PSYCHOLOGYworklifeวิธีรับมือกับเพื่อนร่วมงานที่ “ขี้กลัว” จนชวนอึดอัดใจ

วิธีรับมือกับเพื่อนร่วมงานที่ “ขี้กลัว” จนชวนอึดอัดใจ

คิดไม่ตก หาทางไม่ออก เมื่อเพื่อนร่วมงานที่บั่นทอนใจเราที่สุด กลับเป็นคนที่ไม่ได้ทำผิดอะไร เพียงแค่ขี้กลัวและขี้กังวล แล้วเราจะหาทางรับมือกับคนแบบนี้อย่างไร ให้ถนอมน้ำใจและดูไม่ใจร้ายกับพวกเขา?

ในชีวิตการทำงานของเรานั้น แน่นอนว่าต้องพบเจอกับเพื่อนร่วมงานที่มีนิสัยแย่ๆ แตกต่างกันไป ทั้งคนที่ขี้อิจฉา โมโหร้าย หรือแม้แต่ไม่ให้ความร่วมมือกับเราในการทำงาน แต่การรับมือกับเพื่อนร่วมงานที่นิสัยไม่ดีนั้นง่ายเสียยิ่งกว่าเพื่อนร่วมงานบางประเภท ที่สามารถทำงานได้เป็นอย่างดี มีนิสัยที่ยอดเยี่ยม สามารถพูดคุยกับเราได้ทุกเวลา แต่กลับบั่นทอนเราด้วยนิสัยขี้กลัว ขี้กังวล จนทำให้จิตใจเราไม่มั่นคงไปด้วย

ซึ่งแม้ว่าเพื่อนร่วมงานประเภทนี้จะไม่ได้มีนิสัยที่แย่จนขัดขวางการทำงานของเราไปทุกอย่าง แต่กลับกันหากเราถูกบั่นทอนด้วยความกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ ก็สามารถส่งผลให้การทำงานไม่ราบรื่นได้เช่นกัน และยิ่งไปกว่านั้นก็มีผลการศึกษาจาก Ranjay Gulati ศาสตราจารย์แห่ง Harvard Business School ที่ออกมาให้ข้อมูลว่า “คนที่ขี้กลัว ขี้กังวล ขาดความมั่นใจ (Insecure People) ถือเป็นประเภทบุคลิกภาพที่ทำงานด้วยยากที่สุด และถ้าหากมีคนประเภทนี้มากเกินไปก็สามารถสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นพิษได้”

แต่ความรู้สึกกังวล กลัว ขาดความมั่นใจนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความกังวลในระดับไหนที่มากเกินไปจนกลายเป็น “Red Flag” ที่ทำให้เราร่วมงานด้วยกันได้ยาก?

เมื่อความตึงเครียดเกิดขึ้นในที่ทำงาน ขั้นตอนแรกในการคลี่คลายสถานการณ์ก็คือการรู้วิธีสังเกตสัญญาณของเพื่อนร่วมงานที่มีนิสัยขี้กลัว จนทำให้มวลบรรยากาศภายในที่ทำงานกลายเป็นพิษ

สัญญาณที่คนที่มีความไม่มั่นคงในอารมณ์และขาดความภาคภูมิใจในตัวเองมักแสดงออกมาก็คือการมองโลกในแง่ร้ายและการวิจารณ์ตนเองในเชิงลบ แต่นอกเหนือจากการรู้สึกในด้านลบกับตัวเองแล้ว คนที่มีนิสัยขี้กลัว ขี้กังวลจนเป็นพิษในที่ทำงานยังสามารถแสดงออกผ่านพฤติกรรมที่ไม่น่ารักอย่างเช่น การดูถูกคนอื่นเพื่อทำให้ตัวเองมีความสำคัญมากขึ้น หรือการพยายามสร้างสถานการณ์ให้คนอื่นรับผิดเมื่อเกิดความล้มเหลวขึ้น

ซึ่งเราสามารถจับสัญญาณของคนที่ขี้กลัว ขี้กังวลจนเป็นพิษได้ผ่านสัญญาณที่พบบ่อยที่สุด 3 ข้อตามการศึกษาของ Ranjay Gulati ได้แก่

[ ] กลัวจนต้องเปรียบเทียบตัวเองและแข่งขันกับผู้อื่น
[ ] กลัวที่จะไม่ได้รับการยอมรับ จนต้องแสวงหาการยอมรับและการชมเชยจากเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายอย่างต่อเนื่อง
[ ] กลัวความผิดพลาดในการทำงาน จนต้องแสร้งรับบทเป็นผู้ถูกกระทำหรือทำตัวเองให้เป็นเหยื่อ

โดยเราจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมทั้ง 3 ข้อนี้มีจุดร่วมคือการพยายามหาเครื่องยืนยันจากผู้อื่น ซึ่งเกิดจากความรู้สึกไม่มั่นคงภายในใจ และที่สำคัญคือทั้ง 3 ข้อนี้จะเป็นอันตรายเมื่อส่งผลกระทบหรือผลเสียต่อเพื่อนร่วมงาน และเมื่อพวกเขามีความไม่มั่นใจในตัวเองจนแสดงออกมาอย่างผิดปกติแล้ว การทำงานร่วมกับคนเหล่านี้ให้ราบรื่นนั้น “แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย”

Advertisements

สิ่งหนึ่งที่คนขี้กลัวรู้สึกคือ “ความไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจเกี่ยวกับความสามารถของตัวเอง” จนแสดงออกมาเป็นอาการที่กลัวว่าคนอื่นจะไม่เห็นความสามารถ กลัวความผิดพลาด กลัวการพูดถึงไม่ด้านลบ และพยายามเบี่ยงเบนความกลัวของตัวเองด้วยการนินทาผู้อื่น 

ซึ่งแน่นอนว่าหากเพื่อนร่วมงานของเรามีนิสัยที่ไม่น่ารักอย่างการนินทา เราก็ควรที่จะเตือนพวกเขาไปตรงๆ โดยใช้เหตุผลและไร้ความรุนแรง แต่ความจริงที่น่าเศร้าอีกข้อคือ คนประเภทนี้ยิ่งเราเตือนก็ยิ่งเป็นการเพิ่มจุดด่างพร้อยในใจ ให้ทวีคูณความกลัวขึ้นไปอีก ดังนั้น การเตือนตรงๆ จึงอาจจะไม่สามารถแก้ไขนิสัยที่ไม่น่ารักของคนกลุ่มนี้อย่างได้ผล แต่กลับเป็นการพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาให้เข้าที่เข้าทาง

วิธีแรกคือการเพิ่มความมั่นใจ เพื่อให้คนกลุ่มนี้มีความมั่นคงในจิตใจมากขึ้นอย่างการ “ชมพวกเขาให้เยอะ” ให้การตอบรับที่ดีเมื่อคนกลุ่มนี้นำเสนองานหรือไอเดียใหม่ๆ พยายามผลักดันให้คนกลุ่มนี้พูดให้เยอะขึ้น และพยายามสะท้อนคุณค่าของคนเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขากำลังพูดเกี่ยวกับตัวเองในด้านลบ

และวิธีการที่สองคือการช่วยลดความคิดด้านลบของคนกลุ่มนี้ด้วยการ “ชวนนินทาให้น้อย” หรือแม้แต่ตัดบทสนทนาเมื่อคนกลุ่มนี้เริ่มนินทาผู้อื่น แล้วเปลี่ยนเป็นการให้คำแนะนำหรือ Feedback กับผู้ที่ถูกนินทาแทน วิธีนี้จะช่วยลดการคิดลบหรือมองหาเหยื่อให้กับคนกลุ่มนี้ และช่วยให้พวกเขากลับมาอยู่กับตัวเองได้มากขึ้น

แล้วถ้าหากว่าเราไม่อยากอยู่ใกล้คนแบบนี้ ไม่อยากเจอความคิดลบอีกต่อไป เราควรทำอย่างไร? คำตอบคือ เราสามารถเลือกที่จะอยู่ให้ห่างคนกลุ่มนี้ได้เสมอ สามารถจำกัดการมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาโดยเฉพาะในช่วงที่ต้องใช้สมาธิ แล้วพูดคุยเฉพาะเรื่องที่สำคัญหรือรักษาความสัมพันธ์เท่าที่จำเป็น เราก็จะสามารถปกป้องความสงบสุขในที่ทำงานได้

เพราะในที่สุด ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่สุดก็คือตัวของผู้นั้นเอง การที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้จึงเรียกได้ว่าต้องมาจากความร่วมมือของพวกเขาและความเห็นพ้องต้องกันของคนอื่นๆ ในที่ทำงานด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นภารกิจที่แสนยาก แต่สุดท้ายหากเราสามารถทำให้คนๆ หนึ่งมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้ ก็จะส่งผลให้บรรยากาศการทำงานโดยรวมมีความราบรื่นขึ้นด้วยเช่นกัน

และถ้าหากว่าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ค้นพบว่าตัวเองมีนิสัยขี้กลัว ขี้กังวลจนเป็นพิษ เราก็ขอเป็นกำลังใจในการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเอง หยุดกดดันตัวเอง หันมามองเห็นคุณค่าในตัวเองและเชื่อมั่นว่าตัวเองสามารถส่งต่อพลังไปสู่คนอื่นได้เช่นกัน


อ้างอิง
– Harvard career expert shares the 3 red flags of ‘highly insecure’ people at work—and how to deal with them : Morgan Smith, CNBC Make It – https://cnb.cx/48MWUX4
– 6 signs of insecure co-workers (and how to address them), Indeed – https://indeedhi.re/4aSGtdn

#worklife
#workplace
#insecurepeople
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements
Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า