PODCASTMISSION TO THE MOONเสียงดังเฮฮา…แต่ไม่เสมอไป เข้าใจระบบความคิดและการตัดสินใจของ Extrovert ทั้ง 4 ประเภท

เสียงดังเฮฮา…แต่ไม่เสมอไป เข้าใจระบบความคิดและการตัดสินใจของ Extrovert ทั้ง 4 ประเภท

ตามความเข้าใจพื้นฐานของคนส่วนใหญ่ Extrovert หรือ Extravert หมายถึง คนที่เข้าสังคมเก่ง เข้ากับคนแปลกหน้าได้ง่ายๆ ชอบแสดงออก และชอบที่จะออกไปพบเจอผู้คนมากกว่าอยู่ในบ้าน ส่วน Introvert ก็จะเป็นคนที่เก็บเนื้อเก็บตัว พูดน้อย และไม่ค่อยชอบสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านมากเท่าไร

โดยความจริงแล้วแต่ละคนก็มีอุปนิสัยที่แตกต่างกันไป แล้วก็ทำให้เราตีความบุคลิกภาพตามลักษณะนิสัยของแต่ละคนไปด้วย บางคนชอบทำอะไรคนเดียว มีพื้นที่สำหรับงานอดิเรกของตัวเองก็จะเรียกรวมๆ ว่าเป็น Introvert ในขณะที่บางคนชอบออกนอกบ้าน ไปเที่ยวไปดูโน่นดูนี่ และสบายใจกับการได้ออกไปใช้ชีวิตภายนอกมากกว่า ก็จะเรียกว่าเป็นกลุ่ม Extrovert

แต่บางครั้งหลายคนก็อาจจะสงสัยว่าทำนิสัยของเราถึงตรงข้ามกับผลการทดสอบอย่างสิ้นเชิง เช่น คุณอาจจะเป็น Introvert ที่อยู่ท่ามกลางคนกลุ่มใหญ่ได้อย่างดีเยี่ยม หรือเป็น Extrovert ที่ชอบอยู่คนเดียวและทำอะไรคนเดียวมากกว่ารวมกลุ่มกับผู้อื่น แต่นั่นกลับนำมาซึ่งคำถามของผู้คนมากมายว่าเป็น Extrovert แบบไหนกันแน่

แม้ว่าเราจะมีการกล่าวเพื่อให้เข้าใจอย่างง่ายๆ กันว่าบุคลิกภาพของ Introvert จะถูกมองว่าซับซ้อนและมีหลายประเภท ส่วน Extrovert ก็มักจะถูกแปะป้ายเหมารวมว่าเป็นคนที่เฮฮา ชอบเสียงดัง ชอบอยู่ท่ามกลางผู้คน แต่ในความจริงแล้ว Extrovert เองก็มีความซับซ้อน และไม่ได้เฮฮา หรือโหวกเหวกเสียงดังเป็นนิสัยอย่างที่หลายคนเข้าใจ

แท้จริงแล้ว ‘Extrovert’ มีระบบความคิดแบบไหน?

ความจริงแล้ว Extrovert ที่เราพูดถึงกันอย่างติดปากมาจากคำว่า Extravert ซึ่งเป็นศัพท์ทางจิตวิทยาบุคลิกภาพของคาร์ล ยุง (Carl Jung) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ที่หลายคนรู้จักดี โดยทฤษฎีของยุงนั้นจะเรียกกระบวนการการรับรู้และตัดสินใจของมนุษย์ว่า Cognitive Function

โดย Cognitive Fuction นี้ไม่ได้เป็นตัวกำหนดลักษณะนิสัยของแต่ละคนโดยตรง แต่จะเป็นตัวที่บอกว่าเรามีวิธีคิด หรือรับมือกับปัญหาและความเครียดได้อย่างไร

ภายใน Cognitive Function จะมีฟังก์ชันอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน กล่าวคือ ฟังก์ชันที่ใช้ในการรับรู้ข้อมูล ฟังก์ชันที่ใช้ในการตัดสินใจ และทิศทางของฟังก์ชันทั้งหมด นอกจากนั้นฟังก์ชันแต่ละส่วนยังแยกประเภทย่อยๆ ได้อีกดังนี้

[ ] ฟังก์ชันที่ใช้ในการรับรู้ข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า หรือยึดตามความจริงเป็นหลัก (Sensing) และการรับรู้ผ่านสัญชาตญาณ ความรู้สึก และยึดจินตนาการเป็นหลัก (Intuition)

[ ] ฟังก์ชันที่ใช้ในการตัดสินใจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การตัดสินใจโดยใช้ตรรกะเป็นหลัก หรือความสมเหตุสมผลต้องมาก่อน (Thinking) และการตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึกเป็นหลัก (Feeling)

[ ] ทิศทางของฟังก์ชันต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การสนใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง เช่น ความคิดและความรู้สึกของตัวเอง (Introversion) และการสนใจที่เน้นไปยังปรากฏการณ์ภายนอก เช่น บรรยากาศ ผู้คน หรืออาจเป็นความรู้สึกที่ขยายออกไปเรื่อยๆ ตามสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา (Extraversion)

ดังนั้นถ้าเรายึดจากทฤษฎีของยุงจริงๆ ก็จะเข้าใจว่า Extrovert หรือ Introvert นั้นเป็นเพียงทิศทางของความสนใจของเรา และถึงแม้ว่าทิศทางเหล่านี้จะส่งผลถึงนิสัยของเราบ้าง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าคนที่เป็น Extrovert จะแตกต่างกับคนที่เป็น Introvert อย่างสิ้นเชิง

นักธุรกิจ นักโต้วาที นักพูดให้แรงบันดาลใจ และนักกลยุทธ์

ถ้าเรายึดทิศทางของฟังก์ชัน หรือยึดกลุ่ม Extrovert ซึ่งเป็นกลุ่มที่คนทั่วไปมักจะให้ความสำคัญเป็นหลักก็จะสามารถจัดกลุ่มของคน Extrovert ได้ดังนี้

[ ] Extroverted Sensor

กลุ่มที่ประสานกันระหว่างโลกความเป็นจริง และประสบการณ์ภายนอก โดยส่วนมากจะเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่จับต้องได้ รับรู้ได้จากประสาทสัมผัสของตัวเอง หรือข้อเท็จจริงด้วยตัวเองเป็นหลัก และถ้าสภาพแวดล้อม หรือปัจจัยภายนอกเปลี่ยนแปลงขึ้นมา พวกเขาก็จะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เหมือนกับนักธุรกิจที่มากล้นไปด้วยพลัง ชอบเผชิญกับสิ่งต่างๆ และชอบลงมือทำด้วยตัวเองมากกว่าใช้สมองอย่างเดียว

[ ] Extroverted Intuitive

คนที่มีฟังก์ชันนี้เป็นหลัก จะมีความผสมผสานระหว่างความคิดเชื่อมโยง และเน้นสถานการณ์หรือแรงขับจากภายนอก มักจะเป็นคนที่มองหาความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัว เน้นการเชื่อมโยงที่อาจจะนำมาซึ่งความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในอนาคต สิ่งนี้ทำให้เมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ ชาว Extrovert กลุ่มนี้มีไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์และความน่าจะเป็นไปได้หลั่งไหลเข้ามาไม่หยุด

Advertisements

[ ] Extroverted Feeler

กลุ่มที่ให้ความสนใจกับความรู้สึกและโลกภายนอก ซึ่งหมายถึงคนที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น อารมณ์ และความรู้สึก ยึดคุณค่า ค่านิยม และวัฒนธรรมเป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินใจ ทำให้คนกลุ่มนี้เน้นความสนใจของตัวเองไปที่คุณค่าของ ‘กลุ่มคน’ มากกว่าจะสนใจความคิดของตัวเอง ซึ่งอาจทำให้พวกเขาเลือกทางออกตามสิ่งที่สังคมเป็นคนกำหนด และคิดเห็นเหมือนกับคนส่วนใหญ่มากกว่าจะยืนหยัดเพื่อความคิดของตัวเองอยู่คนเดียว

[ ] Extroverted Thinker

คนกลุ่มนี้จะเป็นชาว Extrovert ที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงปริมาณ หรือสิ่งที่ชั่ง ตวง วัดได้ เน้นความเข้าใจจากข้อมูลที่จัดระบบมาเป็นอย่างดีตามโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งต่างๆ รอบตัว ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังสามารถคิดอย่างเป็นกระบวนการที่ชัดเจน ทำให้พวกเขาเห็นสิ่งที่ผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย และไปถึงเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย คล้ายกับนักกลยุทธ์เก่งๆ ที่พร้อมเผชิญกับปัญหาด้วยแผนการอันแยบยล ที่พวกเขาคิดมาอย่างดีแล้ว

อย่างไรก็ตาม ทั้ง Extrovert ที่เป็นนักลงมือ นักจูงใจ นักปลอบใจ หรือนักคิด ต่างก็ต้องทำงานรวมกับผู้อื่นด้วยกันทั้งสิ้น ความเป็น Extrovert หรือ Introvert ในตัวเรานั้นไม่ได้ส่งผลกับลักษณะนิสัยส่วนตัวอย่างสิ้นเชิง และความสามารถในการทำงานก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการฝึกฝนด้วย

หลายคนที่มีทิศทางความสนใจแบบ Extrovert เป็นคนที่แสดงความคิดออกสู่ภายนอก และเปิดรับข้อมูลจากภายนอก ไม่ได้แปลว่าต้องตัวติดกับกลุ่มเพื่อน หรือเข้าสังคมเก่งๆ อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ กลับกันแล้ว การเข้าสังคมยังถือเป็นทักษะที่ทุกคนต่างก็ต้องฝึกฝนด้วยกันทั้งนั้น

ท่ามกลางสังคมที่แปะป้ายผู้คนมากเกินไป เราอาจจะรู้สึกสับสนและหลงทางในความเป็นตัวเองของเราก็ได้ แต่ถ้าตัดความคิดของคนอื่นออกไปแล้วละก็ ไม่ว่าเราจะเป็น Extrovert แบบไหนก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าเรารู้จักจุดอ่อน และจุดแข็งของตัวเองดีแค่ไหน และเรานำมันมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของเราได้อย่างไรต่างหาก

ไม่ว่าบุคลิกภาพของเราจะเป็นกลุ่มไหน ถ้าเข้าใจระบบความคิด ฟังก์ชันการรับรู้ข้อมูลและการตัดสินใจของตัวเองแล้วก็จะรู้วิธีสื่อสารและรับมือกับทุกสถานการณ์รอบตัวได้เป็นอย่างดี เตรียมพบกับทักษะ และคุณสมบัติของผู้นำองค์กรในโลกยุคใหม่ได้ใน Workshop 1 : Dealmaker Masterclass : เจรจาต่อรองอย่างไรให้โน้มน้าวใจผู้ฟังได้สำเร็จ | 10.30 – 12.00 น. ในงาน Mission To The Moon Forum 2024 Work-Life Survival Guide คู่มือเอาชีวิตรอดสำหรับคนสู้งาน บรรยายโดยคุณณัฐวุฒิ  พึงเจริญพงศ์ ประธานบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Ookbee

📌สามารถซื้อบัตรได้แล้ววันนี้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Mission-To-The-Moon-Forum-2024

อ้างอิง
– Extrovert Personality: Characteristics and Other Interesting Facts! : BFI Finance – https://bit.ly/3xgySpC
– Extraverted Sensing (Se) คืออะไร? มีกระบวนการทำงานอย่างไร? : Urbinner – https://bit.ly/3PAardo
– Extraverted Intuition (Ne) คืออะไร? มีกระบวนการทำงานอย่างไร? : Urbinner – https://bit.ly/3TQ9dgI
– Extraverted Feeling (Fe) คืออะไร? มีกระบวนการทำงานอย่างไร? : Urbinner – https://bit.ly/43tY7Ry
– Extraverted Thinking (Te) คืออะไร? มีกระบวนการทำงานอย่างไร? : Urbinner – https://bit.ly/4959n87

#extrovert 
#selfdevelopment
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า