสจากการสัมภาษณ์งานที่มีการแข่งขันสูงๆ ได้ ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติอะไร? . คุณรวิศ หาญอุตสาหะ CEO บริษัทศรีจันทร์ และผู้ก่อตั้ง Mission To The Moon เคยแชร์มุมมองในการคัดเลือกพนักงานเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยสิ่งที่คุณรวิศมักใช้ทดสอบกับผู้สมัครงานคือสิ่งที่เรียกว่า “Structured Thinking” หรือ “การคิดเชิงโครงสร้าง"
งานวิจัยชี้ เมาท์มอยในออฟฟิศ ช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้น Positive Gossiping

งานวิจัยชี้ เมาท์มอยในออฟฟิศ ช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้น (Positive Gossiping)

Positive Gossiping ส่งต่อเรื่องดีๆ แทนที่จะนินทาลับหลังอย่างเดียว . แต่แน่นอนว่า การเมาท์มอยจะมีประโยชน์ได้นั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ไม่มีพิษภัยและไม่มีจุดประสงค์ร้ายแอบแฝง โดย Matthew Feinberg ศาสตราจารย์ด้านการจัดการที่มหาวิทยาลัยโตรอนโต ชี้ให้เห็นว่าการเมาท์มอยที่เกิดขึ้นเพราะต้องการว่าร้ายผู้อื่น เช่นการนินทาลับหลัง บูลลีรูปร่างหน้าตาของใครบางคน ล้วนแต่จะสร้างผลลัพธ์เชิงลบ สร้างความเสียหาย และสร้างแต่ปัญหาเช่นกัน . แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเราอยู่ในวงของการเมาท์มอยในที่ทำงาน หัวข้อของนินทาคนในออฟฟิศนั้นจะต้องผุดขึ้นมาบ้างสักครั้ง ไม่ว่าจะเป็นชีวิตรักของพี่ที่แผนก HR เงินเดือนของน้องที่เพิ่งเข้ามาใหม่ ไปจนถึงความลับของประธานบริษัท เมื่อเราบังเอิญถลำเข้าไปอยู่ท่ามกลางวงนินทาจนเกินคำว่าเมาท์มอยเรื่อยเปื่อยแล้วล่ะก็ ก็ควรพยายามถอนตัวออกมาจากวงสนทนานั้นจะเป็นการดีที่สุด . ในท้ายที่สุด ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ถ้าหากเราบังเอิญตกอยู่ท่ามกลางวงซุบซิบนินทาเพื่อนร่วมงานเมื่อไหร่แล้วล่ะก็ แทนที่เราจะนินทาลับหลังแต่เรื่องไม่ดี จะดีกว่าไหมถ้าเราลองเมาท์มอยถึงเรื่องราวและโมเมนต์ดีๆ ของเพื่อนร่วมงานในออฟฟิศ ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า การเมาท์มอยเชิงบวก (Positive Gossip)
The Great Resignation_1920x1080

The Great Resignation ทำพิษ เมื่อพนักงานที่อยู่ต่อต้องแบกรับภาระงานของเพื่อนร่วมงานที่ลาออกไป

สำนักข่าว BBC รายงานว่า กระแส The Great Resignation ทำให้พนักงานต่างลาออกจากงานที่ทำอยู่เป็นจำนวนมาก โดยสถิติการลาออกของคนทำงานทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกา มีผู้ลาออกจำนวนกว่า 4.4 ล้านคน หรือ 3% ของแรงงานทั่วประเทศ (สถิติเดือนกันยายน 2021) และตามข้อมูลล่าสุดจากสำนักสถิติแรงงานของสหราชอาณาจักรในไตรมาสที่ผ่านมา มีตำแหน่งงานว่างสูงกว่า 1.2 ล้านตำแหน่ง

POPULAR POSTS

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า