ถ้าให้เลือกลงทุนในหุ้น จะเลือกซื้อหุ้นกลุ่มไหนกัน?
เชื่อว่าหลายคนก็อาจจะนึกถึงหุ้นสายเทคฯ เป็นส่วนใหญ่ เพราะหลายคนมองว่ามันคือหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่เชื่อไหมว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การลงทุนอย่างหนึ่งที่มาแรงและถือเป็นเมกะเทรนด์แห่งอนาคตเลยคือ “การลงทุนหุ้น ESG” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การลงทุนอย่างยั่งยืน”
ทุกภาคส่วนหันมาให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืนกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคประชาชน หรือแม้แต่ภาคธุรกิจเองก็เริ่มดำเนินธุรกิจและพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนกันมากขึ้น ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) ซึ่งหนึ่งในธุรกิจนั้นก็คือ “ธุรกิจยา” เพราะธุรกิจยานั้นมีส่วนสำคัญต่อสังคมไทยและการสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพของประเทศ
และเมื่อพูดถึงธุรกิจยาแล้ว ทุกคนเคยสังเกตไหมว่าอุตสาหกรรมนี้ก้าวมาไกลขนาดไหน ย้อนกลับไปช่วงสมัยก่อน สิ่งแรกๆ ที่มนุษย์เรานำมาใช้ในการรักษาคือ การนำพืชไปทำเป็นยาเพื่อนำมารักษาอาการเจ็บไข้ ต่อมาจึงได้มีการพัฒนายามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเหมือนอย่างทุกวันนี้
ในบทความนี้ เราจะพาไปรู้จักอุตสาหกรรมยากันให้มากขึ้น พร้อมทั้งสำรวจว่าอุตสาหกรรมยาไทยจะมีโอกาสก้าวเข้าสู่ตลาดระดับภูมิภาคหรือไม่
รู้จัก “ธุรกิจยา” ให้มากขึ้น
รู้หรือไม่ว่า ยารักษาโรคโดยทั่วไปแล้วมีกี่ประเภท?
หากใครนึกคำตอบไม่ออก อยากให้ลองนึกถึงภาพในช่วงที่ใครหลายๆ คนป่วยเป็นโรคโควิด-19 ในตอนนั้นสังเกตหรือไม่ว่าคนส่วนใหญ่ทานยาอะไรกันบ้าง? ถ้าลองสังเกตดีๆ เราจะเห็นคนซื้อยาพาราเซตามอลมาทานเพื่อลดไข้ ซึ่งยานี้นั้นจัดอยู่ในประเภทของ “ยาแผนปัจจุบัน”
ยังไม่หมดแค่นั้น เพราะเราจะเห็นยาอีกอย่างหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั่นก็คือ ฟ้าทะลายโจร ซึ่งยานี้จะจัดอยู่ในกลุ่ม “ยาสมุนไพร” นั่นหมายความว่ายารักษาโรคโดยทั่วไปแล้วจะประกอบไปด้วย “ยาแผนปัจจุบัน” และ “ยาสมุนไพร”
ซึ่งหากมองลึกลงไปกว่านั้น เราก็จะพบว่ายาแผนปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ธุรกิจคือ “ธุรกิจยาต้นแบบ” กับ “ธุรกิจยาสามัญ” แล้วสองธุรกิจนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร?
ธุรกิจยาต้นแบบ เป็นธุรกิจที่ต้องมีการวิจัยพัฒนา ตั้งแต่การทดลองในห้องทดลอง การวิจัยในสัตว์ทดลอง และการศึกษาทางคลินิกในมนุษย์ หลังจากนั้นก็นำยาที่ทดลองได้ไปขึ้นทะเบียนกับ อย. ในแต่ละประเทศเพื่อนำมาวางขายในตลาด
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้ใช้เงินลงทุนสูงและใช้เวลาในการศึกษาทดลองค่อนข้างนาน (ประมาณ 5-10 ปี) แต่ถ้าบริษัทใดสามารถจดสิทธิบัตรได้ ก็จะได้รับสิทธิ์ผูกขาดในการผลิตและจำหน่ายเป็นระยะเวลา 20 ปี เมื่อระยะเวลาดังกล่าวผ่านไป ผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็จะสามารถผลิตยานั้นออกจำหน่ายต่อไปได้
โดยยาต้นแบบมีข้อเสียตรงที่ราคายาจะค่อนข้างสูง ทำให้ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพยาจะดีกว่ายาเก่าๆ ที่มี แต่ก็ทำให้คนบางกลุ่มเข้าถึงยายาก
ส่วนธุรกิจยาสามัญเป็นผู้ประกอบการยาสามัญที่มีสิทธิ์ผลิตยาออกจำหน่ายหลังจากที่ธุรกิจยาต้นแบบหมดสิทธิบัตรลงแล้ว ซึ่งเป็นกลไกของระบบสุขภาพทั่วโลก โดยข้อดีของธุรกิจยาสามัญคือ สามารถวางขายยาที่มีตัวยาสำคัญชนิดเดียวกับยาต้นแบบได้ในราคาที่ต่ำกว่า ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น และถึงแม้ว่าหลายคนอาจจะกลัวว่ายาสามัญมีคุณภาพไม่ดี แต่จริงๆ ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะ อย. ได้มีการควบคุมมาตรฐานในการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานของ GMP
เมื่อกล่าวถึงยาสามัญไปแล้ว ยาอีกประเภทหนึ่งที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ก็คือ “ยาสมุนไพร” เพราะผู้บริโภคหลายคนเริ่มหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการรักษา ยาสมุนไพรจึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้ยาสมุนไพรยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนักหากเทียบกับยาแผนปัจจุบัน เพราะยาสมุนไพรยังไม่ได้มีการพัฒนาและพิสูจน์ในเรื่องประสิทธิผลอย่างชัดเจน รวมทั้งยังมีความท้าทายในเรื่องที่มีการเชื่อมโยงจากการวิจัยสู่การผลิตน้อย ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงยังไม่สามารถเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้
แนวโน้มด้านสุขภาพของคนไทย
หลังจากเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 รู้สึกว่ามีอะไรรอบตัวเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือไม่?
หลายคนอาจจะเห็นคนรอบตัวหันมาทานอาหารเสริมภูมิคุ้มกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี วิตามินเอ สังกะสี หรือโพรไบโอติกส์ หรือบางคนเริ่มหันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพราะพวกเราต่างก็ตระหนักได้ว่าสุขภาพของเราอยู่ในเงื้อมมือของเราเอง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ สุขภาพของเรามีความเชื่อมโยงกับพฤติกรรมของเราเอง
เช่น พอเกิดโควิด-19 คนก็เริ่มรู้ว่าเราต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ต้องล้างมือบ่อยๆ และต้องใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปข้างนอก ไม่เช่นนั้นเราก็อาจจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้
ซึ่งปรากฏการณ์นี้นี่เองที่ทำให้ใครหลายๆ คนเริ่มตระหนักเรื่องสุขภาพมากขึ้น จนกลายเป็นเทรนด์ในยุคนี้ไป และเทรนด์นี้ก็มีส่วนให้อุตสาหกรรมยาเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบันหรือยาสมุนไพร
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีแค่เทรนด์รักสุขภาพเท่านั้นที่ทำให้อุตสาหกรรมยาเติบโตขึ้น เพราะยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่เข้ามาผลักดัน นั่นก็คือ “การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ”
จากข้อมูลของ WHO พบว่า ภายในปี 2030 ประชากร 1 ใน 6 ของโลก จะมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป นั่นหมายความว่าตอนนี้หลายประเทศกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว
แน่นอนว่าเมื่อคนยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งเสี่ยงป่วยเพิ่มมากขึ้น แล้วส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่อายุเยอะมักจะป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคหัวใจ เป็นต้น เมื่อมีคนป่วยก็ย่อมต้องมีการรักษา ผลสุดท้ายแล้วอุตสาหกรรมยาก็จะเติบโตขึ้นต่อไปในระยะยาว
ดังนั้น ผลิตภัณฑ์สุขภาพจึงมีความสำคัญต่อความมั่นคงด้านสุขภาพของคนไทยเป็นอย่างมาก เพราะคนตระหนักเรื่องสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ทำให้ในอนาคตมีแนวโน้มว่าความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพจะเพิ่มขึ้น
ธุรกิจของ BLC เพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพของคนไทย และการขับเคลื่อนธุรกิจยาในไทย
จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่า ตอนนี้มีสองเทรนด์สำคัญที่เกิดขึ้นในโลกอุตสาหกรรมยา คือ การที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น และการที่คนหันมาดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองด้วยวิถีธรรมชาติกันมากขึ้น
ฉะนั้น หากธุรกิจยาในไทยมีรากฐานที่แข็งแกร่งและสามารถตอบรับทั้งสองเทรนด์นี้ได้ ก็ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยนั้นสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศ รวมทั้งยังเพิ่มโอกาสในการส่งออกยาสู่ระดับภูมิภาคได้
ซึ่งหนึ่งในธุรกิจที่ตอบโจทย์เทรนด์ทั้งสองและคาดว่าจะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจยาไทยให้ก้าวไปข้างหน้าได้คือ บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC ที่เน้นทั้ง “ยาแผนปัจจุบันประเภทยาสามัญ” (Generics Drug) และ “ยาสมุนไพร” (Herbal Medicines) รวมทั้งยังมีผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ อย่างเครื่องสำอาง (Cosmetic) สำหรับบำรุงผิวหน้าและผิวกายในรูปแบบต่างๆ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food Supplement) สำหรับดูแลสุขภาพและความงาม
นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์โดดเด่นที่อยู่ในประเภทของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้แก่ เจลพริก ครีมไพล และสารสกัดกระชายดำ
ในด้านธุรกิจยาแผนปัจจุบัน BLC มีความสามารถในการผลิตยาสามัญที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพตลอดขั้นตอนการผลิต การบรรจุ และการเก็บยา รวมทั้งยังมีการจำหน่ายให้สถานพยาบาลและร้านขายยาชั้นนำเพื่อให้คนไทยเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่าย
นอกจากนี้ BLC ยังมีศูนย์วิจัย มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ และเทคโนโลยีชั้นนำ BLC จึงมีศักยภาพในการวางตลาดยาสามัญใหม่ เพื่อรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และไม่เรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคข้อและกระดูก โรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินปัสสาวะและฮอร์โมนเพศ โรคทางเดินหายใจ และโรคมะเร็ง
ส่วนในด้านยาสมุนไพร ปัจจุบัน BLC มีเป้าหมายในการผลักดันสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก รวมถึงมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมสมุนไพร ผ่านการวิจัยพัฒนาในศูนย์วิจัย BLC และนำสมุนไพรจากพืชธรรมชาติที่ปลูกในประเทศมาทำเป็นยาสมุนไพรที่มีคุณภาพ รวมทั้งมีการศึกษาเพื่อให้ได้รับการพิสูจน์ทางด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยด้วย
ซึ่งในปัจจุบันนั้นยาสมุนไพรไทยได้รับความสนใจจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างมาก จนมีคนอยากจับมือร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เจลพริก ครีมไพล และกระชายดำ
เพราะฉะนั้นจึงมั่นใจได้ว่ายาสามัญและยาสมุนไพรของ BLC นั้น ช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นช่วยให้คนเข้าถึงยาง่ายขึ้น ในราคาที่ถูกลง ลดภาระงบประมาณภาครัฐ ลดการนำเข้ายาและวัตถุดิบ สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ และที่สำคัญคือส่งเสริมเกษตรกรไทยในการปลูกพืชสมุนไพรด้วย
และ BLC ไม่ได้หยุดอยู่แค่การผลิตและจำหน่ายยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพรเท่านั้น เพราะ BLC ยังมีผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพอย่างครบวงจร ทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์ยาสำหรับสัตว์ และธุรกิจเครื่องสำอางกลุ่มรักษาผิว ทำให้ BLC ได้รับการยอมรับมามากกว่า 30 ปี
เชื่อว่าหากธุรกิจไทยสามารถยกระดับยาสมุนไพรให้มีความน่าเชื่อถือและมีข้อมูลยืนยันทางการแพทย์เช่นนี้ต่อไป ก็จะทำให้ประเทศไทยสามารถขยายตลาดไปสู่ระดับภูมิภาคได้อย่างแน่นอน
โอกาสก้าวเข้าสู่ตลาดระดับภูมิภาค
ประเทศไทยมีทรัพยากรบุคคลที่เต็มไปด้วยทักษะ องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ตลอดจนเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้มีโอกาสที่จะผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมยา จากที่ผลิตยาเพื่อใช้เพียงในประเทศ เป็นขยายการส่งออกสู่กลุ่มประเทศในระดับอาเซียน
เพราะเทรนด์การรักสุขภาพนั้นเพิ่มขึ้นในทุกประเทศ และธุรกิจในอาเซียนก็ถือเป็นพื้นที่สำคัญที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่มี GPD รวมมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 102 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
ประกอบกับปัจจุบันผู้คนหันมาจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น แล้วเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนก็มีคนใช้ช่องทางออนไลน์มากถึง 350 ล้านคน หากประเทศไทยสามารถเปิดเส้นทางการส่งออกยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพสู่ระดับภูมิภาคได้ ก็จะสามารถต่อยอดสิ่งอื่นๆ ตามมาได้อีกหลายอย่าง ดังนั้น ธุรกิจยาจึงถือว่าเป็นธุรกิจสำคัญที่ควรค่าแก่การลงทุนเป็นอย่างมาก
และด้วยศักยภาพของ BLC ที่มีรากฐานในการผลิตยาที่แข็งแกร่ง ทั้งยาสามัญ ยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพอื่นๆ มาตลอดระยะเวลา 30 ปี มีช่องทางในการจัดจำหน่ายครอบคลุมทั้งในประเทศ รวมทั้งส่งออกไปสู่อาเซียนและ CLMV (ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศพม่า และประเทศเวียดนาม) BLC จึงเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มและโอกาสในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น
BLC ไม่ได้มีดีเพียงแค่ผลิตยาที่มีมาตรฐานเท่านั้น แต่ยังดำเนินธุรกิจเพื่อโลกที่ยั่งยืนและมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค มีการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล รวมทั้งสร้างความไว้ใจและความน่าเชื่อถือต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระยะยาว
ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ BLC ก็มีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อให้มีปริมาณผลิตภัณฑ์เพียงพอต่อการส่งออกสู่ต่างประเทศ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาด้านสุขภาพของทุกๆ คน และเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายทั้งหมดขององค์กร BLC จึงได้ยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเสนอขาย IPO ไม่เกิน 150 ล้านหุ้น เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เรียกได้ว่าเป็นหุ้นธุรกิจยาที่ตอบโจทย์ในเรื่องความยั่งยืนทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) เลยทีเดียว ซึ่งก็ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้บริษัทและนักลงทุนก้าวเข้าสู่ตลาดระดับภูมิภาคไปพร้อมๆ กัน เพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมยาให้เติบโตขึ้นต่อไป
Mission To The Moon X BLC