NEWSTrendsลูกจ้างมีสิทธิ์ไหมคะ? นายจ้างให้ทำงานเสาร์-อาทิตย์ ผิดกฎหมายหรือไม่

ลูกจ้างมีสิทธิ์ไหมคะ? นายจ้างให้ทำงานเสาร์-อาทิตย์ ผิดกฎหมายหรือไม่

พูดถึงชีวิตการทำงาน เชื่อว่า “วันหยุด” นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตของมนุษย์เงินเดือนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้พักผ่อนแล้ว วันหยุดยังเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เราสามารถจัดการกับธุระส่วนตัว และเตรียมพร้อมตัวเองให้เริ่มงานในวันใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศไทยเองนั้น ก็มีบริษัทส่วนใหญ่ที่ให้พนักงานทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ และกำหนดให้หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ก็มีพนักงานอีกจำนวนมากที่ต้องทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ หรือบางครั้งก็ต้องทำงานรวมวันเสาร์-อาทิตย์ด้วย

ทำให้ประเด็นนี้กลายเป็นที่สงสัยกันว่าการที่นายจ้างกำหนดให้พนักงานมาทำงานวันเสาร์-อาทิตย์นั้น เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายหรือไม่? และจริงๆ แล้วเพดานของวันหยุดตามกฎหมายแรงงานไทยมีอะไรบ้าง? วันนี้ Mission To The Moon จะสรุปข้อมูลเหล่านี้มาให้อ่านกัน

นายจ้างสามารถให้ลูกจ้างมาทำงานวันเสาร์-อาทิตย์ได้หรือไม่?

ก่อนอื่นต้องมาเริ่มปรับความเข้าใจกันเกี่ยวกับเวลาทำงานปกติตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ กันก่อน โดยกำหนดให้เวลาทำงานทั่วไปไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน หรือตามที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์

นั่นหมายความว่า หากนายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานวันละ 7 ชั่วโมง เป็นจำนวน 6 วัน ตั้งแต่วันอังคาร-วันอาทิตย์ ก็ไม่ผิดกฎหมาย เนื่องจากเวลาทำงานรวมกันไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์นั่นเอง

ส่วนนายจ้างบอกคนอาจจะมีคำถามว่า แล้วถ้าอย่างนี้ก็กำหนดให้ลูกจ้างมาทำงาน 7 วัน ตั้งแต่วันจันทร์-วันอาทิตย์ โดยที่ทำงานวันละ 6 ชั่วโมง รวมแล้วใช้เวลาทำงานเพียง 42 ชั่วโมง/สัปดาห์ก็ได้หรือเปล่า?

คำตอบคือ ผิดกฎหมาย เนื่องจากพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ยังกำหนดสิ่งที่เรียกว่า “วันหยุดประจำสัปดาห์” เพื่อคุ้มครองไม่ให้ลูกจ้างต้องทำงานกันหามรุ่งหามค่ำแบบไม่มีวันหยุดอยู่นั่นเอง โดยนายจ้างที่ละเมิดก็ถือเป็นการกระทำความผิดกฎหมายแรงงาน โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

วันหยุดตามกฎหมาย มีวันไหนที่เราควรรู้บ้าง?

ทำไมแต่ละบริษัทถึงกำหนดวันหยุดให้แตกต่างกัน? ทำไมวันหยุดของเพื่อนไม่เหมือนกับของเรา? สรุปแล้ว หยุดแบบไหนถูก แบบไหนผิดกันแน่?

การที่จะตอบคำถามนี้ได้นั้น เราต้องมารู้จักกับวันหยุดตามกฎหมาย ซึ่งจะมีการแบ่งวันหยุดออกเป็น 3 ประเภทคือ

Advertisements

1. วันหยุดประจำสัปดาห์

ตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะกำหนดให้นายจ้างต้องมีวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ โดยให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน

ดังนั้น ถ้าเราเห็นเพื่อนที่ทำงานวันอังคาร-วันอาทิตย์ ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ตามกฎหมาย เพราะบริษัทได้เว้นระยะวันหยุดให้ 1 วัน/สัปดาห์แล้วนั่นเอง (โดยต้องอยู่ในเงื่อนไขที่เวลาทำงานทั้งหมดไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์)

ยกเว้นงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ก็มีการอนุโลมให้ลูกจ้างกับนายจ้างสามารถตกลงกันเพื่อสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน

ดังนั้น สมมติว่าเราเป็นพนักงานโรงแรมที่ต้องทำงานติดต่อกัน 10 วันในช่วง High Season ก็สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่เราก็สามารถเก็บวันหยุด 1 วันไปใช้หยุดได้ภายหลัง

Advertisements

2. วันหยุดตามประเพณี

ตามมาตรา 29 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ กำหนดให้นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดไม่น้อยกว่า 13 วัน/ปี โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ โดยพิจารณาจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น

ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ก็ให้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป สำหรับงานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม ฯลฯ ที่ต้องทำงานในวันหยุดตามประเพณี ก็สามารถตกลงกันหยุดวันอื่นชดเชย หรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้

3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี

หรือวันลาพักร้อน กฎหมายกำหนดให้มีไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี (แต่ในบางบริษัทก็จะให้สิทธิ์ตั้งแต่ปีแรกที่เข้าทำงานได้เช่นกัน) นอกจากนี้ยังสามารถตกลงกันล่วงหน้า เพื่อสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีต่อไปได้ด้วย

จะเห็นได้ว่าเรื่องของวันหยุดนั้นเป็นสิ่งที่กฎหมายได้กำหนดมาให้อย่างค่อนข้างครอบคลุมแล้ว ใครที่กำลังสงสัยว่าทำงานเวลานี้ถูกต้องหรือไม่? เรากำลังถูกเอาเปรียบหรือเปล่า? ก็สามารถนำเวลาการทำงานมาคิดตามเงื่อนไขของกฎหมายตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้นได้เลย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องของเวลาการทำงานก็เป็นสิ่งที่นายจ้างสามารถยืดหยุ่นได้ เพียงแต่ต้องอยู่ภายในกรอบของกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องตกลงและยินยอมกันตั้งแต่เริ่มต้นจ้างงาน เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข

อ้างอิง
– การคุ้มครองแรงงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน – https://bit.ly/3EXAANz

#trend
#work
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า