PSYCHOLOGYเพิ่ม Productivity ในทุกวัน ผ่านการจดบันทึกด้วยหลัก “Three Good Things"

เพิ่ม Productivity ในทุกวัน ผ่านการจดบันทึกด้วยหลัก “Three Good Things”

เริ่มเช้าวันทำงานมา ทุกคนล้วนอยากทำตัวให้ Productive แต่พอเข้าที่ทำงานมาเจอบรรยากาศเครียดๆ เรากลับไม่สามารถโฟกัสทำงานได้เลยสักชิ้น เวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆ พอมองนาฬิกาอีกทีก็พบว่างานยังไม่เสร็จเลยสักอย่าง แล้วความ Productivity ของเราหายไปไหนกันนะ?

หนึ่งปัจจัยสำคัญที่หลายคนอาจไม่รู้ตัวเลยว่ามันส่งผลให้ Productivity ในตัวเราลดลงคือเรื่องของ “ความเครียดในสถานที่ทำงาน”

จากการศึกษา Health Advocate (2009) แสดงให้เห็นว่า พนักงานประมาณ 1 ล้านคนกำลังประสบกับภาวะเครียดจนทำให้ระดับ Productivity ต่ำจนทำให้บริษัทเสียรายได้ กว่า 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อพนักงานหนึ่งคนในทุกๆ ปี และจากสถิติล่าสุดของ Statista ปี 2020 เผยว่า 43% ของผู้ทำแบบสอบถามจาก 116 ประเทศกำลังประสบภาวะเครียดมากขึ้นจากปีก่อนๆ หน้า

ทำให้เกิดคำถามที่ว่าแล้วเราจะสร้าง Productivity ให้มากขึ้นในวันที่เจอแต่เรื่องเครียดๆ ได้อย่างไรกัน?

ในเมื่อเราหนีความเครียดไม่พ้น ทำไมเราไม่ลองเปลี่ยนมาโฟกัสความสุขเล็กๆ ที่แฝงอยู่ท่ามกลางความเครียดตลอดทั้งวันดู ด้วยหลัก “3 สิ่งดีๆ” หรือ “TGT” ที่สั้นและทำได้ง่าย แต่ได้ผลดูล่ะ

Three Good Things หรือ TGT คืออะไร?

“Three Good Things (TGT)” หรือ “What-Went-Well” เป็นการจดบันทึกสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน วิธีนี้จะช่วยให้เรากำจัดอคติเชิงลบหลังจากที่เราผ่านเหตุการณ์แย่ๆ หรือต้องอยู่กับความเครียดมานาน บันทึกแห่งความสุขเล็กๆ นี้จะช่วยให้เรามองสิ่งต่างๆ ด้วยความคิดเชิงบวก เป็นการเพิ่มระดับความสุขให้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สองนักจิตวิทยา Carmen Lobbe จากมหาวิทยาลัย Kassel และ Kathrin Reinke มหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีแห่ง Darmstadt ได้เขียนบทความวิชาการของ Organizational Consulting, Supervision, Coaching ปี 2021 ไว้ว่า การจดบันทึกสิ่งดีๆ ทุกวันช่วยเพิ่มระดับความสุขและ Productivity ให้พนักงานได้ เพราะหลักการนี้เน้นไปที่การพัฒนาต้นทุนทางจิตวิทยา (Psychological Capital) ที่ช่วยให้เรามีจิตใจที่เข้มแข็ง พร้อมรับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการทำงานได้

ต้นทุนทางจิตวิทยาประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่
[ ] “Hope” ความหวังที่เราสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จ
[ ] “Self-Efficacy” ความเชื่อมั่นว่า เราสามารถรับมือกับเหตุการณ์ยากลำบากต่างๆ ได้
[ ] “Resiliency” ความสามารถในการปรับตัว
[ ] “Optimism” การคิดและมองเหตุการณ์ต่างๆ ในเชิงบวก

การจดบันทึกสิ่งดีๆ เหล่านี้ช่วยลดการเกิดเหตุการณ์แย่ๆ ให้น้อยลง และเพิ่มการเกิดเหตุการณ์และอารมณ์ดีๆ ให้มากขึ้น ซึ่งเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีให้ชีวิตรวมถึงประสิทธิภาพการทำงาน การทดลองของ Lobbe และ Reinke ได้เผยว่า ผู้ที่จดบันทึกด้วยหลัก TGT ทุกวัน หลังปฏิบัติผ่านไปแค่สองสัปดาห์ พวกเขามีความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มขึ้นมาก

นักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกว่า พนักงานที่จดบันทึกสิ่งดีๆ ในที่ทำงานมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงานน้อยกว่า เนื่องจากพวกเขาสามารถจัดการกับอารมณ์เชิงลบ และสร้างอารมณ์เชิงบวกได้เอง ช่วยให้สถานที่ทำงานไม่เต็มไปด้วยความเคร่งเครียดเพียงอย่างเดียว

หลังพนักงานรู้สึกไม่เครียดมากเกินไป สุขภาพกายและใจพวกเขาก็จะดียิ่งขึ้น ทำให้พวกเขาอยากเสนอตัวช่วยผู้อื่น, มีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น, พร้อมเปิดกว้างรับความคิดเห็นอื่นๆ นำมาสู่ความ Productivity ในตัวพนักงานให้สูงขึ้นไปด้วย

นายจ้างหรือหัวหน้างานเองก็สามารถนำหลัก TGT มาใช้ในบริษัทได้เช่นกัน ลองให้พนักงานจับกลุ่ม แล้วคิดถึงสามสิ่งดีๆ ที่พวกเขาพบในตอนเช้าหรือช่วงบ่ายวันนี้ แล้วแลกเปลี่ยนความสุขนี้ให้พนักงานคนอื่นๆ เกิดอารมณ์เชิงบวกตาม วิธีนี้ช่วยเพิ่มความน่าอยู่ให้กับสถานที่ทำงานและความพึงพอใจในงานมากขึ้นอีกด้วย

Advertisements

หลัก TGT นี้ใช้เวลาไม่มาก เพียงแค่ 5 นาทีต่อวันเท่านั้นเอง แถมยังมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ง่ายแสนง่าย ดังนี้

1. มองย้อนกลับไปว่า วันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง
ก่อนเราจะล้มตัวลงนอนเพื่อจบวันอันแสนเหน็ดเหนื่อยนี้ ลองลุกมานั่ง แล้วหลับตาสักครู่ จากนั้นนึกย้อนกลับไปตั้งแต่เช้าว่า วันนี้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างและเราทำกิจกรรมอะไรไปบ้าง

2. คิดถึงสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นมา 3 สิ่ง
ลองหาสามสิ่งที่ไปได้สวยจนกลายเป็นไฮไลต์ประจำวันนี้ของเราดู เช่น ออกจากบ้านวันนี้รถไม่ติดเลย ขั้นตอนนี้จะทำให้เราดึงความคิดที่มักจะวนเวียนอยู่กับเหตุการณ์แย่ๆ ออกไป และหันมาโฟกัสแต่สิ่งดีๆ ซึ่งช่วยให้เรารู้สึกว่า “วันนี้ก็ยังเป็นวันที่ดีอยู่บ้างนะ”

3. เขียนสิ่งดีๆ เหล่านั้นลงไป
ต่อให้เหตุการณ์ที่ชวนให้เรายิ้มและมีความสุขนั้นจะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่เหตุการณ์เหล่านั้นก็มีคุณค่า ให้เราจดสิ่งเหล่านี้ลงไปในสมุดบันทึกไดอารี่ หรือโน้ตในมือถือได้เลย

4. คิดไตร่ตรองเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้น
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายแต่สำคัญที่สุด ลองใช้เวลา 15-20 วินาทีต่อจากนี้คิดว่า “สามสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้แตกต่างจากสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในวันก่อนอย่างไร” และ “ทำไมเราควรจะจดจำเหตุการณ์ที่ดีๆ นี้ไว้” เพื่อให้สมองดึงเรื่องราวดีๆ นี้มาทดแทนเรื่องแย่ๆ โดยอัตโนมัติ และทำให้ใจเกิดความหวังและแรงผลักดันให้เราสู้วันแย่ๆ นี้ต่อไป

ช่วงแรกๆ ให้เราจดบันทึกแบบนี้ทุกวันจนครบ 1 สัปดาห์ แล้วหลังจากนั้น เราอาจปรับลดความถี่ให้เหลือ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ก็ได้ แต่ Lobbe และ Reinke แนะนำว่า หากเป็นไปได้ เราควรจดบันทึกทุกวันแบบนี้ให้ได้ตลอด


การจะทำงานให้มีความสุขนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับงานปริมาณน้อยๆ ไม่ยากมาก หรือได้กลับบ้านเร็ว แต่ความสุขอยู่ที่มายด์เซตในการทำงานและการใช้ชีวิตของเรา ต่อให้วันนี้จะเต็มไปด้วยความเครียด เศร้า ผิดหวัง แต่หากเราลองมองหาสิ่งดีๆ เล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ แล้วนำสิ่งดีๆ นี้มาเป็นกำลังใจให้เราสู้ต่อ และสนุกไปกับการมองหาเหตุการณ์ดีๆ ในที่ทำงาน
นอกจากนี้เราจะรู้สึก Active จนทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว เรายังมีความสุขกับการใช้ชีวิตในทุกๆ วันอีกด้วย

เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
10 เงื่อนไขที่ทำให้ชีวิตเครียด (Overstress) คุณกำลังติดกับดักเหล่านี้หรือเปล่า? 

อ้างอิง:
https://bit.ly/3rjrjZW
https://bit.ly/3rgyIJz
https://bit.ly/3L1xcTA
https://bit.ly/3oheiOG
https://bit.ly/34mAf7X

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#psychology
#softskill

Advertisements
Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า