PSYCHOLOGYworklifeเพื่อนลาออกหมดจนเหลือเราคนเดียว จะรับมือกับความโดดเดี่ยว และไปต่อกับที่เดิมอย่างไร?

เพื่อนลาออกหมดจนเหลือเราคนเดียว จะรับมือกับความโดดเดี่ยว และไปต่อกับที่เดิมอย่างไร?

ยิ่งเพื่อนร่วมงานลาออก ก็ยิ่งรู้สึกมีกำลังใจทำงานน้อยลง

จังหวะที่เพื่อนร่วมงานคนสนิทบอกว่ากำลังจะลาออก คือจังหวะที่ทำให้เราเลือกไม่ถูกว่าจะ “ดีใจ” หรือ “เสียใจ” ดี เพราะมุมหนึ่งก็รู้สึกยินดีที่เพื่อนกำลังจะได้ออกไปทำตามความฝันและได้มีชีวิตที่หวังไว้ แต่อีกมุมหนึ่งก็รู้สึกใจเสีย เพราะเรากำลังจะไม่มีเพื่อนสนิทเหลืออยู่ที่บริษัทอีกต่อไป และเรายังต้องทำงานอยู่ที่เดิมโดยถูกรายล้อมไปด้วยคนใหม่ๆ ที่เก่งกว่า

ในสถานการณ์นี้เราอาจกำลังลังเลว่า “ควรลาออกบ้างดีหรือเปล่า?” เพราะเผลอไปเห็นโซเชียลมีเดียของเพื่อนที่ลาออกไปกำลังมีชีวิตที่ดียิ่งกว่าเรา เราจึงเกิดไม่พอใจชีวิตตนเองขึ้นมา แต่ทว่าความคิดชั่ววูบนั้นยังไม่เพียงพอให้เราตัดสินใจ เพราะเราอาจกำลังติดอยู่ในอาการกลัวตกเทรนด์ (FOMO) หรือความรู้สึกกังวลว่าตนเองกำลังแปลกแยกและตามคนรอบข้างไม่ทันอยู่

การอยู่บริษัทเดิมนานกว่าใครจึงมีข้อเสียที่ตรงนี้ เราจะต้องเผชิญกับความรู้สึกแปลกแยกชั่วคราวก่อนสนิทกับคนใหม่ ความกดดันระหว่างโอนย้ายงาน และความกังวลก่อนการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หากยังไม่แน่ใจว่าตนเองควรจะทำอย่างไรต่อไปดี ในพอดแคสต์ Mission To The Moon EP. 1322 ที่ชื่อตอนว่า “ทำอย่างไรเมื่อเพื่อนร่วมงาน ‘ลาออกหมด’ จนเหลือเราคนเดียว” ได้แนะนำ 4 วิธีเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ไว้ ดังนี้

1. ใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อทบทวนตนเอง

เพราะการเปลี่ยนแปลงบางครั้งรวดเร็วเกินกว่าที่เราจะตั้งตัวทัน และหลายครั้งเรามักด่วนตัดสินใจในตอนที่ตนเองกำลังไม่มั่นคง ภาพของชีวิตของเพื่อนที่ลาออกไปอาจทำให้เรารู้สึกหวั่นไหว และอยากลองลาออกจากงานดูบ้าง แต่เราอาจจะลืมนึกไปว่า ไม่มีใครจะเลือกแสดงชีวิตด้านไม่ดีลงในโซเชียลมีเดีย ดังนั้นภาพอันมีความสุขบนโซเชียลมีเดียอาจไม่ได้การันตีว่าความคิดของเราถูกต้องเสมอไป และอีกข้อหนึ่งที่สำคัญคือ “ชีวิตที่ดี” ของเราไม่เหมือนกัน การทำตามชีวิตคนอื่นอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดของเราก็ได้

ดังนั้น ให้เวลากับตนเองสักพักก่อนเพื่อตั้งคำถามว่า ตอนนี้เรากำลังให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรบ้าง? เป้าหมายปัจจุบันของเราคืออะไร? และงานของเราได้ให้คุณค่าและสอดคล้องกับเป้าหมายอยู่หรือเปล่า? หากบริษัทและเรายังมีความเชื่อหรือเป้าหมายที่ไปด้วยกันอยู่ เราอาจจะได้คำตอบว่า ขั้นต่อไปหลังจากนี้คืออะไร ไม่แน่ว่าเราอาจจะได้เห็นโอกาสแก้ไขจุดบกพร่อง โอกาสพัฒนาศักยภาพ และโอกาสจุดไฟแรงบันดาลใจให้ลุกโชนอีกครั้งหนึ่ง

2. วางแผน Re-onboarding ให้ตนเอง

Onboarding หมายถึงการจัดอบรมให้พนักงานใหม่ได้เรียนรู้ทั้งเนื้องาน เป้าหมายและวัฒนธรรมขององค์กร พนักงานใหม่จึงเหมือนได้รับการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ และไฟในการทำงานอยู่เสมอ พวกเขาจะตื่นเต้นก่อนมาทำงานทุกเช้า ในขณะที่พนักงานเดิมซึ่งมีชั่วโมงการทำงานค่อนข้างนาน จะรู้สึกคุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานแบบเดิมๆ จนทำให้มีความกระตือรือร้นและความคิดนอกกรอบน้อยลง

ดังนั้นโปรแกรม Re-onboarding จึงเป็นโอกาสให้พนักงานเดิมได้กลับไปที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง ลองสวมบทบาทเป็นพนักงานใหม่ เพื่อเรียนรู้เป้าหมาย วิธีการทำงาน และวัฒนธรรมขององค์กรใหม่อีกครั้งหนึ่ง ไม่แน่ว่า เราอาจมองเห็นความเป็นไปได้ที่คาดไม่ถึง ซึ่งช่วยเติมไฟและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้เราเหมือนตอนก้าวเข้ามาในองค์กรช่วงแรกๆ

3. ลองเป็นทั้ง “ผู้สอน” และ “ผู้เรียน”

เพราะการเป็นรุ่นพี่ที่เริ่มทำงานก่อนและมีประสบการณ์มากที่สุด ทำให้หน้าที่สอนพนักงานใหม่ตกเป็นของเราโดยปริยาย แม้อาจจะดูเป็นงานธรรมดา แต่การได้มีโอกาสสอนงานผู้อื่น จะทำให้เราได้ทบทวนความเข้าใจ ความเชื่อ และวิธีการทำงานเดิมของเราเองมากยิ่งขึ้น

เราอาจมองงานของตนเองด้วยมุมมองเดิมประจำและแก้ปัญหาด้วยวิธีเดิมมาตลอด จนทำให้เผลอมองข้ามรอยรั่วเล็กๆ หรือคุณค่าที่สำคัญในงานของตนเองไป การเปิดใจรับมุมมองจากคนใหม่ๆ ที่ทั้งอายุน้อยกว่าและประสบการณ์น้อยกว่าอาจจะทำได้ยาก แต่รับรองว่า การได้เปลี่ยนเป็นผู้เรียนรู้ดูบ้าง จะทำให้เราได้เห็นโลกหรือมุมมองที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน หรืออาจทำให้เราเปลี่ยนทัศนคติเดิมที่มีต่องานไปเลยก็ได้

4. หากทำทั้งหมดแล้วยังรู้สึก “ไม่ใช่” เราอาจต้องเริ่มทบทวนเรื่องการเปลี่ยนงาน

เปลี่ยนมุมมองแล้ว ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นแล้ว แต่ยังรู้สึกว่างานปัจจุบันไม่ใช่งานที่ต้องการ และไม่ใช่งานที่เติมเต็มเป้าหมายเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว บางทีสัญญาณและความรู้สึกนี้อาจเป็นเวลาที่ดีเราจะเริ่มไตร่ตรองกับตัวเองอย่างจริงจังว่า เรายังยังคงทำงานนี้ต่อไปหรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะลงทุนลงแรงให้กับงานนี้มานานจนนึกเสียดายเวลาที่เคยใช้ไป แต่การเลือกทางไปต่อในอนาคต ไม่ใช่การยึดติดกับอยู่ที่อดีต ทว่าเป็นหลังจากที่เราตั้งคำถามว่า “งานของเราจะให้คุณค่ากับเราต่อไปอย่างไร?”

เหตุผลที่เราเลือกเปลี่ยนงาน อาจเป็นได้ทั้งปัญหาการทำงานเรื้อรัง ลาออกตามเพื่อน หรือออกไปทำตามความฝัน ถ้าเรามั่นใจในเหตุผลของตนเองจริงๆ ขอให้ยืดอกเพื่อยื่นใบลาออกด้วยความแน่วแน่ และอย่าพยายามลาออกด้วยการทำลายความสัมพันธ์ในที่ทำงาน เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า เส้นทางอนาคตของเราจะไปคาบเกี่ยวกับใครอีก หัวหน้าของเราในวันนี้ อาจกลายเป็นลูกค้าของเราในอนาคต และไม่แน่หลังจากลาออกแล้ว เราอาจจะยังอยากกลับมาทำงานเดิมอีกก็ได้

ทุกคนมีเส้นทางชีวิตและเป้าหมายของตนเอง ในช่วงเวลาหนึ่งเส้นทางของเราอาจตัดผ่านกับเส้นทางของเพื่อนสนิท แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งเราก็ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลง การจากลา และการรู้จักคนใหม่ๆ อยู่ดี การยอมรับและเข้าใจว่า เราทุกคนล้วนมีวันที่ต้องเปลี่ยนเส้นทางจากกันไป ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตเช่นกัน


อ้างอิง

– ทำอย่างไรเมื่อเพื่อนร่วมงาน “ลาออกหมด” จนเหลือเราคนเดียว | Mission To The Moon EP.1322: รวิศ หาญอุตสาหะ – https://bit.ly/48zCDDC

#worklife
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements
Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า