self developmentคุณใช้ชีวิตแบบสัตว์ประเภทไหน? รู้จักโครโนไทป์แบบสัตว์ 6 ชนิด

คุณใช้ชีวิตแบบสัตว์ประเภทไหน? รู้จักโครโนไทป์แบบสัตว์ 6 ชนิด

คุณเป็นคนประเภทไหน?

เข้านอนตั้งแต่ 2 ทุ่ม ตื่นก่อนฟ้าสว่าง และสดชื่นตลอดทั้งเช้า
นอนดึก ตื่นก็ไม่ค่อยจะทัน แล้วยังสะลึมสะลือไปกว่าครึ่งวัน
หรือเป็นคนนอนหลับไม่เป็นเวลา นอนไม่เต็มที่ และมักจะตื่นกลางดึกอยู่บ่อยๆ

หากคุณเป็นคนที่มีปัญหากับการจัดการชีวิต และตารางงานในแต่ละวัน หรืออยากจะกระตือรือร้น ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันสักชิ้น แต่ตาจะปิดไม่ไหว บางทีอาจเป็นเพราะคุณกำลังไม่เข้าใจกิจวัตรการนอนที่สัมพันธ์กับช่วงโปรดักทีฟสูงสุดของตัวเองดีพอ

นักวิทยาศาสตร์จึงศึกษาเกี่ยวกับการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตอนกลางคืนเป็นช่วงเวลาที่คุณจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และทำให้วันทั้งวันของคุณดำเนินไปอย่างเต็มที่เช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า โครโนไทป์ หมายถึง เวลาเข้านอนและตื่นนอนที่เป็นกิจวัตร และมีช่วงโปรดักทีฟตามนาฬิกาชีวภาพ (Biological Clock) ของตัวเอง

อาร์เคดี ปูติลอฟ (Arcady Putilov) ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การนอนกล่าวว่า มนุษย์มีโครโนไทป์การนอนแบบนก 2 ชนิด ซึ่งอธิบายถึงพฤติกรรมการเข้านอน ตื่นนอน และช่วงโปรดักทีฟต่องานประเภทต่างๆ คนละช่วงกัน

กลุ่มนกกระจาบ (Larks)

นกกระจาบเป็นนกที่มักจะบินมาเกาะระเบียงบ้านของพวกเราในตอนเช้าตรู่ แล้วส่งเสียงร้องจนบางคนตื่นนอนได้โดยไม่ต้องพึ่งนาฬิกาปลุก ดังนั้นจึงเป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่ตื่นแต่เช้าตรู่ (Morning People) นาฬิกาชีวภาพของคนประเภทนี้จะเริ่มตั้งแต่ก่อนพระอาทิตย์จะขึ้นเสียอีก ทำให้สามารถตื่นก่อน 8 โมงได้อย่างไม่สะลึมสะลือ

ช่วงโฟกัสที่ดีที่สุดของคนกลุ่มนี้จะเป็นเวลาหลังตื่นนอนถึงช่วงสายของวัน สมองจะตื่นเต็มที่มากที่สุด เวลานี้พวกเขาสามารถรับมือกับงานที่ต้องวิเคราะห์ และทำความเข้าใจเรื่องซับซ้อนได้อย่างดี แต่เมื่อถึงเวลาเที่ยง ยาวไปจนถึงตกเย็น ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของชาวนกกระจาบจะตกฮวบ ช่วงบ่ายจึงเหมาะกับงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์มากกว่า ช่วงเย็นถึงหัวค่ำพลังงานของคนที่ตื่นเช้าจะค่อยๆ ลดลง และจะเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม ซึ่งถือว่านอนเร็วกว่าโครโนไทป์ประเภทอื่นๆ

ดังนั้นคนกลุ่มนกกระจาบจึงมีแนวโน้มเป็นเด็ก หรือคนชรา นอกจากนี้งานวิจัยยังบอกว่า เป็นไปได้ว่าคนทั่วไปที่ตื่นเช้าเป็นประจำจะเป็นคนที่มีสุขภาพหัวใจ และสมองที่แข็งแรง มีความมั่นคงทางอารมณ์สูง และเป็นไปได้มากว่าจะมีสุขภาพจิตที่ดีกว่าโครโนไทป์ประเภทอื่นๆ

กลุ่มนกฮูก (Owls)

กลุ่มที่มีโครโนไทป์แบบนกฮูกคือคนที่นอนดึกตื่นสาย (Night People) ชอบทำโน่นทำนี่ตอนกลางคืน เหมือนกับนกฮูกที่ใช้ชีวิตและหาอาหารในเวลากลางคืน นาฬิกาชีวภาพของคนกลุ่มนี้มักจะตื่นนอนหลัง 10 โมง และเข้านอนหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป

โดยช่วงโฟกัสสูงสุดจะอยู่ที่เวลาบ่ายจนถึงเย็น เป็นช่วงที่คนกลุ่มนกฮูกสามารถทำได้ดีทั้งงานที่ต้องใช้ความเข้าใจข้อมูลที่ซับซ้อน การคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังมีเอเนอร์จีเหลือเฟือที่จะออกไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูง และเข้าสังคมหลังเลิกงานอีกด้วย

คนกลุ่มนี้มักจะประสบกับสภาวะเมาเวลาทางสังคม (Social Jetlag) หรืออาการอ่อนเพลียในเวลาทำงานช่วงเช้าของวัน เนื่องจากเวลานั้นสมองจะไม่สามารถโฟกัสกับงานต่างๆ ได้ ทำให้มักจะสะลึมสะลือในทุกเช้า

เวลาต่อมา ความคิดเรื่องโครโนไทป์ของอาร์เคดีถูกตั้งคำถามว่า “แล้วคนที่นอนไม่หลับ นอนไม่เป็นเวลาเหมือนอย่างคนอื่นจะเป็นสัตว์แบบไหน?” ไมเคิล บรูซ (Michael Breus) นักวิทยาศาสตร์ ผู้ศึกษาเรื่องการนอนจึงนำเสนอโครโนไทป์แบบสัตว์ 4 ประเภทขึ้นมา เพื่ออธิบายพฤติกรรมการนอนของมนุษย์ในมุมกว้างมากขึ้น ในงานศึกษาของไมเคิลยังกล่าวถึงบุคลิกภาพได้หลากหลายมากกว่า อีกทั้งยังกล่าวถึงคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับด้วยเช่นกัน

Advertisements

กลุ่มสิงโต (Lions)

คนที่มีโครโนไทป์แบบสิงโตคิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 10-20% ของคนทั่วไป คนกลุ่มนี้เข้านอนไวเป็นนิสัยอยู่แล้ว ดังนั้นการตื่นเช้าไม่ใช่ปัญหาสำหรับชาวสิงโต ร่างกายกับสมองจะตื่นตัว และโปรดักทีฟมากในช่วงก่อนเที่ยง อย่างไรก็ตาม ยิ่งมีไฟมากเท่าไรในตอนเช้า ก็ยิ่งหมดพลังงานอย่างรวดเร็วในช่วงหลังเที่ยง ชาวสิงโตจึงไม่ค่อยเข้าสังคมหลังเลิกงานมากเท่าไร เพราะส่วนมากจะชอบกลับบ้านเตรียมตัวเข้านอนเสียมากกว่า

คนกลุ่มนี้มักจะกระตือรือร้น ทะเยอทะยาน ยึดมั่นศีลธรรมและความถูกต้อง เป็นคนที่ชอบคิดวิเคราะห์ และมองโลกในแง่ดี

ชาวสิงโตของไมเคิล เทียบได้กับชาวนกกระจาบของอาร์เคดี ดังนั้นสมองจึงทำงานที่ต้องใช้สมาธิ และคิดวิเคราะห์ได้ดีในช่วงเช้า แต่ถ้ารู้สึกล้า หรือหมดเอเนอร์จีในช่วงบ่ายก็สามารถเติมพลังด้วยการงีบสัก 10-20 นาที ก็จะช่วยเพิ่มเอเนอร์จีให้กลับมาพร้อมลุยงานในช่วงบ่ายได้

Advertisements

กลุ่มหมี (Bears)

โครโนไทป์แบบหมีคือกลุ่มคนที่มีโครโนไทป์ตามไทม์โซนที่อยู่อาศัยของตัวเอง ตื่นเมื่ออาทิตย์ขึ้น หรือประมาณ 7 โมงเช้า และเข้านอนไม่เกินเที่ยงคืน คิดเป็นสัดส่วน 50% ของคนทั่วไป หมีเป็นสัตว์ที่ดูเหมือนจะนอนเยอะ และหลับลึกมากที่สุด แต่มันไม่ใช่สัตว์ที่มีภาพลักษณ์ปราดเปรียว ว่องไว เหมือนสัตว์ตัวอื่นๆ ชาวหมีจึงมักมีนิสัยตื่นนอนที่ไม่เช้าไม่สาย จะเข้านอนก็ไม่เร็วไม่ดึกมาก

คนที่มีโครโนไทป์แบบหมีจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ คนประเภทนี้นอนหลับได้ครบ 8 ชม. และนอนหลับลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกิจวัตรการนอนที่ตรงกับไทม์โซนแบบหมี ทำให้คนกลุ่มนี้มีช่วงโปรดักทีฟสอดคล้องกับเวลาเข้างานตามปกติมากที่สุด ซึ่งก็คือช่วง 10 โมงถึงบ่าย 2 ที่ชาวหมีจะสามารถลุยงานทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าคนกลุ่มนี้จะเอเนอร์จีตกช่วงเย็น แต่ก็เป็นเวลาใกล้เลิกงานพอดี ทำให้ไม่เป็นปัญหาเท่าไรนัก และยังมีแรงเหลือพอจะไปสังสรรค์กับเพื่อนได้บ้างบางครั้ง

กลุ่มหมาป่า (Wolves)

โครโนไทป์แบบหมาป่าของไมเคิลจะตรงข้ามกับสิงโต คือเป็นพวกนอนดึกตื่นสายเหมือนชาวนกฮูกของอาร์เคดี คิดสัดส่วนเป็น 15-20% ของคนทั่วไป คนกลุ่มนี้มักจะตื่นหลังเที่ยง โปรดักทีฟช่วงบ่ายยาวไปจนถึงเย็น แม้เลิกงานแล้วคนกลุ่มนี้ก็ยังคงมีเอเนอร์จีมากพอที่จะพบปะผู้คน หรือนั่งทำงานอย่างตั้งอกตั้งใจในตอนดึก แล้วค่อยเข้านอนเมื่อเลยเวลาเที่ยงคืนไปแล้ว

แต่ในขณะเดียวกัน ชาวหมาป่าจะค่อนข้างมีปัญหากับตารางชีวิต เพราะมีกิจวัตรการนอนที่กระทบกับเวลาทำงานช่วงเช้า ทำให้ประสบปัญหา Social Jetlag มากกว่าคนอื่น แต่การงีบหลับสัก 10-20 นาที ก็จะช่วยเติมเอเนอร์จียามเช้าของวันได้

กลุ่มโลมา (Dolphins)

ความจริงแล้วเวลาที่โลมาหลับในน้ำ สมองส่วนหนึ่งของมันจะยังคงทำงานตลอดเวลา ดังนั้นคนที่มีโครโนไทป์แบบโลมาจึงเป็นทั้งคนที่นอนไม่เป็นเวลา คนที่นอนหลับยาก หรือคนที่นอนหลับไม่สนิท การนอนหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างนี้ทำให้คนกลุ่มนี้มักรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดทั้งวัน ในขณะเดียวกัน คนกลุ่มนี้มักจะมีช่วงโปรดักทีฟตรงกับชาวหมี  โดยชาวโลมาคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของคนทั่วไป

อย่างไรก็ตามอาการนอนไม่หลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ ของชาวโลมาอาจเป็นสัญญาณของโรคที่เกี่ยวกับการนอนหลับ หรือการทำงานอย่างผิดปกติของอวัยวะที่เกี่ยวข้องได้ ดังนั้นจึงต้องสังเกตให้ดีว่าอาการนอนหลับไม่ค่อยสนิท หรือนอนหลับยากนั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด

การรู้จักและเข้าใจโครโนไทป์การนอนของตัวเองทำให้เรารู้จักนาฬิกาชีวภาพของตัวเอง ซึ่งโครโนไทป์ไม่ได้ส่งผลแค่เวลาเข้านอนและตื่นนอนอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการผลิตฮอร์โมน การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย รวมถึงความอยากอาหารด้วย การเปลี่ยนโครโนไทป์การนอนของตัวเองเป็นเรื่องยาก เพราะสัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจ สมอง และการหลั่งฮอร์โมนในร่างกายของเรา

ยิ่งไปกว่านั้น ดร. ชาร์ล็อต เอเดลสเตน (Dr. Charlotte Edelsten) นักวิทยาศาสตร์การนอนหลับยังกล่าวอีกด้วยว่า เราไม่สามารถเปลี่ยนโครโนไทป์ของตัวเองได้อย่างสิ้นเชิง เพราะมันเป็นเรื่องของพันธุกรรม แต่หากเข้านอน และตื่นนอนเป็นเวลาทุกวัน ก็ช่วยให้เราสามารถปรับนาฬิกาชีวิตของตัวเองได้ทีละนิด

หากเราสังเกตกิจวัตรการนอนหลับของตัวเอง แล้วพบว่านอนหลับไม่เต็มที่ หรือรู้สึกเหนื่อยล้าเวลากลางวัน การเรียนรู้โครโนไทป์ของตัวเอง จะช่วยให้เราเข้าใจนาฬิกาชีวภาพของตัวเอง และสามารถออกแบบตารางชีวิตที่สอดคล้องกับนาฬิกาชีวภาพของเรา และดำเนินชีวิตในวันนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง
– Chronotypes—Night Owls, Early Larks, Finches—and Why They All Matter : Calo Huang, owaves – https://owaves.com/chronotypes-owls-larks-finches-why-they-matter/
– How to Find Your Chronotype to Boost Productivity : Casper – https://casper.com/blog/chronotype/
– Sleep Chronotype: What’s My Chronotype? : SleepScoreLab – https://www.sleepscore.com/blog/chronotype-ideal-bedtime/

#selflove
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า