NEWSTrends“อากาศเปลี่ยนทีไร ใจหวั่นไหวทุกที” รู้จักกับอาการซึมเศร้าที่มาเยือน เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง

“อากาศเปลี่ยนทีไร ใจหวั่นไหวทุกที” รู้จักกับอาการซึมเศร้าที่มาเยือน เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง

เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวก็ฝนตก ทำเอาเจ็บป่วยทางกาย แต่บางครั้งก็พ่วงมาด้วยอาการเจ็บป่วยทางใจที่ทำให้เรารู้สึกซึมเศร้า เหงา นอยด์ทั้งๆ ที่ชีวิตไม่มีปัญหาติดขัดอะไร

แล้วอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เราเกิดอาการ “นอยด์” แบบนี้ทุกครั้ง

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา มาลองสำรวจตัวเองกันก่อนว่า เรามีอาการซึมเศร้า อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่ในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนผ่านของฤดูกาล โดยเฉพาะเมื่อเข้าฤดูหนาวหรือไม่ เพราะถ้าหาก “ใช่” เราอาจจะมีอาการป่วยที่เรียกว่า “Seasonal affective disorder (SAD)” หรืออาการซึมเศร้าตามฤดูกาลนั่นเอง

SAD คืออะไร? ทำไมเราถึง SAD ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนฤดูกาล?

Seasonal affective disorder (SAD) เป็นภาวะซึมเศร้าประเภทหนึ่งที่แปรผันไปตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โดยมีอาการบ่งชี้คือ “อาการจะเริ่มต้นและสิ้นสุดในเวลาเดียวกันของทุกปี” เช่นหลายๆ คนมักจะเริ่มซึมเศร้าในช่วงฤดูฝน ยาวไปจนถึงช่วงฤดูหนาวและเริ่มดีขึ้นเมื่อฤดูร้อนมาถึง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เรามักจะพบกับอาการ SAD เช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่แปลกแต่อย่างใด

แล้วเพราะอะไรเราถึงซึมเศร้าทุกครั้งเมื่อถึงฤดูกาลเดิมในทุกๆ ปี? สาเหตุที่ทำให้เราเกิดอาการซึมเศร้าตามฤดูกาลนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 สาเหตุด้วยกัน คือระดับแสงแดด ระดับเซโรโทนิน และระดับเมลาโทนิน

[ ] ระดับแสงแดด – เป็นปัจจัยที่สอดคล้องกับนาฬิกาชีวภาพ (Biological Clock) หรือที่เราเรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกติดตั้งไว้ในร่างกายของเราและคอยสั่งการสมองว่าเวลาไหนคือเวลาที่เราควรตื่นนอน ทานข้าว ออกไปทำกิจกรรมต่างๆ กลับบ้าน เข้านอน เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไป ระดับแสงแดดจึงเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทำให้นาฬิกาชีวภาพในร่างกายของเราปรับตัวตามไม่ทันและแสดงออกมาเป็นอาการซึมเศร้าในที่สุด

[ ] ระดับเซโรโทนิน – ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของเรา ซึ่งถ้าลองศึกษาดูดีๆ แล้วจะพบว่าปัจจัยข้อนี้ก็เกี่ยวเนื่องกับแสงแดดเช่นกัน โดยมีงานวิจัยทางการแพทย์หลายฉบับที่ให้ข้อมูลไว้ว่าระดับเซโรโทนินแปรผันไปตามระดับแสงแดดที่เราพบในแต่ละวัน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนและหนาวที่ระดับแสงแดดลดลง ก็ทำให้เซโรโทนินลดลงตาม ก่อให้เกิดเป็นอาการซึมเศร้า

[ ] ระดับเมลาโทนิน – ฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นในช่วงพระอาทิตย์ตกดินไปจนถึงช่วงกลางคืน เพื่อให้เรารู้สึกง่วงนอนและพักผ่อน การที่ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงทำให้ช่วงเวลากลางคืนมาช้า-เร็วแตกต่างกัน และรบกวนการทำงานของเมลาโทนินได้เช่นเดียวกัน

ซึมเศร้าแบบไหนถึงเรียกว่าเป็นอาการของ SAD?

ในกรณีส่วนใหญ่ อาการ SAD จะสามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ “มีอาการซึมเศร้าเวลาเดิมๆ ทุกปี” หรืออาการที่คนส่วนใหญ่เป็นกันอย่างอาการเศร้าในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว แล้วดีขึ้นในฤดูร้อน แต่ตรงกันข้ามก็มีผู้ที่เริ่มเกิดอาการซึมเศร้าในฤดูร้อนได้เช่นกัน

เมื่ออาการของแต่ละคนสามารถเริ่มขึ้นและจบลงได้ในเวลาที่แตกต่างกัน เราสามารถสังเกตอาการที่ผิดปกติของอารมณ์ได้จากสัญญาณและอาการของ SAD อย่างเช่น

[ ] รู้สึกกระสับกระส่ายหรือเศร้าเกือบทั้งวัน ในเกือบทุกๆ วันเมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง
[ ] หมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ
[ ] รู้สึกว่าตัวเองมีพลังงานต่ำและเริ่มเฉื่อยชา
[ ] มีปัญหาเรื่องการนอนจนรบกวนการใช้ชีวิต
[ ] อยากกินคาร์โบไฮเดรตมากกว่าปกติ เริ่มกินมากกว่าปกติและมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
[ ] มีปัญหาด้านสมาธิ สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรนานๆ ได้
[ ] รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่าหรือรู้สึกผิด แม้ว่าช่วงนั้นจะไม่มีปัญหาอะไรก็ตาม
[ ] เริ่มคิดเกี่ยวกับเรื่องความตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่

โดยอาการสามารถเกิดขึ้นได้ในระดับที่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรง แตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ไม่ว่าเราจะรู้สึกอย่างไรก็ไม่ควรที่จะมองข้ามอารมณ์ของตัวเองและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษาให้อารมณ์ของเรากลับมาคงที่เช่นเดิม

Advertisements
Advertisements

แล้วเราจะหลีกเลี่ยงอาการ SAD ได้อย่างไร?

จริงๆ แล้ว “ไม่มีวิธีใดที่จะป้องกันอาการ SAD หรืออาการซึมเศร้าตามฤดูกาลได้” เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเรานั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายที่ต้องใช้วิธีการรักษาทางการแพทย์ช่วย แต่เราสามารถประคับประคองและรักษาอาการ SAD ไม่ให้แย่ลงได้ด้วยการรู้เท่าทันอาการ SAD ของตัวเอง รู้นาฬิกาชีวิตว่าเมื่อไหร่ที่อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าไปพบแพทย์เพื่อดูแลในช่วงนั้นเป็นพิเศษได้ เพราะอย่าลืมว่าอาการทั้งหมดคืออาการทางใจที่มีความซับซ้อน และยากที่จะทำความเข้าใจด้วยตัวของเราเองเพียงคนเดียว

แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ให้คิดไว้เสมอว่าอาการทางใจก็เป็นอาการเจ็บป่วยชนิดหนึ่งที่ต้องได้รับการรักษาเหมือนกับอาการทางกายทั่วไป ไม่ว่าเราจะมีอาการซึมเศร้า นอยด์ หรือหงุดหงิดง่ายจนดูผิดปกติไป ก็อย่าลืมสังเกตอาการตัวเอง พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป เพื่อให้เรากลับมามีอารมณ์ที่คงที่ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขต่อไปนั่นเอง

อากาศเปลี่ยนบ่อย อย่าลืมสังเกตและใจดีกับตัวเองให้เยอะๆ นะ

อ้างอิง
– Seasonal affective disorder (SAD) : Mayo Clinic – https://bit.ly/47erAiK 
– Sunshine, Serotonin, and Skin: A Partial Explanation for Seasonal Patterns in Psychopathology? : Randy A. Sansone, MDcorresponding author and Lori A. Sansone, MD, National Library of Medicine – https://bit.ly/48xhFpk

#trend
#SAD
#SeasonalAffectiveDisorder
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast 

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า