NEWSTrendsระบบอาวุโส VS เสรีภาพ ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด จาก ‘มัธยม’ สู่ ‘มหาวิทยาลัย’

ระบบอาวุโส VS เสรีภาพ ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด จาก ‘มัธยม’ สู่ ‘มหาวิทยาลัย’

หากพูดถึงการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของชีวิต ช่วงเวลาหนึ่งที่เข้าเค้าที่สุดก็คงเป็นการก้าวจากชีวิต ‘มัธยม’ สู่ ‘มหาวิทยาลัย’ เพราะแม้จะดูเหมือนว่าเป็นช่วงเวลาที่ห่างกันไม่ถึงปี แต่กลับมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก

ซึ่งจะเห็นได้จากการที่เมื่อเร็วๆ นี้ ชาว X (Twitter) ได้พร้อมใจกันออกมาเล่นเทรดๆ หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างสุดขั้วของสองช่วงชีวิตดังกล่าว เช่น
มัธยม : เดินผ่านหน้าครูโดยไม่ยกมือไหว้ โดนต่อว่าว่าไม่มีมารยาท
มหาวิทยาลัย : ไม่ไหว้ก็ไม่เป็นไร อาจารย์ไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้อยู่แล้ว

ในบทความนี้เราจึงอยากจะชวนทุกคนมาสำรวจถึงความแตกต่างของชีวิตช่วงมัธยมกับมหาวิทยาลัย มาดูไปพร้อมๆ กันว่า จะมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

ความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น

ตอนอยู่มัธยมเราต่างคุ้นเคยกับการมีคนคอยจัดแจงอะไรหลายๆ อย่างให้ เช่น ทางโรงเรียนมีการจัดเตรียมตารางเรียนไว้ให้แล้ว ครูมีการเช็กชื่อเข้าเรียนทุกวันและทุกวิชา หรือครูคอยตามให้เด็กนักเรียนส่งงานเป็นประจำเพื่อไม่ให้นักเรียนติด 0 ร มส

กลับกัน หากเรามองถึงโลกมหาวิทยาลัย ก็จะพบว่าเราที่เป็นนักศึกษา จะต้องมีการวางแผนการเรียนและเลือกลงวิชาเรียนในแต่ละเทอมด้วยตัวเอง อีกทั้งยังต้องคอยบังคับให้ตัวเองไปเรียนให้ได้ เพราะบางวิชาก็ไม่มีการเช็กชื่อ ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการโดดเรียนได้ง่าย ซ้ำร้ายอาจารย์บางท่านก็ไม่ได้คอยจ้ำจี้จ้ำไชให้เราส่งงานตลอดเวลา เพราะเขามองว่าสิ่งเหล่านี้คือความรับผิดชอบส่วนบุคคลที่ทุกคนจำเป็นต้องมี ถ้าเราติด F ก็ถือว่าเราไม่มีความรับผิดชอบมากพอ

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีอาจารย์มหาวิทยาลัยที่คอยเตือนเราให้ส่งงาน เพราะอาจารย์หลายคนก็หวังดี กลัวเราลืมงานที่ให้ไว้ตั้งแต่ต้นเทอมและไม่อยากให้ติด F จนต้องมาเสียเวลานั่งเรียนใหม่

Advertisements

ระบบอาวุโส VS เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

แม้ว่าครูมัธยมและอาจารย์มหาวิทยาลัยจะมีหน้าที่สอนหนังสือเหมือนกัน แต่กลับมีอะไรหลายๆ อย่างที่แตกต่างกัน สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดคือระบบอาวุโสกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ในฝั่งของครูมัธยมมักจะให้ความสำคัญกับระบบอาวุโสและยึดถือกฎเกณฑ์เป็นอย่างมาก เช่น เจอหน้ากันต้องยกมือไหว้ ตอนเรียนทักท้วงเนื้อหาที่ครูสอนผิดไม่ค่อยได้ เรียกได้ว่าครูยึดหลักความเชื่อของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เมื่อแสดงความคิดเห็นอาจถูกมองว่าเถียง ต้องทำตามกฎระเบียบของโรงเรียนทุกกระเบียดนิ้ว เมื่อทำอะไรผิดก็จบลงด้วยการตีหรือการต่อว่า

กลับกัน อาจารย์มหาวิทยาลัยจะมีความเข้มงวดในเรื่องของระบบอาวุโสและกฎเกณฑ์น้อยกว่า ไม่ยึดติดว่าใครจะต้องไหว้หรือไม่ไหว้ อย่างเช่นจะไปเข้าห้องน้ำที เราก็ไม่ต้องขออนุญาตอาจารย์ผู้สอนเหมือนตอนเรียนมัธยม สามารถเดินออกไปแบบเงียบๆ ได้เลย

อีกทั้งอาจารย์โดยส่วนมากยังมักจะชอบให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นของตัวเอง เพราะมองว่าทุกคนมีอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น สงสัยอะไรก็ถามได้ ผิดแปลกยังไงก็สามารถทักท้วงได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้นักศึกษามีอิสระในการคิดและตั้งคำถาม

อย่างไรก็ดี ใช่ว่าครูและอาจารย์ทุกคนจะเป็นเหมือนอย่างเรื่องราวข้างต้นไปเสียหมด เพราะก็มีครูบางคนที่ให้อิสระเด็กในการแสดงความคิดเห็นและไม่ยึดมั่นถือมั่นกับระบบอาวุโสมากเกินไป และอาจารย์บางคนก็อาจจะไม่ได้ให้อิสระนักศึกษามากขนาดนั้นเช่นกัน ทุกพื้นที่และทุกคนต่างก็มีข้อดีข้อเสียเป็นของตัวเองกันทั้งนั้น

แล้วคุณล่ะคิดว่าจาก ‘มัธยม’ สู่ ‘มหาวิทยาลัย’ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

อ้างอิง
– Moving From High School to University : SFU Library – https://bit.ly/3T4IjkC

#trend
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements
Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า