NEWSTrendsถอดรหัส COP28 มนุษยชาติจะลดการใช้ ‘พลังงานฟอสซิล’ ได้จริงหรือ?

ถอดรหัส COP28 มนุษยชาติจะลดการใช้ ‘พลังงานฟอสซิล’ ได้จริงหรือ?

วิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่ประชากรบนแผ่นเปลือกโลกทุกคนควรให้ความสนใจและจัดลำดับความสำคัญได้อยู่เบอร์ต้นๆ ไม่แพ้วิกฤตประชากรโลกหรือวิกฤตเศรษฐกิจกันเลยทีเดียว

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังจะกลายเป็นปัญหาภาวะโลกเดือด (Global warming) หรือปัญหาที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่า 1.4 องศาเซลเซียส เกือบทะลุเพดานจำกัดที่ 1.5 องศาเซลเซียส เป็นหลักฐานชั้นดีว่าโลกเรากำลังก้าวเข้าสู่จุดพลิกผันที่จะหันหลังกลับไม่ได้อีกต่อไปในไม่ช้า

ด้วยตระหนักถึงอันตรายจากปัญหาเหล่านั้นจึงเกิดเป็นการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties) เพื่อหารือเรื่องการรับมือกับวิกฤตสภาพอากาศก่อนที่จะเกินเยียวยา

การประชุมฯ ครั้งล่าสุดนับเป็นการหารือครั้งที่ 28 แล้ว โดยการพูดคุยครั้งนี้เกิดขึ้นที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ท่ามกลางความกังวลและข้อกังขาว่ามนุษยชาติจะยับยั้งหายนะทางสภาพอากาศได้หรือไม่และต้องร่วมมือกันอย่างไร

ความน่าจับตามองของการประชุมฯ ครั้งนี้คือเนื้อหาที่มุ่งเน้นไปที่การจำกัดการบริโภคพลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน แก๊ส เป็นต้น และการสนับสนุนการบริโภคพลังงานสะอาด เช่น พลังงานไฟฟ้า เป็นการทดแทน

องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (The International Enery Agency: IEA) คาดการณ์ว่าการบริโภคพลังงานฟอสซิลจะถึงจุดสูงสุดในปี 2025 หลังจากนั้นความต้องการจะลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้คนบางส่วนก็เกิดการตั้งคำถามว่ามนุษย์จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดได้ก่อนหรือโลกจะแตกก่อนกันแน่?

มนุษยชาติจะเลิกเสพพลังงานฟอสซิลได้จริงหรือ?

Vaclav Smil นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานได้กล่าวไว้ว่า ‘พลังงาน’ (Energy) ไม่ใช่แค่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เหมือนพวกเหล็กกล้า นวัตกรรม หรือข้อมูลด้านเทคโนโลยี แต่พลังงานเป็นเศรษฐกิจด้วยตัวของมันเอง

หากไม่มีพลังงานก็ไม่มีเศรษฐกิจ แล้วเช่นนั้นมนุษย์จะลดละเลิกการเสพพลังงานฟอสซิลได้ง่ายอย่างที่ตั้งใจไว้เชียวหรือ? “พวกเราเป็นสังคมแห่งพลังงานฟอสซิล เสียใจด้วยที่ต้องพูดเช่นนี้” Vaclav Smill กล่าวเมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงจากการบริโภคพลังงานฟอสซิลไปเป็นพลังงานสะอาด

ถ้อยแถลงของเขามาพร้อมกับหลักฐานตัวเลขการใช้เหล็กกว่าพันล้านตันต่อไป ซีเมนต์อีกสี่พันล้านตันต่อปีและพลังงานเหลวอีกกว่าสี่พันล้านตันต่อปีเช่นเดียวกัน ข้อมูลตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าพลังงานฟอสซิลแฝงอยู่ในรากฐานการใช้ชีวิตของมนุษย์แทบจะทุกย่างก้าว

ก่อนหน้านี้มนุษย์ดำรงชีวิตท่ามกลางความเบื่อหน่ายและความแร้นแค้น จนกระทั่งยุคศตวรรษที่ 18 ราวๆ ช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เราก็เริ่มเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากพลังงานฟอสซิลเพื่อพลิกชีวิตให้สุขสบายมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลสถิติจาก Energy Insitute เผยให้เห็นปริมาณการใช้พลังงานฟอสซิลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงปี 1950 จากเดิมที่มีการใช้พลังงานฟอสซิลถึง 20,000 เทเรวัตต์ชั่วโมงก็พุ่งสูงขึ้นถึง 120,000 เทเรวัตต์ชั่วโมง

ไม่เพียงแค่การใช้พลังงานที่พุ่งสูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมนุษย์เท่านั้น การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขการบริโภคพลังงานฟอสซิลสูงขึ้นเช่นเดียวกัน

ตัวเลขสถิติจาก Gapminder แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์จากเดิมที่มีเพียง 2-3 ล้านคนในช่วงยุคน้ำแข็ง ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นพันล้านคนในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มาจนถึงปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นเป็นแปดพันล้านคนภายในเวลาเพียง 200 ปี

เรียกได้ว่าแม้การบริโภคพลังงานฟอสซิลเราแทบชนเพดานแล้วก็ตาม มนุษย์ก็ยังคงพึ่งพาพลังงานประเภทนี้อยู่กว่า 80% ของการดำรงชีวิต ดังนั้นจึงเกิดเป็นคำถามว่าต้องใช้เวลาเท่าใดกว่ามนุษย์จะลดจำนวนการบริโภคพลังงานฟอสซิลลงได้? และโลกเราจะทนได้จนกว่าจะถึงตอนนั้นหรือไม่?

ท่ามกลางความสงสัยยังคงมีความหวัง ปัจจุบันมีการหันมาใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยคิดเป็นตัวเลขประมาณ 12% เทียบกับการใช้พลังงานฟอสซิลที่ยังคงครองอยู่ที่ 70% ของการผลิตไฟฟ้า

แน่นอนว่าพลังงานไฟฟ้าก็นับเป็นแค่เพียง 1 ใน 5 ของพลังงานทั้งโลกที่มนุษย์ใช้ในแต่ละวัน ดังนั้นเมื่อลองคำนวณแล้วจะพบว่าพลังงานสะอาดนั้นมีบทบาทเพียง 2% เท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังแสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวและคืบหน้าในการเปลี่ยนจากการบริโภคพลังงานฟอสซิลไปเป็นพลังงานสะอาด

นอกจากนี้เทรนด์การบริโภคยังมุ่งหาพลังงานสะอาดมากขึ้นเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการทำงานและความคุ้มค่าเทียบกับราคาที่จ่าย ไฟฟ้าหมุนเวียนในปัจจุบันมีราคาต่ำกว่าพลังงานฟอสซิลเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นแรงจูงใจที่ดีในการเปลี่ยนแปลง

แต่การใช้พลังงานสะอาดยังคงมีข้อจำกัดในการติดตั้งอุปกรณ์เก็บและผลิตกระแสไฟฟ้าหมุนเวียน ในส่วนนี้จึงเกิดความคาดหวังให้รัฐบาลและประเทศโลกที่ 1 เป็นผู้แบกรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านนี้ให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อการมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายพร้อมๆ กัน

ไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรแต่วิกฤติสภาพอากาศที่เกิดขึ้นปัจจุบันนั้นเป็นเรื่องจริง และความจริงที่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะมาถึงในสักวันก็ยังไม่มีผู้ใดสามารถโต้เถียงได้ การเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันอาจฟังดูยากลำบากแต่ก็จำเป็นที่จะต้องเดินหน้าต่อไป

ที่มา
– Fossil fuels: Can humanity really kick its addiction?: Justin Rowlatt, BBC – https://bbc.in/3GOBXPl
– Examining COP28’s potential impact on climate change: Matt McGrath, BBC – https://bbc.in/3Rv0puf

#trend
#COP28
#climatechange
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements
Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า