PSYCHOLOGYผู้เชี่ยวชาญเผยความกังวล แนวโน้มฆ่าตัวตายในไทย สูงที่สุดในรอบ 17 ปี

ผู้เชี่ยวชาญเผยความกังวล แนวโน้มฆ่าตัวตายในไทย สูงที่สุดในรอบ 17 ปี

ผ่านไปอีกหนึ่งครั้งกับการรณรงค์ ‘วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก’ ที่เกิดขึ้นทุก 10 กันยายนของทุกปี ทว่าดูเหมือนการรณรงค์อย่างเดียวจะยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันการทำอัตวินิบาตกรรมได้อย่างแท้จริง ในทางกลับกันด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจกลับยิ่งกระตุ้นให้มีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ร่วมกับศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติเผยอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นจากปี 2020 อยู่ที่อัตรา 7.35 ต่อประชากร 100,000 คน แต่ปี 2023 ที่ผ่านมาพุ่งขึ้นถึง 7.38 ต่อประชากร 100,000 คน

“เป็นอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงที่สุดในรอบ 17 ปี” แพทย์หญิงอัมพรกล่าว แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยสาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากหลายบริบทที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และอื่นๆ อีกมากมาย

สถานการณ์การเพิ่มขึ้นของอัตราการฆ่าตัวตายไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเองก็กำลังประสบกับปัญหาเดียวกัน โดยพบว่าอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจากปี 2021 ถึง 5% และเพิ่มขึ้นอีก 2% ในปี 2022

จากการเก็บข้อมูลของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (the U.S. Centers for Disease Control and Prevention) ผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้กระทำอัตวินิบาตกรรมสำเร็จถึง 48,183 คนในปี 2021 และเพิ่มขึ้นเป็น 49,449 คนในปี 2022

“การฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าหนักใจจำเป็นต้องมีการดำเนินการในสังคมอย่างทั่วถึง เพื่อป้องการการสูญเสียชีวิตจากโศกนาฏกรรมที่สามารถป้องกันได้” ดร.เดบรา ฮูรี (Debra Houry) ประธานการแพทย์ของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกากล่าว

ด้วยเหตุนี้ทั้งไทยและต่างประเทศต่างพยายามหาทางป้องกันการฆ่าตัวตายอย่างแข็งขัน สำหรับประเทศไทยได้มีการตั้งหน่วยดูแลสายด่วนสำหรับให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายโดยเฉพาะ ซึ่งภายใน 11 เดือนมีผู้โทรมาปรึกษาถึง 1,554 คน หรือคิดเป็น 141 คนต่อเดือน

ผลลัพธ์ของการดำเนินการจัดตั้งสายด่วนพบว่า ผู้ที่โทรเข้ามาปรึกษา 74% เปลี่ยนความคิดที่อยากฆ่าตัวตายและมีความคิดที่อยากจะใช้ชีวิตต่อ พิสูจน์ให้เห็นว่าความจริงแล้วการฆ่าตัวตายสามารถป้องกันได้

นอกจากสายด่วนผ่านโทรศัพท์แล้วยังมีการสนับสนุนการให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถืออย่างแอปพลิเคชัน KhuiKun (คุยกัน) และ Sati (สติ) รวมถึงยังมีการดำเนินการให้ความรู้และลดการตีตราผู้ป่วยจิตเวชและผู้มีแนวโน้มฆ่าตัวตายผ่านสื่อออนไลน์บนโซเชียลมีเดียอีกด้วย

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันได้และภาครัฐก็กำลังเร่งดำเนินการกับปัญหานี้อย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามการปรบมือข้างเดียวอาจจะดังไม่เท่าการร่วมมือกัน เพื่อให้การป้องกันการฆ่าตัวตายดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปก็ควรยื่นมือเข้ามาช่วยด้วยเช่นกัน

แล้วเราสามารถทำอะไรเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายได้บ้าง? ในฐานะบุคคลทั่วไป เราสามารถช่วยเหลือคนที่เราให้ความสำคัญได้หลายวิธี

1.เรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อหยุดการตีตรา

ศึกษาและทำความเข้าใจธรรมชาติของผู้มีสภาวะหรือผู้ป่วยจิตเวช และเลิกส่งต่อข้อมูลที่ผิดพลาดหรือบิดเบือนความเป็นจริง เพื่อลดการถูกตีตราจนทำให้เขาไม่กล้าขอความช่วยเหลือ

2.หมั่นสังเกตสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ

เพราะการฆ่าตัวตายไม่ใช่การคิดสั้นแต่ผ่านการคิดและสะสมมาระยะหนึ่งแล้ว ระหว่างทางนั้นเขามักจะส่งสัญญาณเล็กๆ ที่หากเราไม่ทันสังเกตก็อาจจะปล่อยโอกาสช่วยเหลือเขาหลุดลอยไปเลยก็ได้

Advertisements

3.อย่ากลัวที่จะเป็นฝ่ายเอ่ยถาม

หลายคนมักไม่กล้าที่จะถามว่าอีกฝ่ายมีความคิดอยากตายหรือไม่ อาจจะเพราะไม่รู้จะรับมืออย่างไรหรือเพราะกลัวว่าจะไปเปิดแผลของเขา แต่งานวิจัยพบกว่าการเอ่ยปากถามก่อนช่วยลดโอกาสในการฆ่าตัวตายลงได้

4.เฝ้าระวังให้เขาอยู่ในที่ปลอดภัย

หากคนที่เรารักมีสัญญาณหรือเคยกระทำอัตวินิบาตกรรมมาแล้ว เป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเฝ้าระวังสิ่งของต่างๆ รอบตัวที่อาจเปิดโอกาสให้เขาฆ่าตัวตาย เช่น ของมีคม หรืออุปกรณ์การฆ่าตัวตายอื่นๆ

Advertisements

5.หมั่นติดต่อและสื่อสารกันเป็นประจำ

ความคิดฆ่าตัวตายมักโผล่ออกมาท่ามกลางความเหงาและอ้างว้าง เพราะฉะนั้นการคอยอยู่เคียงข้างไม่ให้เขาต้องจมกับความคิดอยู่คนเดียวก็ช่วยลดโอกาสในการฆ่าตัวตายได้

6.ผลักดันให้เขาเข้าถึงความช่วยเหลือ

สุดท้ายแล้วผู้ที่จะช่วยเหลืออย่างถูกต้องที่สุดคือผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นการโน้มน้าวให้คนที่มีความคิดฆ่าตัวตายได้รับความช่วยเหลือจากมืออาชีพจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะให้เขาได้

7.ติดตามความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

แม้จะได้รับความช่วยเหลือจากมืออาชีพแล้ว การสนับสนุนทางในจากคนใกล้ชิดยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เขาก้าวผ่านความคิดอยากตายได้ การติดตามความเป็นไปของเขาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยไม่ให้เขารู้สึกว่าเขาต้องผ่านมันไปคนเดียวอย่างยากลำบากนั่นเอง

ที่มา
– Suicide Rates Continue to Rise Among Americans : HealthDay, U.S. News – https://bit.ly/3LeH4Ly
– Rising suicide rate worries experts : PENCHAN CHAROENSUTHIPAN, Bangkok Post – https://bit.ly/3r8JSD2

#trend
#psychology
#suicideprevention
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า