ชวนรู้จักพฤติกรรมการทำงานที่บ้านแบบ Asynchronous

927
ทำงานที่บ้านในยุค covid-19

การทำงานที่บ้านส่งผลต่อพฤติกรรมเราอย่างไร?

 
การระบาดของ Covid-19 ได้กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งเป็นรอบที่ 3 ส่งผลให้บริษัทหลายที่เริ่มกลับมาใช้มาตรการควบคุมโรคให้พนักงานทำงานที่บ้าน ซึ่งครั้งนี้ก็ไม่รู้ว่าเราจะต้องใช้เวลากักตัวอีกนานแค่ไหน
 
วันนี้เราเลยอยากจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับพฤติกรรมการทำงานแบบ “Asynchronous” ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ไม่ได้เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ แต่เป็นการสื่อสารที่คุณเองเป็นผู้กำหนดเวลาสำหรับการโต้ตอบกับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้า อย่างเช่น หากคุณต้องติดต่อกับลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศที่มีไทม์โซนคนละเวลากัน แน่นอนอยู่แล้วว่าเราจำเป็นต้องตามเวลาช่วงเช้า ซึ่งเราไม่สามารถที่จะตอบลูกค้าแบบทันทีได้
 
ดังนั้น การสื่อสารแบบ Asynchronous จึงเป็นขั้วตรงข้ามของ Synchronous ที่เป็นการสื่อสารแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราพบปะเจอผู้คนหรือเกิดขึ้นเมื่อเราต้องการทำงานร่วมกับผู้อื่น
 
แต่หลังจากการระบาดของ Covid-19 การสื่อสารแบบ Asynchronous กลายเป็นเรื่องที่ปกติมากขึ้นเพราะเราต่างต้องแยกย้ายไปทำงานต่างสถานที่ ต่างเวลากัน ทำให้เราสามารถควบคุมและจัดการเวลาการทำงานของตัวเองได้มากขึ้น มีอิสระในการเลือกเวลาทำงานที่เหมาะสมกับตัวเอง
 
แต่บริษัทหลายที่ก็ยังคงคาดหวังให้พนักงานของตนนั่งทำงานตั้งแต่เวลาเริ่ม จนหมดเวลางานหรือบางครั้งทางบริษัทก็อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมการสื่อสารแบบ Synchronous โดยจัดกิจกรรมอย่างการประชุมแบบออนไลน์ผ่าน Zoom เพื่อให้ทุกคนได้มาพูดคุยกันในทุกเช้านั่นเอง

ไม่ใช่ทุกคนที่จะเหมาะกับการทำงานแบบนี้

ซึ่งข้อดีของการทำงานแบบ Asynchronous อาจจะเหมาะสำหรับบางคนและไม่เหมาะสำหรับงานบางสาย เพราะเราสามารถกำหนดเวลาการทำงานได้ เราสามารถจัดการบริหารเวลาการทำงานของเราได้เอง หรือเราสามารถกำหนดเวลาในการส่งอีเมลตอบลูกค้าได้ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถโฟกัสกับงานที่ทำอยู่ได้ งานที่เหมาะกับ Asynchronous ก็จะเป็นพวก นักเขียน, ศิลปิน เป็นต้น เพราะเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งงานพวกนี้แต่ละคนจะมีช่วงเวลาที่ดีที่สุดแตกต่างกันไป
 
หรือบางบริษัทก็บอกว่าการทำงานแบบ Asynchronous ทำให้บริษัทจำเป็นต้องส่งเอกสารข้อมูลบริษัทให้กับผู้ร่วมประชุมก่อน ก็ถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้พนักงานสามารถรับรู้ข้อมูลและทำความเข้าใจเพื่อเตรียมการประชุมก่อนได้
 
แต่ข้อเสียของ Asynchronous คือ ทำให้เส้นแบ่งระหว่างการทำงานและกิจวัตรประจำวันที่ไม่ชัดเจนซึ่งมันง่ายมากที่จะทำให้เราทำงานไม่เป็นเวลา และงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องทำเป็นทีมก็ถือว่าเป็นเรื่องยากอยู่พอสมควร เพราะประสิทธิของงานอาจจะออกมาไม่เท่ากับการได้ระดมความคิดตอนอยู่ด้วยกัน บางครั้งอาจเกิดผลกระทบกับผู้ร่วมงานคนอื่นที่ต้องสอบถามเรื่องงาน แถมยังทำให้คุณรู้สึกเหมือนตัดขาดจากเพื่อนร่วมงานอีกด้วย

และองค์กรในยุคนี้ต้องปรับการทำงานให้เป็นแบบไหน?

ถึงแม้ว่าการทำงานระยะไกลจะเอื้ออำนวยให้เราทำงานแบบ Asynchronous มากขึ้น แต่พนักงานก็ไม่ควรทำงานแบบ Asynchronous มากจนเกินไป เพราะทีมงานก็ยังคงจำเป็นต้องการทำงานแบบ Synchronous ที่ต้องสื่อสารแบบเรียลไทม์อยู่เพื่อรักษาคุณภาพของงานและให้งานเป็นไปตามเวลาที่กำหนด
 
ลองคิดดูว่าถ้าเพื่อนร่วมงานต้องการที่จะพูดคุยกับเรา แต่เรากลับตอบเขาช้าก็จะส่งผลให้กระบวนการทำงานล่าช้าไปด้วย และถ้าจะให้ดีที่สุดต้องทำควบคู่กับการสื่อสารแบบ Asynchronous ให้เป็นช่วงเวลาสำหรับการคิดวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล และติดตามความคืบหน้าของงานด้วย
 
แล้วคุณล่ะ ชอบการทำงาน Synchronous หรือ Asynchronous แบบไหนมากกว่ากัน?
 
 
แปลและเรียบเรียง: https://bbc.in/3wGDVv2
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวและเนื้อหาน่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ https://missiontothemoon.co/online-content/

Advertisements
Advertisements