การเลิกบุหรี่ได้ คือ “ชัยชนะ” ร่วมกันของเราทุกคน

1190

การเลิกบุหรี่ได้ คือ “ชัยชนะ” ร่วมกันของเราทุกคน

การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อใครบ้าง… แน่นอนว่าคนแรก คือ ตัวผู้สูบบุหรี่ ที่ตั้งใจและยินยอมรับเอาสารเคมีต่างๆ เข้าไปในร่างกายกว่า 4,000 ชนิด และส่วนมากจะทำปฎิกิริยากับร่างกายทำให้เกิดโรคมะเร็งได้

ในทางกลับกัน ควันบุหรี่ที่คุณปล่อยออกมาส่งผลต่อคนรอบข้างอย่างน่ากลัวไม่แพ้กัน ปัจจุบันมีผู้คนกว่า 2.5 ล้านคน โดยเฉพาะเด็กเล็กและทารก ที่ต้องเสียชีวิตลงเพียงเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองจากคนใกล้ชิด

Advertisements

ควันบุหรี่มือสอง สามารถทำให้เด็กและทารกเกิดโรคร้ายมากมาย ที่เกิดผลข้างเคียงของการรับสารเคมี ส่วนใหญ่เป็นโรคหอบหืดเรื้อรัง ปัญหาระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในหู ที่ส่งผลมาถึงการใช้ชีวิตในตอนโต ทั้งที่พวกเขาไม่ได้มีโอกาสเลือกเองแม้แต่น้อย

เรื่องน่าเศร้า คือ คนสูบบุหรี่ส่วนใหญ่รู้ว่า ควันบุหรี่ส่งผลเสียต่อคนรอบข้างมากแค่ไหน แต่พวกเขายังคงสูบอยู่เหมือนเดิม ข้อเท็จจริงคือ มีผู้ที่พยายามจะเลิกบุหรี่ไม่ถึง 10% ที่สามารถหยุดสูบได้ และมันง่ายมากที่เราจะผิดสัญญากับตัวเอง เพื่อสนองความสุขที่เกิดจากสารเคมีที่ส่งผลให้เขาผ่อนคลายชั่วขณะ โดยลืมคำนึงถึง ภัยเงียบจากควันบุหรี่มือสอง ที่เกิดขึ้นกับเหล่าคนใกล้ตัวผู้โชคร้าย


หากตัดสินใจที่จะเลิกบุหรี่ ผลที่ตามมากับตัวคุณจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

จากผลวิจัยกล่าวว่า การเลิกสูบบุหรี่ หมายถึง การทำลายวัฏจักรของการเสพติด และ การทำให้สมองหยุดรับนิโคติน ที่ส่งผลต่อสมองและระบบประสาท เนื่องจากนิโคตินที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีผลทำให้เกิดการเสพติด ผู้สูบจะไม่สามารถหยุดสูบได้ แม้รู้ว่าทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ตามมานับไม่ถ้วน

เมื่อไม่ได้รับสารนานๆ จะภาวะอาการขาดสารนิโคติน ซึ่งอาจประกอบด้วยอาการกระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ หัวใจเต้นช้าลง หงุดหงิดง่าย หรือซึมเศร้า โดยอาการเหล่านี้จะเห็นได้ชัดที่สุดในช่วงแรกๆ ที่ตัดสินใจเลิกบุหรี่

ในเวลา 20 นาทีแรกหลังจากคุณหยุดสูบบุหรี่ อัตราการเต้นของหัวใจคุณจะกลับสู่ภาวะปกติ ความดันโลหิตเริ่มลดลงและการไหลเวียนโลหิตจะเริ่มดีขึ้น

เพียงแค่ 1 วันหลังจากเลิกสูบบุหรี่ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจจะลดลง ในช่วงเวลาสั้นๆ นี้ระดับออกซิเจนของคุณจะเพิ่มขึ้น ทำให้คุณสามารถออกกำลังกายได้ง่ายขึ้นเหมือนก่อนที่จะเริ่มสูบบุหรี่

แต่ 3 วันหลังจากคุณตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่ ระดับนิโคตินในร่างกายที่คุณสะสมมาจากการสูบบุหรี่ตลอดชีวิตจะหมดลง และทำให้เกิดการถอนนิโคติน อาการความหงุดหงิดและปวดหัวอย่างรุนแรง ความอยากบุหรี่เพราะร่างกายกำลังปรับตัวจะทำให้คุณถอดใจอยากกลับไปสูบมันอีกครั้ง

(อ้างอิง: https://www.medicalnewstoday.com/articles/317956)

หากคุณล้มเลิกการเลิกบุหรี่ในช่วงเวลานี้ ผลที่ตามมากับตัวคุณอาจส่งผลรุนแรงยิ่งกว่าเดิม การกลับมาติดบุหรี่ครั้งใหม่จะทวีความอยากสูบบุหรี่ของคุณขึ้นไปเป็นเท่าตัว 

นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่การให้คำปรึกษาและกำลังใจสำคัญอย่างยิ่ง จากผลวิจัยพบว่า กว่า 3 ใน 4 ของผู้สูบ ที่ตั้งใจจะเลิกบุหรี่ มักล้มเหลวในช่วงเวลานี้ เพราะต้องเผชิญกับภาวะ “ความเคยชิน” เดิมๆ ที่เคยทำอยู่เป็นประจำ ร่วมกับการเกิดปฎิกิริยาเคมีในร่างกาย แต่หากได้รับคำปรึกษาที่เหมาะสมจากแพทย์หรือเภสัชกรในการใช้ยาประกอบกับการรักษา จะช่วยบรรเทาความยากลำบากนี้ให้ผ่านพ้นไปได้

Advertisements

จากผลวิจัยพบว่า การได้คำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ มีพลังการโน้มน้าวใจเป็นอย่างดี คำแนะนำง่ายๆ จากเภสัชกร สามารถเปลี่ยนการตัดสินใจให้คนสามารถกลับมาตั้งใจเลิกบุหรี่ได้อีกครั้ง การรับคำแนะนำสั้นๆ สามารถสร้างประสิทธิภาพในการตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่ได้เพิ่มขึ้นถึง 3% ช่วยสร้างความมั่นใจให้เขา และรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน

(อ้างอิง: https://www.cochrane.org/CD000165/TOBACCO_does-advice-from-doctors-encourage-people-who-smoke-to-quit)


Productivity Hack

คำแนะนำที่รวบรวมจากเภสัชกร สามารถปฎิบัติตามได้ง่ายๆ สำหรับผู้ตั้งใจเลิกบุหรี่ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ประกอบกับการปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับเภสัชใกล้ๆ บ้านได้ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ข้อสำคัญ คือ 1.ดูแลตัวเองให้ดีที่สุด 2.สร้างนิสัยใหม่ และ 3.การขอความช่วยเหลือ  4. การใช้ยาร่วมในการรักษา

(อ้างอิง: https://www.verywellmind.com/will-i-miss-smoking-forever-2824756

1) ดูแลตัวเองให้ดีที่สุด:

การเลิกบุหรี่หากไม่ลงมือทำอย่างตั้งใจจริง นอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารเพื่อสุขภาพและดื่มน้ำมากๆ ทำให้ร่างกายและจิตใจพร้อมที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะตัวคุณเอง คือ กุญแจสำคัญที่สุดในการทำสิ่งนี้ให้ประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้น เราต้องล้มเลิกความคิดที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และ พยายามตั้งเป้าหมายใหม่ให้ท้าทาย 

2) สร้างนิสัยใหม่:

การสูบบุหรี่มักเกี่ยวข้องกับกิจกรรมอื่นๆ ที่ผู้สูบมักทำอย่างคุ้นชินทุกๆ วัน แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่ ความต้องสูบบุหรี่มากแค่ไหน ให้คิดถึงการทำสิ่งอื่น หรือการทำสิ่งเดิมที่แตกต่างช่วงเวลาซ้ำๆ ทุกวัน สถานการณ์เหล่านี้จะสร้างงานอดิเรกหรือนิสัยใหม่ๆ ที่ทำให้คุณลืม ความคุ้นเคย ของการสูบบุหรี่ ที่ทำอยู่เป็นประจำ

3) การขอความช่วยเหลือ:

กำลังใจ คือ แรงผลักดันสำคัญที่จะทำให้คุณก้าวผ่านความยากลำบากในการเลิกบุหรี่ไปได้ ติดต่อเพื่อนสนิท หรือ สมาชิกในครอบครัวเมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกอยากสูบบุหรี่ การพูดถึงมันสามารถเตือนคุณว่าคุณมาไกลเท่าไหร่ และ พยายามมากแค่ไหนแล้วกับการเลิกบุหรี่ครั้งนี้ 

การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้รับคำแนะนำดีๆ จะช่วยคุณไปถึงเป้าหมายได้ หากมีการสนับสนุนจากผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ คนรัก ครอบครัว หรือตัวช่วยทางการแพทย์ในการเลิกบุหรี่ และค่อยๆ ลดการสูบไปเป็นลำดับ จะส่งผลให้คุณมีโอกาสเพิ่มถึงขึ้นถึง 50% ในการทำสำเร็จ

(อ้างอิง: https://www.quitterscircle.com/how-to-quit/why-is-it-so-hard-to-quit-smoking)

4) การใช้ยาร่วมรักษา:

สำหรับคนที่ติดบุหรี่เนื่องจากภาวะเสพติด เภสัชกรจะให้คำแนะนำควบคู่ไปกับการรักษา โดยมีสองทางเลิกคือการเลิกบุหรี่โดยใช้นิโคตินทดแทน และการเลิกโดยใช้ยาที่ไม่มีนิโคติน ทำให้การอยากสูบบุหรี่น้อยลง และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าแบบแรก

(อ้างอิง :
http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/evidance_file/20170503183600.pdfhttp://ndi.fda.moph.go.th/drug_info/index?name=&brand=CHAMPIX+%28TABLETS+0.5+MG+AND+1+MG%29&rctype=&drugno=)


หากตัดสินใจเลิกบุหรี่แล้ว ผลที่เกิดขึ้นตามมา ไม่ได้มีผลดีแค่กับตัวคุณเอง คนรอบข้างของคุณจะปลอดภัยจากโรคต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด แต่ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากตัวเองเสียก่อน ดูแลตัวเองให้ดี สร้างทัศนคติที่อยากเอาชนะใจตัวเอง และมองหาความช่วยเหลือ กำลังใจอยู่เสมอ 

เพราะตัวคนเดียว เราสามารถทำอะไรได้เพียงเล็กน้อย แต่ทำร่วมกัน เราสามารถทำได้มหาศาลHelen Keller

#changefornewchapter #เลิกบุหรี่การเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย #เลิกบุหรี่ไม่ใช้นิโคติน #เลิกบุหรี่ด้วยยาปรึกษาเภสัชกร

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่