เวลา เงินต้น และอัตราผลตอบแทน 3 สิ่งสำคัญของการเริ่มลงทุน

3149

Sponsored Content…

“เงินไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต แต่หลายสิ่งในชีวิตต้องใช้เงิน”

ผมว่าทุกวันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธแล้วล่ะครับว่า เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะเอาจริงๆ ถ้าเราลองไปไล่ดู เราก็จะพบว่าจริงๆ เงินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริงๆ เพราะเราต้องใช้เงินกันตั้งแต่เกิด จนถึงวัยชราที่ ณ วันนั้นเราอาจจะทำงานไม่ไหวแล้วก็ได้ ดังนั้นเรื่องเงินจึงเป็นเรื่องที่เราต้องคิดและวางแผนให้ดี เพราะเงินอยู่กับเราครบทุกมิติของชีวิตจริงๆ

Advertisements

พอพูดถึงเรื่องเงินผมว่าคำหนึ่งที่น่าจะลอยเข้ามาในความคิดของใครหลายคน คือ.. ใช่ครับ “อิสรภาพทางการเงิน” หรือถ้าเรียกให้เท่ๆ หน่อยก็ “Financial freedom” ผมว่าเรื่องนี้เป็นเป้าหมายสำคัญของคนจำนวนมากเลยทีเดียว (รวมถึงผมเองด้วย)

โดยเฉพาะในคนรุ่นใหม่ ผมเชื่อว่าแทบจะทุกคน อยากเกษียณเร็ว ต้องการมีอิสรภาพทางการเงินตั้งแต่อายุยังน้อย

และอย่างที่ทุกคนรู้กันครับว่า การทำงานเก็บเงินเพียงอย่างเดียว คงจะไม่สามารถพาให้เราไปถึงฝั่งฝันได้ ฉะนั้น นอกจากการเก็บออมแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยในยุคที่อัตราดอกเบี้ยธนาคาร ถูกนับจากจุดทศนิยมหลังเลขศูนย์ นั่นก็คือเรื่องของการลงทุนครับ

ก้าวแรกของการลงทุนเป็นเรื่องที่ยิ่งเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยยิ่งได้เปรียบ เพราะในระยะยาวของการลงทุนที่ไม่ใช่สายเก็งกำไรแล้วนั้น มี 3 ปัจจัยหลักที่มีผลมากๆ ต่ออัตราผลตอบแทนของผู้ลงทุน คือ 

เวลา :
สมมุติว่าเราลงทุนที่เงิน 10,000 บาท แล้วได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 13% ในปีแรกของการลงทุนเราจะมีเงินต้นรวมกับผลตอบแทนที่ได้รับเท่ากับ 11,300 บาท แต่ถ้าเรามีผลตอบแทนเฉลี่ย 13% เป็นระยะเวลา 10 ปี เงิน 10,000 ของคุณจะเพิ่มเป็น 33,946 บาท

นั้นก็เป็นเพราะยิ่งเรามีระยะเวลาในการลงทุนนานขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้พลังของผลตอบแทนทบต้นนั้นทรงพลังมากขึ้นเท่านั้น

คำถามที่น่าสนใจก็คือเราจะสามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ย 13% เป็นระยะเวลา 10 ปี ได้หรอ

Advertisements

ขอยกตัวอย่างผลตอบแทนเฉลี่ยของ SET50 ในบ้านเราแล้วกันนะครับ ถ้าเราลองมองย้อนกลับไป 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2009 เราก็จะเห็นว่ามีบางปีที่ผลตอบแทนของ SET50 นั้นติดลบบ้าง แต่โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อถึงปี 2018 SET50 นั้นจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 12.7%

เงินต้น :
ข้อนี้ต้องบอกว่าค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เงินต้นเราเยอะ อัตราผลตอบแทนที่ได้ก็ต้องมากขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่หากเงินต้นเราไม่ได้เยอะ อาจจะเลือกใช้วิธีทยอยซื้อเฉลี่ยแบบ DCA เพื่อเพิ่มเงินต้นอย่างสม่ำเสมอก็ได้เช่นกัน ยิ่งปัจจุบันนี้มีกองทุนรวมที่สามารถเริ่มต้นลงทุนเพียง 1 บาทได้ เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่เงินต้นยังไม่มากนักด้วย

อัตราผลตอบแทน หรือ ดอกเบี้ย :
หลังจากที่เรามีในส่วนของสองข้อแรกแล้ว นั้นก็คือ เรื่องของ “เวลา” และ “เงินต้น” แต่มันจะไม่สามารถทำให้เงินของเรางอกเงยได้เลย ถ้าขาดสิ่งที่สำคัญมากๆ อีกข้อหนึ่ง คือ เราต้องเลือกลงทุนในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนดี และที่สำคัญต้องมีผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องสม่ำเสมอด้วย ประเภทที่ 3 ปี ดี 4 ปี ไข้ อาจจะต้องห่างๆ ไว้ ซึ่งอันนี้ก็คงเป็นหน้าที่ของผู้ลงทุนแล้วล่ะครับ ที่ต้องศึกษาหาข้อมูลก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน

พูดถึงเรื่องการลงทุนในบ้านเราก็มีแอปดีๆ อย่าง K-My Funds จาก บลจ.กสิกรไทย (KAsset) ที่ได้รวบรวมกองทุนทั้งหมดของ KAsset มาไว้ในแอปเดียว และสำหรับใครที่สนใจลงทุนในดัชนี SET50 ทางกสิกรก็มีกองทุนอย่าง K-SET50 ที่สามารถ **ทำผลตอบแทนติดอันดับ 5 ดาว จาก Morningstar โดยสามารถเริ่มต้นซื้อกองทุน K-SET50 ผ่าน K-My Funds ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1 บาท (ซื้อได้ระหว่าง 9 ก.ย.-15 ต.ค.62) ทั้งยังสามารถติดตามการลงทุนได้ง่าย เพียงดูดัชนี SET50 ก็ได้ลงทุนในหุ้นใหญ่ระดับท็อป 50 ตัวแรกของตลาด ผู้ที่สนใจเพียงมีอายุ 20 ปีขึ้นไป ก็สามารถเริ่มเปิดบัญชีกองทุนผ่านแอป K-My Funds ได้เลย

(**กองทุนได้ Morningstar 3 Year Rating 5 ดาว และ Overall Morningstar Rating 3 ดาว ในกลุ่ม Equity Large-Cap ณ วันที่ 31 ก.ค.62)

 นอกจากนี้ในแอปก็มี Function ที่โดดเด่นมากมายตั้งแต่

  • เปิดบัญชีกองทุนได้เพียงมีบัญชีออมทรัพย์ของ KBank หรือ SCB 
  • ทดลองจัดพอร์ตการลงทุน หรือลงทุนง่ายตามพอร์ตแนะนำ
  • มีการส่งข้อความคำแนะนำด้านลงทุนจากผู้จัดการกองทุน ผ่านฟีเจอร์ Smart Notification
  • ซื้อ – ขาย – สับเปลี่ยนทุกกองทุนได้ง่าย
  • เช็คกำไรขาดทุนของพอร์ต และตรวจสอบการทำรายการได้ทันที

สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้เลยครับ
https://bit.ly/2kiqp07

K MY FUND

คำเตือน

  • การลงทุนในหุ้นอาจมีความเสี่ยงและราคาที่ผันผวนตามภาวะตลาด 
  • ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่