BUSINESSเด็กยุคใหม่ใช้จอเยอะ เสี่ยงสายตาสั้นเร็วขึ้น ปัญหาสุขภาพที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

เด็กยุคใหม่ใช้จอเยอะ เสี่ยงสายตาสั้นเร็วขึ้น ปัญหาสุขภาพที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

รู้สึกเหมือนกันหรือไม่ว่า เด็กยุคใหม่สายตาสั้นกันเยอะขึ้น?

เมื่อไม่นานมานี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า ภายในปี 2030 40% ของประชากรโลกจะมีภาวะสายตาสั้น ซึ่งหากดูจากสถิติเพียงแค่ในสหรัฐฯ พบว่า อัตราประชากรที่มีสายตาสั้นเพิ่มขึ้นจาก 25% ในปี 1971 เป็นเกือบ 42% ในปี 2017

โดยปัญหาสายตาสั้นนั้นส่วนมากเกิดขึ้นใน “เด็ก” อาจกล่าวได้ว่าเด็กมีภาวะสายตาสั้นเร็วขึ้นมาก จึงทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า เพราะอะไรจำนวนเด็กที่มีสายตาสั้นถึงเพิ่มขึ้น แล้วผู้ปกครองควรป้องกันปัญหานี้อย่างไร

คำว่า สายตาสั้น ถ้าให้อธิบายง่ายๆ มันก็คือการที่เรามองเห็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลออกไปไม่ชัด โดยภาวะนี้มักเริ่มเป็นในวัยเด็ก อาการแย่ลงในช่วงวัยรุ่น และจะคงที่ในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้นก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน

ปัจจัยแรกคงหนีไม่พ้น “พันธุกรรม” เพราะมีการศึกษาพบว่าถ้าพ่อแม่สายตาสั้น ลูกก็จะมีโอกาสเกิดภาวะสายตาสั้นตาม

นอกจากปัจจัยทางพันธุกรรมแล้ว ปัญหาสายตาสั้นก็ยังเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ค่อยออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง และชอบใช้เวลาไปกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

Dr. Kimberley Chan นักทัศนมาตรจาก Boston Children’s Hospital กล่าวว่า แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะมีภาวะสายตาสั้นมากขึ้น แต่ปัญหานี้เราในฐานะ “ผู้ปกครอง” สามารถป้องกันได้ โดยการพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลดวงตาให้กับลูกหลานของตนเอง

ซึ่งหากให้อธิบายง่ายๆ ก็เหมือนกับการที่เราสอนลูกหลานให้แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ แค่เปลี่ยนจากการสอนให้ดูแลรักษาฟัน มารักษาดวงตาของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อยด้วย วิธีนี้จะช่วยลดโอกาสที่ลูกหลานจะมีภาวะสายตาสั้นได้

ภาวะสายตาสั้นในเด็กเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยไว้ก็อาจทำให้ค่าสายตาสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังอาจนำไปสู่โรคตาตอนโตได้ เช่น ต้อหิน ต้อกระจก โรคจอตาฉีกขาด และอื่นๆ ดังนั้นถ้าอยากป้องกันปัญหานี้ในระยะยาว ขั้นตอนแรกเราจำเป็นต้องจับสัญญาณให้ได้ก่อนว่า ปัจจุบันบุตรหลานของเรามีภาวะสายตาสั้นอยู่หรือไม่ เพื่อที่เราจะได้หาวิธีป้องกันและชะลอปัญหานี้กันต่อไป

และนี่คือสัญญาณสายตาสั้นที่ผู้ปกครองสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง

1. ตาเบลอ มองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลตัวไม่ค่อยชัด : สัญญาณอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าลูกหลานของเราเริ่มสายตาสั้นแล้วคือการที่เขามาบ่นกับเราว่ามองเห็นอะไรไกลๆ เช่น กระดานในห้องเรียน ไม่ค่อยชัด

2. ถือหนังสือ ของเล่น หรือวัตถุอื่นๆ ให้ใกล้กับใบหน้ามากกว่าปกติ : วิธีที่ง่ายที่สุดในการสังเกตว่าลูกหลานของเราสายตาสั้นหรือไม่ คือการสังเกตดูว่าเด็กๆ นั้นถือของไว้ใกล้ใบหน้าเป็นประจำหรือเปล่า หรือการนั่งใกล้โทรทัศน์มากไป ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเหมือนกันที่บ่งบอกได้ว่าพวกเขาเริ่มมีปัญหาเรื่องการมองเห็น

3. หรี่ตา ขยี้ตา หรือกะพริบตาบ่อย : อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อเด็กๆ ต้องเพ่งการมองเพื่อให้เห็นภาพตรงหน้าชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งนี่ถือเป็นอาการที่ชัดเจนว่าเด็กๆ เริ่มมีภาวะสายตาสั้นแล้ว

4. มีอาการปวดหัวบ่อยครั้ง : อาการที่พบได้ทั่วไปของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นคือ อาการปวดหัว หากเด็กๆ บ่นว่าปวดหัวบ่อยๆ เช่น ปวดหัวมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ผู้ปกครองก็ควรพาเด็กๆ ไปรับการตรวจสายตาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาจากโรงพยาบาลหรือร้านแว่นตาชั้นนำใกล้คุณ

Advertisements
Advertisements

“สายตาสั้น” เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถชะลออาการไม่ให้แย่ลงได้ด้วย 2 วิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้

อย่างแรกคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่เด็กๆ สายตาสั้นกันมากขึ้นนั้นเป็นเพราะไม่ค่อยได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน และทำแต่เพียงกิจกรรมในบ้านเพียงเท่านั้น ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ทำได้ในบ้านนั้นคือการใช้เวลาไปกับโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์

ดังนั้นหากอยากป้องกันหรือชะลออาการ ผู้ปกครองจึงควรช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลูกหลาน เช่น หากใช้ชีวิตอยู่ในบ้านก็ควรให้อยู่ในห้องที่แสงสว่างเพียงพอ หากดูโทรทัศน์ก็ควรให้รักษาระยะห่างระหว่างจอ และที่สำคัญคือควรเพิ่มกิจกรรมกลางแจ้งอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อวันและการลดกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลานาน เพราะได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการรักษาสายตา

อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ใช้เลนส์แว่นตาพิเศษที่ช่วยในการแก้ไขการมองเห็นและช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น เพราะแว่นตาเป็นสิ่งจำเป็นต่อการช่วยให้มองเห็นได้ชัดขึ้น สิ่งสำคัญคือผู้ปกครองจะต้องเลือกกรอบแว่นและเลนส์ที่เหมาะกับวัยและกิจกรรมของเด็กๆ

ข่าวดีคือ EssilorLuxottica ผู้นำด้าน Vision Care นำเสนอโซลูชันที่ช่วยในการชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้นในเด็กได้ด้วยเลนส์ Stellest ที่โดดเด่นด้วยความสามารถในการชะลอภาวะสายตาสั้น ด้วยการสนับสนุนจากการวิจัยทางคลินิกล่าสุด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ไม่มีอันตราย และนิยมใช้มากกว่ายาหยอดตาและคอนแทคเลนส์ ซึ่งมีอัตราการยับยั้งอาการสายตาสั้นให้ช้าลงได้โดยเฉลี่ย 67% หากสวมใส่นานกว่า 12 ชั่วโมง และยังมีผลวิจัยทางคลินิกเป็นเวลา 2 ปีในเด็กสายตาสั้นที่มีอายุ 8 ถึง 13 ปีรองรับอีกด้วย

essilor 1
[ ] รับฟังเรื่องสายตาสั้นในเด็ก รวมถึงวิธีแก้ไขและควบคุมด้วยเลนส์ Stellest จากผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ที่ https://youtu.be/iFXmY5iMvXI

การเลือกเลนส์แว่นตาที่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ ที่มีภาวะสายตาสั้นและสวมแว่นตาอยู่แล้ว ผู้ปกครองควรเลือกใช้เลนส์แว่นตาควบคุมสายตาสั้นมากกว่าเลนส์สายตาสั้นทั่วไป

และนี่คือความแตกต่างระหว่างเลนส์ชั้นเดียวและเลนส์ควบคุมสายตาสั้น

[ ] สายตาสั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยเลนส์ชั้นเดียว (Single Vision Lens) เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ไม่สามารถชะลอกระบวนการของภาวะสายตาสั้นได้
[ ] เลนส์ควบคุมภาวะสายตาสั้นมีประสิทธิภาพอย่างมากในการชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้นและลดการยืดตัวของกระบอกตา (Eye Elongation) ในเด็กที่มีสายตาสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์สายตาสั้นปกติ
[ ] เทคโนโลยีใหม่ที่ชื่อว่า Highly Aspherical Lenslets Target (H.A.L.T.) ถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งสัญญาณจำนวนหนึ่งเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาบนเรตินาของเด็ก สามารถชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้นและการยืดตัวของกระบอกตาในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กสายตาสั้นที่ใช้เลนส์สายตาชั้นเดียว

เนื่องจากการมองเห็นในวัยเด็กจะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีแรกของชีวิต ภาวะสายตาสั้นจึงอาจสั้นสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็วในบางครั้ง เมื่อเด็กมีภาวะสายตาสั้นแล้ว ค่าสายตาปกติจะไม่สามารถกลับคืนมาได้ จะเป็นไปได้เพียงแค่ค่าสายตาคงตัวหรือไม่ก็สั้นได้สูงขึ้นอีก

ดังนั้น การรักษาภาวะสายตาสั้นตั้งแต่เนิ่นๆ ในวัยเด็กจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะยิ่งตรวจพบได้เร็วเท่าไร ก็จะสามารถควบคุมภาวะนี้ได้ดีขึ้นเท่านั้น เด็กๆ ควรได้รับการตรวจคัดกรองการมองเห็นตั้งแต่อายุยังน้อย รวมถึงผู้ปกครองก็ควรหาวิธีป้องกันไม่ให้เด็กสายตาสั้นลงด้วย อย่างเช่น การใช้เลนส์ Stellest เพื่อชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้นในเด็ก

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ Stellest ได้ที่เว็บไซต์ https://bit.ly/essilorstellest หรือ ปรึกษาการตรวจวัดค่าสายตาให้แก่บุตรหลานได้ที่ร้านแว่นตาชั้นนำ Essilor Expert และ Essilor Partner ได้แล้ววันนี้

Mission To The Moon X Essilor Stellest

อ้างอิง
– The story behind soaring myopia among kids : Manoush Zomorodi, Katie Monteleone, Sanaz Meshkinpour, Rachel Faulkner White, NPR – https://bit.ly/487Huwn
– Help your child prevent myopia with two simple steps : Albert McKeon, Boston Children’s Hospital – https://bit.ly/48wsuIt

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า