ทำอย่างไรเมื่อต้อง “พูดเรื่องที่ควรพูดแต่ไม่อยากพูด”

5395
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com

ระหว่างที่กำลังนั่งอ่านบทความและอัพเดทเรื่องต่างๆ ไปเพลินๆ ก็ได้ไปเจอเข้ากับบทความที่น่าสนใจมากอันหนึ่งครับ เลยอยากที่จะเอามาสรุปมาแชร์ให้ได้อ่านกันครับ บทความเป็นของคุณ David Rock ผู้เขียนหนังสือเรี่อง your brain at work ซึ่งเขาพูดถึงเรื่องในทำนองว่า เราควรทำอย่างไรดีเมื่อต้องพูดในสิ่งที่เรารู้ว่าต้องพูดหรือควรพูด แต่.. อึดอัดใจที่จะพูดออกไป

เรื่องทำนองนี้เราจะเจอได้หลากหลายบริบทครับ แต่สำหรับท่านผู้อ่านผมคิดว่าบริบทของที่ทำงานอาจจะเป็นที่ที่เราเจอเยอะที่สุด แต่หลายครั้งเราเลือกที่จะเงียบเพราะเราไม่อยากจะเผชิญหน้า, กลัวซวย หรือบางครั้งอาจจะคิดว่าพูดไปก็เท่านั้น

หลายครั้งเราจึงพยายามหาเหตุผลทั้งหลายมาสนับสนุนความคิดของตัวเองให้เงียบดีกว่า

Advertisements

แต่ถ้าหลายๆ คนคิดแบบนี้ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ก็จะอยู่และแข็งแรงขึ้น จนบางทีบานปลายถึงขั้นเกิดวิกฤติทางศีลธรรมขึ้นมาได้เลยทีเดียวครับ

แล้วเราควรจะทำอย่างไรดีล่ะ เมื่อต้องพูดเรื่องที่ควรพูด แต่รู้สึกอึดอัดใจที่จะพูด

David Rock เขามีคำแนะนำสามข้อครับ

1. ต้องเข้าใจว่าการพูดสิ่งที่ถูกต้องนั้นมันยากแต่มีความหมาย:
เวลาเราอยากทำสิ่งที่ยากๆ นั้น การที่จะทำให้เราสามารถทำสิ่งนั้นได้บางทีมันคือ “ความหมาย” ของเรื่องที่จะทำนี่แหละครับ การพูดเรื่องทำนองนี้เราต้องเข้าใจก่อนว่ามันยาก แต่ที่มันยากก็เพราะว่ามันมีความหมายมาก

ความคิดทำนองนี้จะเริ่มสร้างความกล้าให้เราครับ และเรื่องที่เรากลัวทั้งหลายจะเบาบางลงครับ

2. บริหารจัดการความเสี่ยง:
โดยปกติแล้วคนเรามักจะมีแรงจูงใจทางสังคมที่ประกอบด้วย 5 เรื่องครับ คือ

  • สถานะ 
  • ความแน่นอน 
  • อิสระในการตัดสินใจ 
  • ความเชื่อมโยงกับตัวเรา 
  • ความยุติธรรม

ทุกคนถูกดึงดูดด้วยแรงทำนองนี้กันทุกคนครับ จะหนักเบาแล้วแต่สถานะและสถานการณ์ของเราในตอนนั้น

Advertisements

ซึ่งความกลัวเวลาต้องพูดสิ่งที่ถูกต้องของเรามันก็มาจากพื้นฐานที่ว่า เรากลัวว่าการพูดของเราจะไปสั่นคลอนหรือส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจเหล่านี้นี่แหละครับ

ลองนึกภาพการพูดกับหัวหน้าของเราเรื่องศีลธรรมในการทำงานของเพื่อนร่วมงานดูครับ ซึ่งหลายครั้งสิ่งที่เราพูด เราก็จะรู้สึกว่ามันอาจจะกำลังทำให้แรงจูงใจทางสังคมของเรานั้นสั่นคลอนได้

วิธีการคือคุณต้องมีการเตรียมการไว้ก่อนครับ โดยใช้แรงจูงใจให้เป็นประโยชน์ เช่น

  • หาความเชื่อมโยงกับตัวเรา : สิ่งที่คุณต้องปูพื้นไว้ก่อนเลยอาจจะเป็นว่า “ผมไม่แน่ใจในการกระทำนั้นนะครับ แต่สำหรับผม ผมคิดว่ามันมีมุมที่น่าเป็นห่วงอยู่ครับ” 
  • สร้างความแน่นอน : คุณอาจจะปูทางได้ว่า “ที่ผมต้องพูดสิ่งนี้ก็เพราะว่า คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน และเป็นประโยชน์ต่อบริษัทครับ”

เมื่อคุณบริหารจัดการความเสี่ยงโดยบอกความตั้งใจที่แน่นอนในการพูดของคุณแล้ว คุณจะสบายใจมากขึ้นในการพูดครับ

3. วางแผน
การวางแผนก่อนไปพูดนั้นสำคัญมาก จะว่าไปคนที่วางแผนนั้นมีโอกาสทำสำเร็จมากกว่าคนที่ไม่วางแผนแล้วไปจับแพะชนแกะเอาหลายเท่าครับ

ผมแนะนำว่าการวางแผนแบบ senario base นั้นเหมาะมากกับการพูดเรื่องยากๆ ครับ คือคิดไปก่อนเลยว่าอีกฝ่ายจะพูดอย่างไรบ้างแล้วเราจะตอบสนองว่าอะไรบ้าง

การใช้แผนภูมิต้นไม้เขียนความเป็นไปได้ของเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นออกมา เหมาะมากกับการวางแผนเรื่องนี้ครับ นอกจากจะมีประโยชน์ด้านการวางแผนแล้ว เราเองจะได้จัดระเบียบความคิดด้วยครับ

เรื่องที่จำเป็นต้องพูด เมื่อเราได้พูดแล้วเราจะสบายใจครับ เพราะเราได้ทำหน้าที่ของเราอย่างครบถ้วน

อย่างที่ Germany Kent เคยกล่าวไว้ครับว่า

To say nothing is saying something. You must denounce things you are against or one might believe that you support things you really do notGermany Kent
Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่