PSYCHOLOGYนี่เราหมดไฟหรือแค่ขี้เกียจ? สำรวจสาเหตุเบื้องหลังอาการไม่อยากตื่นมาทำงาน

นี่เราหมดไฟหรือแค่ขี้เกียจ? สำรวจสาเหตุเบื้องหลังอาการไม่อยากตื่นมาทำงาน

เคยมีอาการแบบนี้กันไหม? ไม่อยากนอนเพราะไม่อยากตื่นเช้ามาทำงาน หรือตื่นนานแล้ว แต่ก็ยังไม่อยากลุกจากเตียงเพื่อไปทำงานอยู่ดี

หากยกสถานการณ์เช่นนี้มา บางคนอาจจะมองว่าคนที่ไม่อยากไปทำงานหรือไม่ยอมลุกออกจากเตียงเป็นคน “ขี้เกียจ” แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่เรามีพฤติกรรมเช่นนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะขี้เกียจเสมอไป บางทีเราอาจ “หมดไฟ” ก็ได้

ความขี้เกียจกับอาการหมดไฟเป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีความทับซ้อนกัน จนทำให้บางทีเราก็ไม่สามารถแยกออกได้ว่าเรากำลังรู้สึกแบบไหนอยู่กันแน่

ในบทความนี้เราจึงจะอยากชวนทุกคนมาสำรวจสาเหตุเบื้องหลังอาการไม่อยากตื่นมาทำงานและไม่อยากลุกจากเตียงตอนเช้าของตัวเอง ว่าเป็นเพราะเราหมดไฟหรือแค่ขี้เกียจกันแน่

คำว่าหมดไฟกับขี้เกียจดูเผินๆ อาจคล้ายกันตรงที่ว่า ทั้งสองอารมณ์นี้มีความเกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงการทำอะไรบางอย่าง แต่ถ้าพิจารณาลึกๆ ลงไปแล้วก็ยังคงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เราลองมาสังเกตถึงความแตกต่างไปพร้อมๆ กัน

เริ่มกันที่ “หมดไฟ” อาการนี้จะมีสาเหตุมาจากการเผชิญกับความเครียดระดับสูง โดยไม่ใช่แค่การเจอเรื่องเครียดสูงเพียงครั้งเดียว แต่เป็นการเผชิญกับความรู้สึกนี้จน “เรื้อรัง” ซึ่งความเครียดส่วนใหญ่ก็มักจะมาจากการทำงาน เรียกได้ว่าเป็นเรื่องของสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ทำงานที่เราไม่สามารถควบคุมได้

โดยอาการหมดไฟนั้นจะทำให้เราเกิดความเสียหายอย่างหนักทั้งทางกาย จิตใจ และอารมณ์ จนแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และการทำงานของเรา อย่างเช่น ทำให้เราไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และมีความไม่พึงพอใจมากขึ้น

กลับกัน ความขี้เกียจนั้นจะเป็นการหลีกเลี่ยงอะไรบางอย่างหรือการขาดความพยายามเสียมากกว่า ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เกิดขึ้นจากความเครียด แต่มาจากการหลีกเลี่ยงการประสบกับอะไรบางอย่างที่ตัวเองไม่ต้องการเสียมากกว่า พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือมันเกี่ยวข้องกับการผัดวันประกันพรุ่ง โดยเราหลีกเลี่ยงอะไรบางอย่างถึงแม้จะรู้อยู่แล้วว่าผลลัพธ์ที่ตามมาจะเป็นอย่างไรก็ตาม

อย่างไรก็ดี ความขี้เกียจก็อาจทำให้คนคนนั้นคิดอย่างมีกลยุทธ์และสามารถหาทางแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้นได้ เพราะคนเหล่านี้อาจหาทางลัดที่จะทำให้ตัวเองทำงานน้อยที่สุดแต่เสร็จเร็วที่สุดก็เป็นได้

สำหรับใครที่อยู่ในโลกแห่งการทำงาน ก็คงจะทราบกันดีว่าการดำรงอยู่ในโลกแห่งนี้ไม่ง่ายนัก เพราะในทุกๆ วันเราต้องเจอกับกองงานมากมาย ประชุมหลายโปรเจกต์ อีกทั้งยังมีความท้าทายเข้ามาให้เราต้องก้าวผ่านไปในทุกๆ วัน

แล้วยิ่งอยู่ในโลกที่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวันอย่างไม่หยุดหย่อนเช่นนี้ เรายิ่งต้องพยายามปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อไม่ให้ตัวเองถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เพราะฉะนั้นแล้วชีวิตวัยทำงานนั้นไม่ง่าย และไม่เคยง่ายเลย

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ความรู้สึกท้อ เหนื่อย หรือหมดไฟ ก็อาจคืบคลานเข้ามาหาเราได้ทุกเมื่อ เราจึงอยากให้ทุกคนลองสังเกตตัวเองกันเยอะๆ ว่าตอนนี้เรากำลัง “หมดไฟ” อยู่หรือเปล่า เพื่อที่เราจะได้รับมือและจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้อย่างถูกจุดและทันท่วงที

Advertisements
Advertisements

1. เหนื่อยล้า
หากใครกำลังรู้สึกหนักอึ้งในใจ ความรู้สึกนี้จะแสดงออกมาผ่านความเหนื่อยล้าทางกาย งานง่ายๆ หรืองานพื้นฐานที่เราต้องทำบ่อยๆ อย่างเช่นการอาบน้ำชำระล้างร่างกายหรือการเข้าครัวทำอาหาร ก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่อยากทำและรู้สึกว่าเป็นภาระ

ส่วนในด้านของการทำงานก็รู้สึกว่าแต่ละวันมันช่างยาวนานเสียเหลือเกิน รู้สึกเหนื่อยกับชีวิตมากกว่าปกติ ไม่รู้ว่าจะเติมพลังให้กับชีวิตอย่างไร ถ้าใครมีอาการเช่นนี้ ก็เป็นไปได้ว่าอาจกำลังหมดไฟอยู่

2. รู้สึกหวั่นกลัวและขาดแรงจูงใจ
อาการหมดไฟอาจมาพร้อมกับความวิตกกังวลหรือหวาดกลัวเกี่ยวกับงานของตัวเอง บางครั้งแม้ว่าเราจะลาเพื่อหยุดพักกายและใจไป แต่พอกลับมาทำงานแล้วก็พบว่าแรงจูงใจและความกระตือรือร้นของตัวเองยังคงต่ำเตี้ยเรี่ยดินอยู่อย่างเห็นได้ชัด จนบางทีก็อยากผัดวันประกันพรุ่งงานที่ตัวเองทำอยู่ออกไป เพราะไม่อยากคิดและไม่อยากจัดการกับงานตรงหน้า

ถ้าใครรู้สึกว่าวันเวลาในการทำงานมันยากขึ้นเรื่อยๆ คุณภาพงานลดลง แรงจูงใจไม่มี แถมหยุดพักกายและใจก็ยังไม่ช่วยอะไร ก็หมายความว่าเราอาจกำลังหมดไฟอยู่

3. นอนไม่ค่อยหลับ
จริงๆ แล้วการนอนหลับถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ยิ่งถ้าเรานอนหลับไม่ดี ก็ยิ่งทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าและหมดไฟได้ และในขณะเดียวกัน อาการหมดไฟก็อาจทำให้เรานอนไม่หลับได้ด้วยเช่นกัน เพราะเราจะรู้สึกกระสับกระส่ายไม่อยากตื่นไปทำงาน นอกจากนี้เรายังอาจมีอาการทางกายอื่นๆ อีกด้วย เช่น อาการปวดหัวหรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะ

4. ไม่ค่อยอยากอาหาร
อาการอยากอาหารหรือไม่อยากอาหารก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บ่งชี้ได้ว่าอาจมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวเรา เพราะในช่วงที่เราเหนื่อยล้าความอยากอาการของเราก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย เช่น บางคนอาจจะไม่อยากอาหารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนเช้าก่อนไปทำงาน นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนที่เราควรหมั่นสังเกตไว้

5. ฉุนเฉียวง่าย
ถ้าเราหมดไฟ อารมณ์จะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ดำดิ่งลงไป ถ้าโดยปกติแล้วเราเป็นคนอารมณ์ดี แต่ช่วงนี้รู้สึกว่าตัวเองหงุดหงิดง่ายขึ้นและบ่อยขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าเรากำลังเข้าสู่ภาวะหมดไฟ ซึ่งผลเสียที่ตามมาคือเราอาจมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับรอบตัวได้มากขึ้น ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่ทำงาน

เมื่อรับรู้แล้วว่าเราหมดไฟแน่ๆ ไม่ได้ขี้เกียจแต่อย่างใด แล้วเราควรรับมือกับอาการนี้อย่างไรดี? อย่างแรกเลยคือ ให้หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพราะวิธีนี้ไม่ใช่แค่จะช่วยแก้ไขอาการหมดไฟ แต่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่แรกเลยก็ว่าได้

ดังนั้นให้ลองทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้สุขภาพกายและใจเราดีขึ้น เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ ทานอาหารเพื่อสุขภาพ หรือทำงานอดิเรกที่ชอบกับคนที่รักในวันหยุด เพื่อลดความคับข้องใจจากการทำงาน

นอกจากนี้แล้ว เราก็ควรให้เวลาตัวเองได้หยุดพักบ้าง อย่าทำงานหนักจนกายและใจตัวเองไม่ไหว หาพื้นที่และเวลาให้ตัวเองได้ฟื้นฟูจากความเหน็ดเหนื่อยในแต่ละวันบ้าง โดยอาจจะลองใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ เดินเล่นในสวนสาธารณะ หรือเปิดหน้าต่างเพื่อรับอากาศภายนอกบ้าง สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเครียดเฉียบพลันและเรื้อรังได้

ไม่ว่าเราจะหมดไฟแค่ไหนก็ยังคงต้องทำงาน หมดแรงเท่าไรชีวิตก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป แต่เราควรเดินต่อในเส้นทางที่พอจะสร้างความสุขให้กับเราได้ ดังนั้นเราจึงควรฟื้นฟูจิตใจตัวเองให้เป็นในยามเหนื่อยล้า

หากใครต้องการ “วิธีปฐมพยาบาลหัวใจของตนเอง” มากกว่านี้ เพื่อที่จะได้เดินหน้าต่อด้วยความสดใส เราขอแนะนำให้มารับฟังเคล็ดลับจาก คุณนภาพร ไตรวิทย์วารีกุล (ดีเจพี่อ้อย) นักเขียน นักจัดรายการวิทยุ และรายการโทรทัศน์ “Club Friday” ที่งาน Mission To The Moon Forum 2024 Work-Life Survival Guide คู่มือเอาชีวิตรอดสำหรับคนสู้งาน ใน SESSION 4: ฮีลใจอย่างไรในวันที่หมดไฟ (11.30 – 12.00 น.)

📌สามารถซื้อบัตรได้แล้ววันนี้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Mission-To-The-Moon-Forum-2024


อ้างอิง
– Am I Burnt Out or Just Lazy? : Dr. Dawn Ferrara, Calmerry – https://bit.ly/43AXCVO
– 5 Signs You’re Headed Toward Burnout — And How to Stop It : Henry St Leger, Healthline – https://bit.ly/4aoK3LC

#psychology
#burnout
#laziness
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า