เคยเป็นแบบนี้กันไหม? จะออกจากบ้านทั้งทีก็ลืมนู่นลืมนี่ไปหมด หรือบางทีก็ถึงขั้นลืมว่าพรุ่งนี้มีงานต้องส่ง มีอีเมลสำคัญต้องตอบ หรือมีประชุมสำคัญต้องเข้า เมื่อเป็นแบบนี้บ่อยครั้งก็เริ่มสงสัยปนหงุดหงิดใจว่า ทำไมเราถึงขี้ลืมขนาดนี้
จริงๆ แล้วอาการหลงๆ ลืมๆ เกิดขึ้นได้กับทุกคน อยู่ที่ว่าใครมีมากมีน้อย แต่ถ้าอิงจากงานวิจัยที่มีชื่อว่า “Replication and analysis of Ebbinghaus’ forgetting curve.” ก็ต้องบอกว่า คนเรานั้นลืมอะไรอย่างรวดเร็วจริงๆ เพราะงานวิจัยนี้ชี้ว่า 56% ของข้อมูลจะถูกลืมภายใน 1 ชั่วโมง, 66% ของข้อมูลจะถูกลืมหลังผ่านไป 1 วัน และ 75% ของข้อมูลจะถูกลืมหลังผ่านไป 6 วัน
แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เรา ‘ขี้ลืม’ กันล่ะ?
อาการหลงๆ ลืมๆ เกิดจากอะไรได้บ้าง?
สาเหตุที่ทำให้เราลืมอะไรหลายๆ อย่างไป ก็มีหลายอย่างด้วยกัน อย่างแรกเป็นเพราะ ‘การเสื่อมสลาย’ ถ้าใครเคยรู้สึกเหมือนมีข้อมูลอะไรบางอย่างหายไปจากความทรงจำ คลับคล้ายคลับคลาเหมือนว่าจะจำได้รางๆ แต่ก็นึกไม่ออก ก็อาจเป็นเพราะว่าเราขาดการทบทวน หรือไม่นำข้อมูลนั้นมาใช้ จนทำให้ความจำส่วนนั้นค่อยๆ หายไป และไม่สามารถดึงข้อมูลจากหน่วยความจำมาใช้ได้อีก
เพราะเมื่อเวลาผ่านไปสมองของเราต้องเจอข้อมูลอื่นๆ อีกมากมาย พอเราไม่ใช้หรือละเลยข้อมูลที่มีอยู่ก่อนหน้าไปนานๆ ข้อมูลจึงค่อยๆ สลายหายไปนั่นเอง
อีกสาเหตุที่ทำให้เราลืมข้อมูลอะไรบางอย่างไปก็คือ ‘การถูกรบกวน’ ซึ่งการรบกวนมี 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ การรบกวนเชิงรุกกับการรบกวนย้อนกลับ
การรบกวนเชิงรุก คือ การที่หน่วยความจำเก่าๆ ของเรามารบกวนจนทำให้จำอะไรใหม่ๆ ได้ยากขึ้น เช่น สมมติว่าเราเจอเพื่อนร่วมงานใหม่ 10 คน เราจะจำชื่อคนที่ 1 2 3 ได้ดีกว่า ส่วนคนหลังๆ เราจะจำชื่อได้ยากขึ้น
ส่วนการรบกวนย้อนกลับ คือ การที่ข้อมูลใหม่ๆ เข้ามาทำให้เราลืมข้อมูลเก่าๆ ไป หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ได้ของใหม่แล้วลืมของเก่านั่นเอง เช่น เมื่อวานเราจำชื่อเพื่อนในที่ทำงานได้แล้ว พอมาวันนี้เราต้องจำชื่อคนใหม่อีก ก็อาจทำให้ลืมชื่อที่จำได้แล้วเมื่อวานไปได้
นอกจากเรื่อง ‘การเสื่อมสลาย’ และ ‘การถูกรบกวน’ แล้ว ก็ยังมีอีกสองสาเหตุคือ ‘การไม่ได้ลงรหัส’ เป็นการลืมที่เกิดจากการไม่ได้จำตั้งแต่แรก และ ‘การจงใจลืม’ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราพยายามลืมความทรงจำอะไรบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเจอเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจมา เพราะความทรงจำนั้นเจ็บปวด จึงต้องกำจัดด้วยการลืม
5 นิสัยที่อาจทำให้เราจำอะไรไม่ค่อยได้ พร้อมวิธีช่วยให้หมดห่วงเรื่องขี้ลืม
จริงๆ แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่เกี่ยวข้องกับ ‘การลืม’ หนึ่งในนั้นก็คือ ‘นิสัย’ ของเรา ลองมาสำรวจไปพร้อมๆ กันว่า มีนิสัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้เรากลายเป็นคนหลงๆ ลืมๆ ไปได้
1) นอนน้อย
การนอนน้อยหรือนอนไม่เพียงพอส่งผลเสียต่อเราหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดย Julia Kogan นักจิตวิทยาสุขภาพกล่าวว่า การนอนหลับนั้นเกี่ยวข้องการความเอาใจใส่และการโฟกัสของเรา ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับความทรงจำของเราทั้งสิ้น หมายความว่าถ้าเรานอนน้อย ก็มีแนวโน้มที่จะไม่มีสมาธิและกระฉับกระเฉงน้อยลง จนทำให้เก็บข้อมูลได้ไม่ดี
ดังนั้น อย่างแรกเลยจึงอยากให้ทุกคนนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ เพราะมันจะช่วยลดอาการสมองเบลอของเราได้ แถมยังช่วยให้โฟกัสสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย พูดง่ายๆ คือการนอนหลับให้เพียงพอนั้นมีแต่ได้กับได้
2) ไม่ค่อยขยับร่างกาย
เชื่อว่ามีหลายคนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน จนรู้สึกว่าตัวเองไม่มีเวลาไปออกกำลังกายเลย แล้วก็ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปอย่างนั้น ในวันๆ หนึ่งก็อยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายเลยแม้แต่น้อย จนมารู้ตัวอีกทีสุขภาพร่างกายแย่ลงแล้ว ซึ่งบางครั้งมันก็อาจจะสายเกินแก้ไปแล้วก็ได้
ถ้าใครไม่เห็นว่าการออกกำลังกายสำคัญ ก็ต้องบอกว่า Valentina Dragomir นักจิตอายุรเวทนั้นได้กล่าวไว้ว่า การออกกำลังกายมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของเรา ซึ่งมันหมายถึงสุขภาพความจำของเราด้วย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองและช่วยปกป้องเซลล์สมองของเรานั่นเอง
เพราะฉะนั้นวิธีแก้ไขก็คือ ให้ออกกำลังกายบ้าง ลองหารูปแบบการออกกำลังกายที่ตัวเองชอบ อย่าปล่อยให้ตัวเองนั่งอยู่กับที่นานจนเกินไป ถ้าใครรู้สึกว่าตัวเองมีเวลาน้อยก็อาจจะลองตื่นให้เช้าขึ้นสัก 30 นาที แล้วนำเวลาตรงนั้นมาออกกำลังกาย หรืออาจจะหาเวลาว่างหลังเลิกงานสัก 30 นาทีมาออกกำลังกายก็ได้เช่นกัน
ถ้าใครยังไม่รู้ว่าควรออกกำลังกายอะไรดี ก็อาจจะเริ่มจากการออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะก่อนก็ได้ เพราะนอกจากจะทำให้เราได้ขยับร่างกายแล้ว ยังได้สูดอากาศจากธรรมชาติ ซึ่งมันจะทำให้เราเริ่มวันได้อย่างสดใสมากขึ้นด้วย
จำไว้อย่างหนึ่งว่า ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายให้หนักเสมอไป แค่ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำก็พอ เพราะมันจะช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยหลายอย่าง ตั้งแต่ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง เบาหวาน ไปจนถึงเรื่องการสูญเสียความทรงจำด้วย
3) ไม่ค่อยลับสมอง
เชื่อไหมว่าหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยลดอาการหลงลืมของเราได้คือ ‘การกระตุ้นสมอง’ เพราะการทำให้สมองตื่นตัวโดยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การเล่นเกม อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมอื่นๆ เป็นวิธีการรักษากล้ามเนื้อสมองของเราเอง
อย่าลืมว่าสมองและความทรงจำของเราก็เหมือนกับร่างกายส่วนอื่นๆ ที่ต้องการการออกกำลังกายเหมือนกัน ถ้าไม่อย่างนั้นสมองของเราก็อาจจะฝ่อได้
ดังนั้น ให้หาเวลาฝึกสมองประลองปัญญาบ้าง ถ้าใครชอบอ่านหนังสือก็อ่านหนังสือกระตุ้นสมองสักหน่อย หรือถ้าใครชอบเล่นเกม ก็อาจจะลองหาเกมที่ต้องใช้สมองเยอะๆ มาลองเล่นกันดูก็ได้เช่นกัน
4) ชอบทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน
อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราขี้ลืมนั้นเป็นเพราะเรามีปัญหาเรื่อง ‘ความเอาใจใส่’ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการจดจำข้อมูลโดยตรง ถ้าเราไม่เอาใจใส่อย่างเต็มที่ เราก็จะจดจำข้อมูลได้ไม่ดี จนทำให้กลายเป็นคนหลงๆ ลืมๆ ไป
ถ้าใครชอบทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน หรือที่เรียกว่า Multitasking อยู่ ก็อาจมีปัญหาหลงๆ ลืมๆ ได้เหมือนกัน เพราะการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันจะทำให้เราจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้น้อยลง
ทางที่ดีควรจัดลำดับความสำคัญของงานที่ทำ แล้วมุ่งความสนใจไปที่งานใดงานหนึ่งจะดีกว่า เพื่อที่เราจะได้ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพและจดจำข้อมูลต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
5) ไม่รักษาความเป็นระเบียบ
การจัดระเบียบรอบตัวเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเรามีแนวโน้มที่จะลืมอะไรได้ง่ายขึ้นหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นระเบียบ ทางที่ดีควรจัดระเบียบรอบตัวให้ดี อย่างเช่นเรื่องงาน ถ้าไม่อยากให้ตารางงานตัวเองยุ่งเหยิง ก็ต้องจด To-do list ของตัวเองลงสมุดให้เป็นระเบียบ การทำแบบนี้จะทำให้เราหัวหมุนเรื่องงานระหว่างวันน้อยลงได้
การเขียนหรือจดบันทึกถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนขี้ลืม เพราะมันจะทำให้เรารู้ว่าเราพลาดข้อมูลสำคัญอะไรไปหรือเปล่า อีกทั้งการเขียนลงบนสมุดยังทำให้เราจดจำข้อมูลต่างๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย เพราะข้อมูลนั้นเคยผ่านมือเรามาก่อน
สำหรับใครที่ต้องการตัวช่วยที่จะทำให้จดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น เราขอเสนอ Mission To The Moon Planner 2024 ซึ่งมาพร้อมกับธีม “Balance” ตัวช่วยที่จะทำให้เราจดข้อมูลและจำเรื่องราวสำคัญๆ ในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับ Mission To The Moon Balance Planner 2024 นี้มีทั้งหมด 4 สี ได้แก่ Black, Indigo, Lavender, Pink มาพร้อมฟังก์ชันที่น่าสนใจหลายอย่าง ตั้งแต่…
[ ] Monthly Calendar : ปฏิทินรายเดือนขนาดพอเหมาะ จดบันทึกตั้งเป้าหมายหรือสิ่งสำคัญที่ต้องทำในแต่ละวัน ด้วย Monthly Focus หรือ Reminder
[ ] Daily Task : บริหารความยุ่งเหยิงในแต่ละวันของคุณด้วย Daily Task ด้วยพื้นที่ Free Note หรือ Bullet Journal รวมถึงวางแผนล่วงหน้าด้วย Weekly Preview
[ ] Free Writing Function : ปลดปล่อยตัวตนบนแผ่นกระดาษหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ Grid, Free Note, Dotted, หรือ Ruled ที่ได้รับรางบันดาลใจจากเทคนิค Brain Dump Exercise
[ ] และอื่นๆ อีกมากมาย
สามารถสั่งซื้อ Planner 2024 ได้ทาง LINE OA : @missiontothemoon หรือคลิกลิงก์นี้ https://bit.ly/464ScTc
สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Planner 2024 เพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/467KR5m
อ้างอิง
– Reasons Why People Forget : Kendra Cherry, MSEd, Verywell Mind – https://bit.ly/3s1C4TT
– 10 Common Behaviors That Are Making You More Forgetful : Sydni Ellis, HuffPost – https://bit.ly/3QjA2YQ
#selfdevelopment
#forget
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast