PSYCHOLOGYworklifeใจดี ≠ ไม่ต้องเกรงใจ เป็นคน “ใจดี” อย่างไรไม่ให้โดนคนอื่น “เอาเปรียบ”

ใจดี ≠ ไม่ต้องเกรงใจ เป็นคน “ใจดี” อย่างไรไม่ให้โดนคนอื่น “เอาเปรียบ”

“อย่าใจดีมากไป จะโดนเอาเปรียบไม่รู้ตัว” ไม่ว่าใครก็คงคุ้นเคยกับคำเตือนจากรอบข้างเป็นอย่างดี แม้อยากจะช่วยเหลือคนอื่นให้ได้มากแค่ไหน กลับกลายเป็นคนที่โดนเอารัดเอาเปรียบจากความใจดีโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวอยู่ดี

ยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่สังคมการทำงาน หลายครั้งก็เกิดเหตุการณ์ที่ตอกย้ำคำเตือนนั้นอยู่ซ้ำๆ เช่น เห็นเพื่อนร่วมงานเครียดกับงานมากจึงยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ กลายเป็นว่าอยู่ดีๆ หน้าที่รับผิดชอบนั้นก็ตกมาอยู่ที่เราโดยที่เราเองก็ไม่ได้อะไรเพิ่ม

สุดท้ายแล้วการเจอคนเอาเปรียบความใจดีของเราซ้ำๆ ก็กดดันให้เราต้องสร้างกำแพงขึ้นมาป้องกันไม่ให้ถูกใช้ประโยชน์จนเกินพอดี รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นคนที่เต็มไปด้วยความหวาดระแวงที่จะช่วยเหลือคนอื่นไปเสียอย่างนั้น

การไม่สามารถแสดงความเห็นอกเห็นใจ ความเป็นห่วงและความต้องการช่วยเหลือได้อย่างอิสระ สร้างความรู้สึกสงสัยในตนเองอยู่บ่อยครั้งว่า เรากลายเป็นคนแล้งน้ำใจไปหรือเปล่า เรากลายเป็นคนเห็นแก่ตัวไปหรือเปล่า จบลงที่ก้อนความไม่พอใจในตัวเองทุกครั้งที่ต้องหยุดยั้ง “ความใจดี” เอาไว้

เพราะเบื้องลึกแล้วทุกคนล้วนยังคงเต็มไปด้วยความหวังดีและความปรารถนาดีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ วันนี้ Mission To The Moon จึงอยากชวนทุกคนมาเสริมเกราะป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบแบบไม่รู้ตัว โดยไม่ต้องละทิ้ง “ความใจดี” ที่เป็นคุณค่าของเราผ่านจิตวิทยาการสร้างขอบเขตทั้งในจิตใจและภาษากายกัน

ไม่ว่าใครก็อยากเป็นคนดี แต่หลายครั้งเรามักจะเห็นตัวอย่างคนดี “มากเกินไป” จนกลายเป็นเหยื่อของการเอาเปรียบจากกายหรือทางใจ หรือบางครั้งอาจโดนคนอื่นใช้ประโยชน์จากความเป็นคนดีเพื่อทำร้ายคนอื่นอีกทีหนึ่งก็เป็นได้ มารู้จักวิธีสร้าง “ขอบเขต” ที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันทางใจที่มั่นคงไม่ให้ใครรุกล้ำเข้ามากัน

1. วาดภาพหรือเขียน “เส้นแบ่ง” ของเราให้ชัดเจน

เมื่อถามว่าอะไรคือสาเหตุที่เรากล้ากระทำสิ่งหนึ่งกับคนหนึ่ง แต่ไม่กล้าทำสิ่งเดียวกันกับคนอื่น เชื่อว่าหลายคนต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เพราะ “เส้นแบ่ง” ขอบเขตที่แต่ละคนขีดไว้มันไม่เท่ากัน เส้นวางขอบเขตคนโลกส่วนตัวสูงอาจจะกว้างกว่าคนที่เปิดกว้างกับคนอื่น เป็นต้น

แล้วจะเป็นอย่างไรเมื่อเราไม่รู้ว่า “เส้นแบ่ง” ของเขาอยู่ตรงไหน หลายครั้งผู้คนก็มักจะ ‘ลองทำไปก่อน’ โดยคิดว่าถ้าเขาไม่โอเคก็คงจะปฏิเสธมากเอง วิธีการนี้คือ “การทดสอบขอบเขต” หรือ ‘Testing Boundary’ ที่หลายคนทำกันเป็นปกติ ทว่าเราต่างรู้กันดีว่าการปฏิเสธนั้นยากกว่าที่คิดในหลายบริบท สุดท้ายก็โดนรุกล้ำขอบเขตโดยที่ไม่เต็มใจและทำอะไรไม่ได้

การป้องกันตัวที่แข็งแกร่งจึงหมายถึงการสร้าง “เส้นแบ่ง” นั้นขึ้นมาให้ชัดเจน ด้วยการถามตนเองว่าหากเกิดกรณีสมมติบางอย่างกับเรา ตัวเราจะมีขอบเขตอยู่ตรงไหน รับได้ถึงตรงไหน ที่สำคัญคือการหาวิธีรับมือเมื่อเหตุการณ์เกินเลยเส้นแบ่งที่เราขีดว่า “รับได้” ไป

นอกจากการวาดเส้นให้ชัดเจนแล้วนั้น การเคารพเส้นแบ่งของตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เสมือนกับกฏการดำเนินชีวิตที่เราต้องปฏิบัติตามโดยไม่ปล่อยข้อยกเว้นนั้นให้ใครบางคนโดยไม่จำเป็น เพราะหากเรามีเส้นแบ่งแต่ไม่สื่อสารผ่านการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดก็ทำให้คนอื่นมองไม่เห็นเส้นแบ่งของเรานั่นเอง

2. สร้างระบบจักรวาลของตนเอง

แม้ว่าเราอยากจะใจดีกับทุกคนให้เท่าเทียมกันมากแค่ไหนก็ต้องยอมรับว่ายิ่งรู้จักกันน้อยเท่าไรยิ่งควบคุมการกระทำได้ยากเท่านั้น เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าคนคนนั้นจะตีความสารของเราได้ตรงตามเจตนาเท่ากับคนที่รู้จักเราดีแล้วมากน้อยแค่ไหน การสร้าง “ระบบจักรวาล” ของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น

สมมติว่าตนเองเป็นพระอาทิตย์และมีคนมากมายโคจรอยู่รอบๆ แต่ละวงโคจรย่อมได้รับจำนวนความร้อนและแสงที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งใกล้มากเท่าไรก็ยิ่งรับแสงและความร้อนที่เข้มข้นขึ้นเท่านั้น ยิ่งห่างออกไปก็ยิ่งได้รับความเข้มข้นที่น้อยลง

เมื่อเล่าหรือสื่อสารกับคนรอบตัวก็เช่นกัน บางเรื่องอาจจะสามารถบอกกับคนวงใกล้แต่ไม่สามารถบอกรายละเอียดกับคนวงไกลออกไปได้เท่าๆ กันเพราะอาจเกิดการสื่อสารคลาดเคลื่อนได้ง่าย ใช่ว่าจะต้อง “ไม่เล่า” และทำเหมือนเขาเป็น “วงนอก” ที่หลุดวงโคจรออกไปให้เขารู้สึกไม่สบายใจ เราสามารถลดทอนรายละเอียดและพูดแต่ใจความที่กลั่นกรองมาชั้นต่อชั้นได้เช่นกัน

3. ช่วยเหลือในส่วนที่ไม่ต้องรับผลกระทบ

หลายคนมักจะสับสนคำว่า “ช่วยเหลือ” กับ “ช่วยทำ” จนกลายเป็นว่าเราเข้าไปมีส่วนร่วมในงานของเขาและต้องรับผิดชอบกับการ “ช่วย” นั้นเมื่อเกิดขึ้นผิดพลาดหรือผลกระทบเชิงลบเพียงคนเดียว นั่นเป็นเพราะเราลืมคำนวณไปว่าหากลงมือ “ช่วย” เขาแล้วจะเกิดอะไรกับเราบ้าง

การช่วยเหลือคนอื่นย่อมเป็นเรื่องที่ดี แต่ทุกการกระทำมีความรับผิดชอบตามมา การคำนวณความรับผิดชอบที่อาจเกิดขึ้นก็เป็นกลยุทธ์สำคัญ เช่น เพื่อนร่วมงานที่ไม่คล่องเทคโนโลยีของให้ช่วยทำงานของเขาที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีให้ หากเรารับมาโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นการเพิ่มงานให้ตนเองโดยปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไข สุดท้ายงานนั้นก็จะกลายเป็นเนื้องานของเราไปโดยปริยาย

กลับกันหากเราช่วยเหลือครั้งหนึ่งโดยตกลงกันว่าจะหาเวลามาสอนเขาใช้งานเทคโนโลยีเมื่อสะดวก นอกจากจะไม่ต้องรับผิดชอบผลกระทบที่ว่าอาจเกิดการใส่ข้อมูลผิดพลาดแล้ว ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย การคำนวณผลการกระทำก่อนช่วยเหลือจึงเป็นเทคนิคสำคัญ

กล่าวคือกุญแจสำคัญในการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้คนอื่นเข้ามาเอาเปรียบความใจดีของเรา คือการสร้างเส้นแบ่งเขตขึ้นมาเพื่อเป็นข้อปฏิบัติของตนเองว่าจะ “อนุญาต” ให้คนอื่นปฏิบัติตนกับเราอย่างไร และสร้าง “ระบบจักรวาล” ขึ้นมาเพื่อเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของตนเองต่อผู้อื่น

อย่างไรก็ตาม การอยู่ร่วมกับผู้อื่นไม่ได้เรียบง่ายขนาดนั้นเสมอไป หลายครั้งที่เราต้องเจอกับสถานการณ์ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” หรืออาการ “น้ำท่วมปาก” ไม่สามารถบอกปฏิเสธไปได้ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่นนั้น Mission To The Moon เลยอยากพอทุกคนไปรับมืออย่างถูกวิธีด้วย 3 วิธีปฏิเสธผ่านภาษากายกัน

1. ท่ายืนแบบ “ฐานสามเหลี่ยม”

หากอยู่ในวงสนทนาแล้วรู้สึกว่ากำลังโดนล้ำเส้นจากคำพูดหรือบทสนทนานั้น ให้ลองแยกเท้าออกกว้างประมาณหนึ่งช่วงไหล่ ปลายเท้าแยกกว้างออกจากกัน วิธีนี้จะทำให้คนรอบข้างรู้สึกถึงบรรยากาศของการวางขอบเขตหรืออำนาจรอบตัวเรามากขึ้น

2. วางสิ่งกีดขวางตรงหน้าให้รู้ว่าเรามีกำแพง

หากเรากำลังยืนตัวเปล่า การยกมือขึ้นมากอดอกเป็นสัญญาณให้คนในวงสนทนารับรู้ถึงการแสดงอาณาเขตก็เป็นหนึ่งในภาษากายที่ใช้ได้ทั่วโลก ขณะเดียวกันหากมีสิ่งของข้างกาย เช่น แก้วน้ำ กระเป๋า ก็สามารถนำมาวางบังด้านหน้าเพื่อบอกว่านี่คือกำแพงของเราก็ได้เช่นกัน

3. หันหน้าหนีแบบ “สุภาพ”

หลายต่อหลายครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับการกระทำที่ “ไม่พึงประสงค์จะรับรู้” แต่การหันหน้าออกจากวงสนทนาอาจสร้างความกระอักกระอ่วนมากเกินไป การใช้เทคนิค “The Polite Pivot” หรือเบือนหน้าออกเพียง 30-45 องศาก็สามารถสร้างบรรยากาศให้คู่สนทนารับรู้การเปลี่ยนแปลงได้

นอกจาก 3 ภาษากายข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีอีกมากมายที่สามารถสร้างชีวิตการทำงานและชีวิตประจำวันที่สงบสุข ไม่ว่าคุณจะเป็นคนทำงานอาชีพไหน อายุเท่าไรก็สามารถเรียนรู้ทักษะเอาตัวรอดในสังคมการทำงานได้ที่ Mission To The Moon Forum 2024: Work-Life Survival Guide คู่มือเอาชีวิตรอดสำหรับคนสู้งาน

เต็มอิ่มกับ 9 Sessions เสริมทักษะการทำงานสมัยใหม่และเทคนิคการอยู่รอดด้วยความสุข ไม่ว่าจะเป็น Session 4 ฮีลใจในวันที่หมดไฟ กับพี่อ้อย – Club Friday (ดูย้อนหลังได้ 6 เดือน) และ Exclusive Session 9 ทำไมต้องอยู่ให้เป็นในสมรภูมิการเมืองในออฟฟิศที่เป็นอยู่? กับคุณศิธา วารี คุณโจ้ – ธนา และคุณรวิศ หาญอุตสาหะ (ไม่มีรีรัน! ดูสดเท่านั้น)

นอกจากนี้ยังมีบูธและกิจกรรมสร้างโอกาสก้าวหน้าทางการงานอีกมากมาย พร้อม Upskill & Reskill เหล่าคนทำงานให้พร้อมมุ่งสู่เป้าหมาย พบกันได้ใน 27 เมษายน 2567 เวลา 9.00 – 18.00 น. ณ Bhiraj Hall 2-3, BITEC Bangna

📌 บัตรเข้างานจำนวนจำกัด ใกล้หมดแล้วรีบจองเลย!
https://www.zipeventapp.com/e/Mission-To-The-Moon-Forum-2024


ที่มา
– How to Set Boundaries: 8 Ways to Draw the Line Politely: Logan Hailey, Science of People – https://bit.ly/44cKjvj
– How to Firm Up Your Boundaries While Keeping a Kind Heart: Erin Leonard Ph.D, Psychology Today – https://bit.ly/3TX0Gap

#worklife
#psychology
#setboundaries
#howtosayno
#missiontothemoon
#missiontothemoonforum2024
#missiontothemoonpodcast

Advertisements
Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า