เริ่มธุรกิจไม่ยาก แต่รักษาไว้ไม่ง่าย

2302
[Mission to the Moon x HP]
หนึ่งในคำถามที่หลายคนมักจะปรึกษาทีม Mission to the Moon ก็คือ “จะรักษาธุรกิจไว้ยังไงดี” วันนี้เลยอยากจะหยิบประเด็นนี้มาชวนคุยกัน

เวลาที่พูดถึงเรื่องนี้ เรามักจะได้ยินตัวเลขจากแบบสำรวจจาก U.S. Small Business Administration ที่ว่า “50% ของธุรกิจที่ตั้งขึ้นใหม่ จะล้มเหลวภายในปีแรก และ 95% ของธุรกิจใหม่จะล้มเหลวภายในห้าปี” 

ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่า การรักษาธุรกิจนั้นทำได้ยากกว่าการเริ่มต้นมากๆ รวมถึงหลายๆ คนก็ไม่รู้ว่า เมื่อบริษัทประสบความสำเร็จแล้ว จะรักษาความสำเร็จนั้นไว้ได้อย่างไร 

Advertisements

นอกจากนี้ยังมีบางธุรกิจที่เติบโตมานาน ขยายกิจการใหญ่โต ประสบความสำเร็จมากมาย หรืออยู่ในสเตจที่มั่นคงแล้ว ก็อาจจะเริ่มนิ่งนอนใจกับความสำเร็จ จนไม่ได้มองหาวิธีหรือกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อการอยู่รอดในตลาด

และยังมีกรณีของบางธุรกิจที่ถูก disrupt เพราะไม่ได้เตรียมตัวรับมือไว้ จนทำให้อาจจะสู้เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือธุรกิจเล็กๆ ที่เกิดมาพร้อมไอเดียบางอย่างที่คาดไม่ถึง จนถึงขั้นเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเก่าเราไปเลยก็ได้นะครับ (ซึ่งเคสนี้มีให้เห็นเยอะมาก ตัวอย่างคลาสสิกที่เราพูดถึงกันบ่อยๆ ก็เช่น Netflix กับ Blockbuster)

วันนี้เลยอยากมาชวนคุยเรื่องการรักษาธุรกิจให้อยู่รอดว่าจะต้องมีแนวคิดอะไรบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วมีวิธีอื่นๆ นอกเหนือจากที่จะคุยกันในวันนี้อีกมากมาย และไม่สามารถระบุได้ว่าแบบไหนที่ถูกต้องที่สุด เลยจะขอหยิบ 5 ข้อ ที่เห็นว่าน่าสนใจมาเล่าให้ฟัง

1. สร้าง engagement ให้ทีมงาน

เรื่องของทีมงานเป็นเรื่องที่เราคุยกันบ่อยมาก นั่นก็เพราะเรื่องทีมงานนั้นอยู่ในทุกมิติของการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นตั้งธุรกิจ ไปจนถึงขั้นขยับขยาย นั่นก็เพราะทีมงานถือเป็นหนึ่งในพาร์ทหลักที่ทำให้ธุรกิจเดินต่อไปข้างหน้าได้ 

และถ้าหากว่าทีมงานมี engagement กับงานสูง คือมีความสุขกับการทำงาน หรือ “อิน” ไปกับงาน ก็จะทำให้ผลงานดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งก็ส่งผลต่อยอดขายหรือการเติบโตของบริษัทไม่โดยตรงก็โดยอ้อม

ซึ่งวิธีที่ทำให้พนักงานมี engagement กับงานมากขึ้น ส่วนมากก็จะทำโดยการ ให้ incentive ที่เหมาะสม ให้อำนาจการตัดสินใจ ใช่ไหมครับ แต่อีกข้อที่ผมคิดว่าสำคัญมากๆ คือการทำให้ทีมงานทุกคนเห็นว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ จะส่งผลต่อเป้าหมายใหญ่ขององค์กรได้อย่างไร

2. รักษาลูกค้าเก่า มองหาลูกค้าใหม่

แน่นอนว่า ถ้าไม่มีลูกค้า ธุรกิจก็ไม่มีรายได้

การรักษาลูกค้าเก่าไว้สามารถทำได้ง่ายและใช้ต้นทุนน้อยกว่าการหาลูกค้าใหม่ๆ แน่นอน มีการประมาณว่า จากงบทั้งหมดที่เราใช้กับลูกค้า 100% เราจะใช้เงินในการดูแลลูกค้าเก่าเพียงแค่ 2% แต่ได้ลูกค้ากลับมาซื้อของเราถึง 48% ดังนั้นเราจึงต้องให้ความสำคัญกับการรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ไว้ให้ดี เช่น การติดตามหลังการขาย การมีส่วนลดให้กับลูกค้าประจำ การสร้างประสบการณ์ที่ exclusive สำหรับเขา

แต่ทั้งนี้ บริษัทที่อยู่มานานก็ต้องอย่าชะล่าใจ คิดว่าขายดีกับลูกค้ากลุ่มเดิมนี้ก็ดีอยู่แล้ว จนไม่มองหาลูกค้าใหม่ไว้เลยนะครับ เพราะต้องคิดไว้เสมอว่าไม่มีอะไรแน่นอน ลูกค้าที่ซื้อเราในวันนี้อาจจะเปลี่ยนใจไปซื้อคนอื่นเมื่อไรก็ได้ ดังนั้นต้องคอยมองโอกาสในการหาลูกค้าใหม่ๆ เสมอ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่อายุ เพศ อาชีพ ต่างจากลูกค้าเดิม หรืออาจจะเป็นลูกค้าใหม่ในตลาดใหม่ เช่นในต่างจังหวัดหรือต่างประเทศก็ได้

3. วางแผนล่วงหน้า

ล่าสุดเมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว ผู้บริหารท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ในเวลาที่สถานการณ์ของบริษัทดีที่สุด สิ่งที่ควรคิดมากที่สุดคือวางแผนเตรียมพร้อมสำหรับ “worst case scanario” เพราะอย่างที่บอก ไม่มีอะไรแน่นอน ถ้าหากเรามีการวางแผนไว้ก่อน เวลาที่เหตุการณ์เลวร้ายมันเกิดขึ้นจริงๆ อย่างเช่นเกิดวิกฤต เราจะได้ไม่แพนิค เพราะเราได้มีการเตรียมแผนรองรับไว้แล้ว เช่น ถ้าหากลูกค้าหรือยอดขายหายไป จะต้องควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนไหนบ้าง

ตรงนี้มีข้อดีอีกอย่างคือ พอเราวางแผนไว้ล่วงหน้า พอถึงเวลาเราจะสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วขึ้น แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องระลึกไว้ว่าแผนที่วางไว้จะต้องมีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ด้วย

Advertisements

4. สร้างจุดขาย รักษาจุดแข็ง

ถ้าหากบริษัทของเรายังไม่มีจุดขาย ก็ต้องรีบสร้างมันขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ feature, ประสบการณ์ในการใช้ หรือแม้แต่ story ที่แตกต่างก็ตาม 

เราจึงมักจะเห็นสินค้าของบางแบรนด์ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับที่เจ้าอื่นๆ มี แต่เขากลับขายดีมากกว่าคนอื่นหลายเท่า นั่นก็เพราะเขามีจุดขายที่แตกต่าง และใช้มันให้เป็นประโยชน์นั่นเองครับ

โดยจุดขายนี้ ถ้าเราสร้างไว้ดีๆ เราก็จะสามารถพัฒนาให้กลายเป็นจุดแข็งได้ ซึ่งก็ต้องมาดูกันอีกว่า จุดขายของเราดีกว่าของคู่แข่งไหม ถ้าดีกว่า แล้วจุดแข็งของเราง่ายหรือยากต่อการถูกเอาชนะ เพราะถ้าเมื่อไรก็ตามที่คู่แข่งสามารถทำจุดขายของเราได้ดีกว่าเรา ก็เท่ากับว่าเราตกเป็นรองในการแข่งขัน ดังนั้นเราก็ต้องรักษาเอาไว้ให้ดี 

และที่สำคัญคือต้องดูว่าเทรนด์ในปัจจุบัน ลูกค้าให้คุณค่าหรือกำลังมองหาอะไรอยู่ เพราะถ้าจุดแข็งที่เราเคยมี มันไม่ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการอีกต่อไปแล้ว เมื่อนั้นแหละครับที่เราอยู่ในจุดเสี่ยงที่ธุรกิจจะไปต่อไม่ได้

5. ไม่กลัวที่จะเปลี่ยน

คำว่าไม่กลัวที่จะเปลี่ยนในที่นี้ ผมหมายถึงการไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ รูปแบบการทำงานแบบเดิมๆ เพราะจากที่เห็น แบรนด์ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จและยังอยู่มายาวนานถึงทุกวันนี้ก็เพราะเขากล้าที่จะปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา กล้าที่จะหาวิธีการใหม่ๆ ในการหาลูกค้าเจ้าอื่นๆ กล้าตัดบางขั้นตอนที่ไม่ทำให้เกิดกำไร กล้าเปลี่ยนช่องทางการขาย กล้าเปลี่ยนของบางอย่างที่มีต้นทุนราคาสูง 

หรือแม้แต่ของบางอย่างในบริษัทที่พอจะปรับเปลี่ยนได้ ตัดได้ก็ควรรีบทำเสียก่อน เพื่อให้ธุรกิจยัง Lean มากที่สุด ลด Cost มากที่สุด เช่น ตัดสินค้าบางตัวออก หรือเลิกผลิตเองไปจ้าง OEM จากเจ้าอื่น เพื่อลดต้นทุน 

หรือแม้แต่อุปกรณ์ในสำนักงานบางอย่างก็ไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อใหม่ อาจจะเลือกใช้เป็นวิธี Subscribe แทน 

ซึ่งทางด้าน HP สปอนเซอร์ของเราก็ได้ออกโซลูชัน HP Subscription หรือ โปรแกรมเช่าซื้อ – เช่าใช้อุปกรณ์ IT รายเดือน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SME-Startup ที่มีให้เลือกตั้งแต่ Laptop / Printer ตลอดจน แพกเกจ Software ซึ่งเมื่อครบสัญญาแล้วเราเปลี่ยนเครื่องใหม่ได้โดยจ่ายเพิ่มจากเดิมเล็กน้อย  เพื่อให้ได้อุปกรณ์รุ่นใหม่ ทันสมัยขึ้นมาใช้อยู่ตลอด

ไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดการกับอุปกรณ์เก่าที่ใช้การไม่ได้หรือตกรุ่นแล้ว  พร้อมกับบริการ On-site Service เหมือนมีฝ่าย IT ส่วนตัวดูแลถึงที่ตลอดสัญญา  ในราคาเริ่มต้นเพียง 776 บาท/เดือน* 

อย่างที่กล่าวไปในตอนแรกนะครับว่า 50% ของธุรกิจจะล้มเหลวภายในปีแรก และ 95% ของธุรกิจจะล้มเหลวภายในห้าปี

หวังว่าใครก็ตามที่ฟังอยู่จะลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณเพื่อให้คุณเป็น 5% ที่เหลือ และถ้าหากใครที่ตอนนี้เป็น 5% ที่ยืนหยัดมาได้จนถึงตอนนี้ ก็ต้องขอนับถือและขอให้คุณรักษาธุรกิจแบบนี้ไว้ให้ดีต่อไปเรื่อยๆ

ใครที่มีวิธีอื่นๆ ที่จะช่วยรักษาธุรกิจของเราให้ไปต่อได้ก็สามารถคอมเมนต์เข้ามาแนะนำกันได้

และสำหรับใครที่สนใจ solution ดีๆ จาก HP สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของ HP Subscription ได้ที่ https://bit.ly/2Y6IgrW หรือ โทร. 02-021-5559

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่