PSYCHOLOGYworklifeสำรวจตัวเองกับ Self-Serving Bias อคติที่ทำให้ใครๆ ก็ไม่อยากทำงานด้วย

สำรวจตัวเองกับ Self-Serving Bias อคติที่ทำให้ใครๆ ก็ไม่อยากทำงานด้วย

ถ้าหากลองตั้งคำถาม 1 ข้อว่า “คนแบบไหนที่เราไม่อยากทำงานด้วยที่สุด” คำตอบของหลายๆ คนคงมีความแตกต่างกันมาก แต่เชื่อว่าหนึ่งในนั้นต้องมีคนประเภทที่ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ชอบเบลมหรือโทษคนอื่นในเรื่องที่ผิดพลาด แต่กลับยกความดีความชอบให้เป็นผลงานของตัวเอง

นิสัยโดยรวมแบบนี้เรามักจะเรียกกันว่า “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วเข้าคนอื่น” ซึ่งแน่นอนว่าสร้างทั้งความน่ารำคาญและทำให้คนรอบข้างไม่อยากที่จะทำงานด้วย ซึ่งมีหลักการทางจิตวิทยาที่อธิบายนิสัยเหล่านี้เอาไว้ว่ามาจากอคติที่มาจากการเข้าข้างตัวเองมากจนเกินไปหรือที่เรียกว่า “Self-Serving Bias”

พื้นฐานของคนที่มีอคติแบบ “Self-Serving Bias” หรือเป็นคนประเภท “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วเข้าคนอื่น” นั้นมักจะเป็นคนที่มีความพยายามในการหาต้นตอของปัญหาด้วยการชี้นิ้วไปที่ปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่ไม่เป็นใจ หรือเพื่อนร่วมงานที่คนเหล่านั้นมักจะคิดว่าไม่เก่งพอ จนมองข้ามความผิดพลาดของตัวเองไป ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายมาก เพราะบางครั้งความผิดพลาดของคนเหล่านี้เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุด จนทำให้การทำงานล้มเหลวไม่เป็นท่า

แล้วเรากำลังเป็นคนแบบนั้นอยู่หรือไม่? เรากำลังทำให้คนอื่นไม่พอใจและไม่สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นเพราะตัวเราอยู่หรือเปล่า?

สำรวจตัวเองกับสัญญาณที่บ่งบอกว่าเรากำลังมี “Self-Serving Bias”

สัญญาณสำคัญของการมี “Self-Serving Bias” นั้นธรรมดามาก เพียงแค่เรารู้สึกว่าตัวเองเริ่มขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานบ่อยครั้งขึ้น มีการโทษเพื่อนร่วมงานบ่อยในเรื่องที่ผิดพลาดจนทำให้ความสัมพันธ์เสีย นั่นแปลว่าเราอาจจะกำลังถูกอคติประเภทนี้ครอบงำอยู่

แต่ถ้าหากเรายังไม่แน่ใจว่าเราเข้าข่ายคนประเภทที่มี “Self-Serving Bias” อยู่หรือไม่นั้น ให้ลองสำรวจตัวเองผ่านคำถามเหล่านี้ แล้วทบทวนว่าเรากำลังมีอคติคิดเข้าข้างตัวเองอยู่หรือไม่

[ ] เชื่อว่าที่หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานไม่ให้ผลตอบรับเชิงบวกใดๆ กับเรา เป็นเพราะพวกเขากำลังต่อต้านเราอยู่
[ ] รู้สึกว่าต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้เราไม่ประสบความสำเร็จเรื่องงานเป็นเพราะโอกาสในการนำเสนอตัวเองน้อยกว่าเพื่อนร่วมงาน
[ ] เพื่อนร่วมงานของเราไม่ได้เก่งจริง แต่มักจะใช้ประโยชน์จากความลำเอียงของหัวหน้า
[ ] รู้สึกว่าตัวเองทำงานหนักกว่าคนอื่นๆ โดยการประสบความสำเร็จทั้งหมดเป็นเพราะตัวเราเอง ไม่เกี่ยวกับคนอื่น
[ ] คนที่พยายามแสดงความคิดเห็นด้านลบเกี่ยวกับงานของเรา เป็นเพราะพวกเขาอิจฉา

ถ้าหากเราตอบว่า “ใช่” เกิน 3 ข้อ นี่คงเป็นสัญญาณว่าเรากำลังมี “Self-Serving Bias” และต้องรีบทำความเข้าใจกับนิสัยเหล่านี้ของตัวเอง เพื่อที่จะได้ลดอคติเหล่านี้ลง เพื่อให้เราสามารถทำงานกับผู้อื่นได้มากขึ้น

เริ่มลด “Self-Serving Bias” อย่างเข้าใจ เพราะอะไรเราจึงมักจะโทษคนอื่น?

ทำไมคนบางคนถึงเลือกที่จะกล่าวโทษคนอื่น แทนที่จะหันมามองตัวเองและยอมรับว่าตัวเองผิด ? เหตุผลแรกก็คือ “การกล่าวโทษคนอื่นเป็นเรื่องง่ายมากกว่าการโทษตัวเอง” เมื่อคนเริ่มมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น การโทษคนอื่นเป็นสิ่งที่ทำให้คนคนนั้นทำงานน้อยลง เพราะนั่นหมายความว่าเราได้ชี้ไปแล้วว่าต้นเหตุของปัญหาคือใครและเราก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบปัญหาเหล่านั้น นั่นจึงทำให้คนที่มี “Self-Serving Bias” มักจะเป็นคนที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากร่วมงานด้วย

เหตุผลที่ 2 คือ “การโทษคนอื่นทำให้เรารู้สึกถึงการเป็นฝ่ายควบคุม” คนที่มี “Self-Serving Bias” จะชื่นชอบความรู้สึกในการควบคุมสถานการณ์ให้เป็นไปในแบบที่ตัวเองตั้งใจไว้ เมื่อสถานการณ์ไม่เป็นดั่งใจ คนกลุ่มนี้จึงมักจะ “กล่าวโทษและตำหนิคนอื่น” เพื่อให้ตัวเองรู้สึกถึงความสามารถในการควบคุมของตัวเอง

เหตุผลที่ 3 คือ “การโทษคนอื่นเป็นการระบายความกดดันของตัวเอง” ซึ่งคนที่มี “Self-Serving Bias” บางประเภทมีแนวโน้มที่จะไม่ค่อยแสดงอารมณ์ออกมาในเวลาปกติ แต่กลับเป็นคนที่มักจะโทษคนอื่นเมื่อตัวเองรู้สึกกดดัน ซึ่งพฤติกรรมนี้คือการระบายความเจ็บปวดทางอารมณ์ที่คนเหล่านี้กำลังพบเจอเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีจากการกล่าวโทษเหล่านั้น

และเหตุผลสุดท้ายคือ “คนที่ชอบโทษคนอื่นมักเป็นคนที่มีอัตตา (Ego) สูง” การใช้คำกล่าวโทษคนอื่นจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยปกป้องอัตตาของพวกเขาได้  การที่เราได้โทษใครสักคนนั้นเป็นพฤติกรรมที่นำมาซึ่งความรู้สึกในการยืนอยู่ในจุดที่เหนือกว่าและยืนอยู่ตรงข้ามกับจุดที่ตัวเองคิดว่า “ไม่ดี”

แต่ไม่ว่าจะมาจากเหตุผลใดก็ตาม การมีพฤติกรรมโทษคนอื่นแล้วเอาดีเข้าตัวนั้น เป็นพฤติกรรมที่ทำให้การทำงานของทีมและบริษัทแย่ลงได้มากกว่าที่เราคิด เพราะนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาภายในทีมแล้ว การมี Self-Serving Bias อาจนำไปสู่การวางแผนที่ผิดพลาด การบริการลูกค้าที่ช้า หากสินค้ามีข้อบกพร่อง ทีมที่มี Self-Serving Bias ก็มักจะโทษปัจจัยภายนอกอย่างสภาวะตลาด คู่แข่ง หรือแม้แต่การตลาด ทั้งที่ความจริงแล้วตัวสินค้านั้นอาจจะมีข้อบกพร่องอยู่นั่นเอง

Advertisements
Advertisements

เปลี่ยนตัวเองให้เลิกโทษคนอื่น ด้วยการลด “Self-Serving Bias”

เมื่อเรารู้แล้วว่าเราเป็นคนที่มี “Self-Serving Bias” มีอคติในการมองเห็นตัวเองในด้านบวกแล้วผลักความผิดไปให้คนอื่น นั่นก็ถือว่าเป็นก้าวแรกที่เราจะเริ่มลดอคติที่อยู่ภายในใจตัวเองได้

ส่วนก้าวต่อไปก็คือการเริ่มเปลี่ยนความคิดด้านลบที่อยู่ภายในจิตใจและก่อให้เกิดการโทษคนอื่น อย่างเช่น การโยนความผิดหรือการมองว่าคนอื่นไม่เก่งเท่าเรา ให้สังเกตความคิดที่เกิดกับตัวเองให้มากขึ้นแล้วพยายามสร้างความคิดในด้านบวกอย่างการเห็นอกเห็นใจคนอื่นเข้ามาแทนที่ เมื่อเราเริ่มเห็นใจคนอื่น เราจะกลายเป็นคนที่รู้จักถามความคิดเห็นของคนอื่นมากกว่าการตำหนิ เมื่อเกิดปัญหาเราจะมองหาสาเหตุต้นตอของปัญหาที่แท้จริงมากกว่าการมองหาคนผิด และเลิกเป็นคนที่ชอบกล่าวโทษคนอื่นได้

นอกจากนี้การเพิ่มความรู้สึกในการรับผิดชอบ แทนที่จะเป็นความกดดันก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เราลดการโทษคนอื่นได้ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าบางครั้งการโทษคนอื่นก็มาจากความรู้สึกกดดันที่อยู่ภายในจิตใจ และต้องการที่จะโยนมันทิ้งไปให้พ้นจากตัวเอง แต่ถ้าเราเป็นจากการโยนความกดดันทิ้งไปให้คนอื่นรับแทน มาเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน

ประโยคที่จะสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีความรู้สึกในการรับผิดชอบมากขึ้นคือการมองสถานการณ์ที่เกิดตรงหน้าแล้วถามตัวเองว่า “เรามีบทบาทอะไรในการทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้น?” และ “เราจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นได้อย่างไร?” เมื่อเราถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองบ่อยๆ เราก็จะสามารถลดการโทษคนอื่นและเปลี่ยนตัวเองให้มีความรับผิดชอบได้มากขึ้น

สุดท้ายคือการเผชิญหน้ากับปัญหาให้บ่อย พยายามลงไปแก้ปัญหาด้วยตัวเองเพื่อให้รู้จักวิธีหรือเทคนิคในการแก้ไขปัญหาหลายๆ แบบ เมื่อเรามีคลังเทคนิคการแก้ปัญหาอยู่ในสมองแล้ว การโทษคนอื่นจะกลายเป็นทางเลือกสุดท้ายที่เราแทบจะไม่ใช้มันในการแก้ปัญหาเลย

แม้ว่าการใจดีกับตัวเองนั้นจะเป็นเรื่องที่คนทุกคนต้องพยายามใส่ใจให้มากขึ้นในสังคมการทำงานที่แสนเคร่งเครียด แต่ก็อย่าลืมว่าการใจดีกับผู้อื่นและรับฟังข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติแบบ “Self-Serving Bias” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องใส่ใจให้มากขึ้น พยายามรู้เท่าทันตัวเอง สังเกตอาการของคนรอบข้าง เอาใจเขามาใส่ใจเรา เลือกที่จะแก้ไขปัญหา ไม่ใช่หาคนผิด เพื่อให้สังคมการทำงานของเราดีขึ้นและไม่กลายเป็นสังคมแห่งการเล่นเกมโทษกันไปมาหรือ “Blame Game” สุดท้ายถ้าเราดึงอคติเข้าข้างตัวเองนี้ออกจากตัวของเราได้ เราก็จะกลายเป็นคนคนหนึ่ง ที่ทุกคนอยากทำงานด้วยอย่างแน่นอน

อ้างอิง
– What Is Self-Serving Bias in Psychology? : Christopher Bergland , Verywell Health – https://bit.ly/3NFut57 
– Why We Put the Blame On Others – and the Real Cost We Pay : Andrea M. Darcy, Harley Therapy – https://bit.ly/3Ty8noU 
– Do You Have a Victim Mindset? How to Stop Blaming Others and Empower Yourself : Amen Clinics – https://bit.ly/486jCJO

#worklife
#selfservingbias
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า