ส่วนเผื่อความผิดพลาด Margin of Errors

890
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com
มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ
  • เมื่อฟังเรื่องราวหรือตัวอย่างของคนที่ประสบความสำเร็จ อย่าเพิ่งเชื่อไปเสียทั้งหมด เพราะยังมีเรื่องของความล้มเหลวหรือปัญหาอื่นๆที่ยังไม่ถูกเล่า อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งอีกมาก
  • เวลาฟังหรืออ่านเรื่องจากคนอื่นมาแล้วจะนำมาปรับใช้ หรือเป็นแรงบันดาลใจ ต้องไม่ลืมเผื่อ Margin of Errors ไว้ด้วย

จริงๆที่เขียนบทความนี้ขึ้นมาเพราะอยากเล่าถึงอีกด้านของเวลาที่เราอ่านหรือฟังเรื่องราว ตัวอย่างของคนหรือแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ

ผมอยากจะบอกว่าอย่าไปเชื่อเขาซะทั้งหมด รวมถึงที่ผมเขียนๆมาไว้ด้วย อย่างน้อยที่สุดก็อย่าเพิ่งเชื่อในตอนแรก

เรื่องที่ไม่ถูกเล่า ใต้ภูเขาน้ำแข็ง

ไม่ได้บอกว่าสิ่งที่ผมหรือคนอื่นเขียนหรือพูดเป็นเรื่องโกหกนะครับ แต่เพราะข้อจำกัดของเวลา บางทีเราเลยต้องฉายภาพเฉพาะด้านที่สรุปเรื่องราวที่เป็นเรื่องดีๆออกไป หรืออาจจะเป็นเพราะความจริงข้อนึงที่ว่าคนเราชอบฟังเรื่องราวแบบที่ประสบความสำเร็จแล้ว หนังสือหรืองานสัมมนาต่างๆก็เลยนำเสนอภาพออกมาแนวนั้นไปซะหมด

Advertisements

ผมเองก็ทำแบบนั้นเหมือนกันครับ ยอมรับ

ทั้งๆที่จริงๆแล้ว มันมีอีกด้านของภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งจะบอกว่าเป็นด้านที่เยอะกว่าด้วยซ้ำ

เวลาผมพรีเซนต์เรื่องการพัฒนาสินค้าตอนไปงานสัมมนาผมพูดถึงสินค้าตัวนึงอาจจะใช้เวลา 3 นาที สไลด์ 3 แผ่นฟังดูชิลๆ ง่ายๆเหมือนไม่มีอะไร แต่เบื้องหลังที่ผมไม่ได้เล่ามันมีเยอะมาก

ยกตัวอย่างสินค้าใหม่ของศรีจันทร์ละกัน อย่าหาว่าขายของเลยนะ

อย่างแป้งอัดแข็งของเรา นี่เอาตอนเริ่มอยากจะไปผลิตที่ญี่ปุ่น ปัญหาก็ถาโถมเข้ามาทันที เริ่มตั้งแต่ตอนทำ R&D ตั้งกำหนดเวลากันไว้ว่า 6 เดือน ทำจริงส่งกันแก้กันไปกันมาทดสอบกันไม่รู้กี่สิบรอบ บินไปประชุมกันจนเบื่อหน้าไปกันข้างหนึ่ง กว่าผลิตภัณฑ์จะเสร็จก็ซัดไปเกือบปีกว่าๆ

แป้งเสร็จแล้วอย่าคิดว่าปัญหาจบ เรื่องเทียบสีก็น่าปวดหัวไม่แพ้กัน เพราะของที่ห้องแล็บกับของที่เป็นโปรดักชันจริงในโรงงานก็ไม่เหมือนกันเป๊ะๆอีก นี่ขนาดโรงงานที่ญี่ปุ่นมาตรฐานระดับโลกก็ยังต้องมีเรื่องให้แก้กันนะครับ

ส่งของมาเมืองไทย อุตสาห์มาเครื่องบิน ประคบประหงมอย่างดี ก็ต้องเจอปัญหาสารพัด ทั้งของแตก ของหาย ติดด่าน เรียกว่าทุกปัญหาที่คิดออกมันต้องเจอครับ

แป้งเสร็จ เรื่องแพคเกจปัญหาหนักกว่าครับ แน่นอนว่าทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นไปตามที่วางแผนครับ

Advertisements

ทุกครั้งที่ประชุมกัน พอถามว่าที่ตกลงว่าของจะเสร็จวันนั้นวันนี้ เป็นไงบ้างไปถึงไหนแล้ว พอได้ฟังคำตอบ เพลงของอะตอมจะลอยขึ้นมาในหัวผมตลอดครับ

“อ้าว เฮ้ย ไม่เหมือนที่คุยกันไว้ที่หว่า”

ตลอดๆๆ

สรุปกว่าจะได้ออกสินค้า ก็ช้ากว่าที่วางแผนไว้เกือบปีครึ่ง

นี่แค่เอาของออกมานะครับ ยังไม่ถึงขั้นตอนว่าจะขายอย่างไร ตอนขายนี่ก็บันเทิงไปอีกแบบเดี๋ยวไว้วันหลังจะมาเล่าให้ฟัง

ผมขอเรียกพวกนี้ว่า Margin of Error ครับ ซึ่งมันมีกับทุกเรื่องครับ

แต่เวลาคุณอ่านหนังสือหรือฟังสัมมนา ไม่ค่อยมีใครพูดถึงเรื่องนี้หรอกครับ ไม่ใช่เพราะเขาโกหกคุณนะครับ แต่เป็นเพราะเวลามันไม่พอครับ และอย่างที่บอก มันไม่ค่อยใช่เรื่องที่คนอยากฟังหรืออ่านสักเท่าไรครับ พูดเรื่องประสบความสำเร็จมันดูแล้วเหมาะกว่า โดยเฉพาะงานสัมมนา ไม่ค่อยมีใครเขาเชิญไปพูดเรื่องความล้มเหลวหรอกครับ

ผมเองก็เป็นครับ ผมเข้าใจประเด็นนี้ดี

เพราะฉะนั้นเวลาฟังหรืออ่านเรื่องจากคนอื่นมา จะเอามาปรับใช้หรือเป็นแรงบันดาลใจเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่อย่าลืมเผื่อ Margin of Errors ไว้เยอะๆด้วยนะครับ

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่