SOFT SKILLคิดไม่ออก? ลองมา "ปลดล็อกสมอง"ด้วยวิธีคิดให้มีประสิทธิภาพ (How to Think More Effectively)

คิดไม่ออก? ลองมา “ปลดล็อกสมอง”ด้วยวิธีคิดให้มีประสิทธิภาพ (How to Think More Effectively)

เคยอยากคิดได้อย่างลึกซึ้ง หรือมีไอเดียสุดสร้างสรรค์อย่างสตีฟ จ็อบส์, อีลอน มัสก์ หรือ CEO บริษัทใหญ่ไหม ทั้งๆ ที่พวกเขาก็มีความรู้ด้านเทคโนโลยีไม่ต่างจากคนในสายงานเดียวกัน แต่ทำไมไอเดียของพวกเขาถึงแตกต่างและพลิกโฉมวงการเทคโนโลยีได้?

ถ้าหากเราอยากโดดเด่นในสายงานของเรา ด้วย “วิธีการคิด” และ “ไอเดีย” ที่ไม่เหมือนใครบ้างล่ะ พอจะมีวิธีบ้างไหม

หนังสือชื่อ “How to Think More Effectively” จะพาทุกคนมาปลดล็อกศักยภาพการคิดในตัวเรา เช่น คิดอย่างไรให้ไอเดียเจ๋งจนเจ้านายร้องว้าว รวมถึงอธิบายให้เราเข้าใจว่า ทำไมเราถึงคิดไม่ออกตอนตั้งใจ แต่พอเดินไปเข้าห้องน้ำกลับได้ไอเดียเจ๋งๆ กลับมาซะอย่างนั้น และแนะนำวิธีแก้อาการ “หัวตัน” สำหรับคนทำงานสายครีเอทีฟ

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ “The School of Life” ซึ่งเป็นองค์กรด้านการศึกษาที่ใช้เวลาไปกับการช่วยให้คนประสบความสำเร็จและหาวิธีเติมเต็มชีวิตได้มากขึ้น เป็นเจ้าของหนังสือขายดีต่างๆ เช่น “Relationships” ที่สอนให้เรามองว่า ความรักคือทักษะที่เราเรียนรู้ มากกว่าจะเป็นแค่อารมณ์ และ “Great Thinkers” หนังสือที่รวบรวมไอเดียการคิดจากคนหลากหลายวงการเพื่อให้เราเป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ได้

ไม่ว่าเราจะเป็นใคร ทำอาชีพอะไร ‘วิธีคิด’ ล้วนสำคัญกับเรามาก ทั้งต่อการทำงาน การใช้ชีวิต และการวางแผนในอนาคต หากต่อจากนี้เราอยากเพิ่มศักยภาพสมอง สร้างไอเดียใหม่ๆ ที่น่าสนใจและไม่ตื้นเขิน ลองมาพัฒนาวิธีคิดให้มีประสิทธิภาพกับหนังสือเล่มนี้ไปด้วยกัน

เริ่มจากการปรับวิธีคิด

คนส่วนมากอาจกำลังทำผิดพลาดโดยไม่รู้ตัว เพราะพวกเขามักให้ความสำคัญกับ “เป้าหมาย” มากกว่า “คุณค่าของเป้าหมาย” ที่เราตั้งไว้ คุณเคยถามตัวเองไหมว่า เราทำงานหนักเพราะอยากก้าวหน้าในหน้าที่การงานจริงไหม หรือเพียงเพราะเห็นคนรอบข้างประสบความสำเร็จ

แล้วเราจะคิดอย่างไรให้มีประสิทธิภาพขึ้น ขั้นแรก ลองใช้เวลาประเมินคุณค่าและวางกลยุทธ์ในการไปถึงเป้าหมายให้ดีขึ้น ต่อมาคือ สร้างแนวคิดที่พาเราออกจากคอมฟอร์ตโซน โดยการถามตัวเองด้วยคำถามที่ลึกซึ้งขึ้น ไม่ใช่แค่ถามว่าเป้าหมายของเราคืออะไร เป็นต้นว่า “ทำไมเราถึงต้องไปถึงเป้าหมายนั้น” “อะไรคือเป้าหมายสุดท้ายของเรา” และ “การไปถึงเป้าหมายนั้นสำคัญต่อเราอย่างไร” ให้มากขึ้น

รู้จักหลักการคิดของสมองเรามากขึ้น

  • ทำความรู้จัก “ภาวะพักผ่อน” ของสมอง
    สาเหตุที่เราไม่สามารถคิดไอเดียปังๆ ได้ตลอดเวลา นั่นเป็นเพราะสมองเราทำงานเป็นช่วงๆ หลังจากเราได้ไอเดียดีๆ มาหนึ่งเรื่อง สมองเราจะเข้าสู่ “ภาวะพักผ่อน” แล้วขั้นตอนแบบนี้ก็วนเวียนไปเรื่อยๆ แม้กระทั่งมาร์แซล พรุสต์ นักเขียนชาวฝรั่งเศส เจ้าของนิยายดังเรื่อง “In Search of Lost Time” เขาเองก็ไม่สามารถหนีความจริงข้อนี้พ้น

    ผลงานอันโดดเด่นนี้ของเขาไม่ได้สำเร็จในชั่วข้ามคืน บทประพันธ์ของเขาผ่านการขีดเขียน ร่างแล้วก็ลบอยู่หลายครั้ง จนออกมาสำเร็จและซับซ้อนอย่างที่เราเห็น

    ดังนั้นหากเราอยากได้ไอเดียสุดแจ่มแบบมาร์แซล พรุสต์ สิ่งที่เราต้องทำคือ ใช้สมุดโน้ตจด ‘ทุกไอเดีย’ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เก็บไอเดียเหล่านี้ไว้ไตร่ตรองทีหลัง แล้วค่อยเติมเต็มและเชื่อมโยงความคิดเหล่านั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  • ไอเดียดีๆ มักมาตอนสมองเราเข้าสู่ “ช่วงกึ่งยุ่งกึ่งว่าง”
    เคยสังเกตไหมว่า เวลาที่เราคิดอะไรดีๆ ออกมักจะไม่ใช่ตอนที่เราว่างมากๆ หรือตอนที่เราใช้สมาธิตั้งใจคิดมากๆ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตอนกำลังอาบน้ำ สระผม หรือล้างจานอยู่ ช่วงเวลานี้เรียกว่าช่วงกึ่งยุ่งกึ่งว่างนั่นเอง

    ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ขณะที่เราอยู่ในภาวะดังกล่าว สมองมักจะเปิดรับไอเดียแปลกใหม่ได้ง่ายกว่าตอนที่สมองตื่นตัว (ตอนพยายามโฟกัสคิดหาไอเดีย) เพราะในช่วงที่สมองตื่นตัวนี้ ไอเดียใหม่ๆ จะทำให้เรารู้สึกช็อก จมอยู่ในความคิดจนหลงลืมสิ่งรอบข้าง และอาจเกิดอันตรายได้ สมองเราในสภาพตื่นตัว 100% จึงหลีกเลี่ยงอันตรายโดยการไม่อยากคิดไอเดียใหม่นั่นเอง

ใช้สิ่ง ‘ธรรมดา’ ในชีวิตมาเพิ่มวิธีคิดให้ ‘ลึกซึ้ง’

คนมักจะคิดว่า “อารมณ์ลบ” เป็นตัวการบ่อนทำลายความคิดสร้างสรรค์ แต่จริงๆ แล้ว รู้ไหมว่า บางครั้งคนเราก็พัฒนาความคิดผ่านอารมณ์ลบๆ ได้เหมือนกันนะ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เรารู้สึกอิจฉาใคร แทนที่จะพยายามหลีกเลี่ยงความรู้สึกนี้ ให้ลองพิจารณาดูว่าจริงๆ แล้วเรากำลังขาดสิ่งที่คนนั้นมีหรือเปล่า ลองใช้ความอิจฉานี้มองให้ทะลุปรุโปร่งว่า “จริงๆ แล้วชีวิตเราต้องการอะไรกันแน่” เราจะได้เข้าใจเป้าหมายที่แท้จริงของเรามากขึ้น

แม้กระทั่งเรื่องธรรมดาอย่าง “ความตาย” ก็ช่วยกำหนดมุมมองในการใช้ชีวิตให้เราได้ เราจะเกิดสองมุมมอง คือ

Advertisements
Advertisements

1) “ทำทุกอย่างให้เต็มที่” เพราะเวลาบนโลกเรามีจำกัด จนเรายอมอดทนทำงานที่เราไม่ชอบต่อไป
2) “ใช้ชีวิตแบบช่างมันสิ” เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นตอนที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ไม่ได้สำคัญอะไรอยู่แล้ว เพราะเดี๋ยวสุดท้ายเราก็กลายเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้

จริงอยู่ที่ความคิดลบๆ อย่างเรื่องความตายนั้นน่ากลัว แต่แทนที่จะหลีกเลี่ยงไม่คิดถึงมัน และใช้ความตายมาเพิ่มมุมมองชีวิตให้แก่เรา ก็ทำให้การคิดเรื่องชีวิตดูลึกซึ้งขึ้นมาได้

พอเราเริ่มมีความคิดที่ลึกซึ้งขึ้นมาบ้างแล้ว ขั้นต่อไปที่ควรทำคือตั้งคำถามกับมัน หลายคนเชื่อว่าคนที่มีความคิดลึกซึ้ง อย่างเป็น CEO ทนาย หรืออาชีพที่ต้องใช้ความคิดอื่นๆ คงไม่มานั่งสงสัยความคิดตัวเองหรอก แต่นั่นเป็นความเชื่อแบบผิดๆ เพราะจริงๆ แล้วคนเหล่านี้เองก็สงสัยความคิดของตัวเองเหมือนกัน! พวกเขามักจะไม่เชื่อความคิดที่เพิ่งนึกออก จนกว่าพวกเขาจะหาข้อมูลที่ตอบ ‘ความสงสัย’ ได้ต่างหาก

แล้วความสงสัยในที่นี้คืออะไร ความสงสัยหมายถึง การที่เราสงสัยในความคิดเห็นที่เราได้รับจากผู้อื่น การมองหาคำตอบของคำถาม หรือการหาคำอธิบายเพื่อดับความสงสัยนี้ ดังนั้น หากอยากพัฒนาความคิด เราควรหัดตั้งคำถามความคิดของตัวเองบ้าง

คำว่า “Skepticism” ที่แปลว่า ความสงสัย นี้ก็มาจากโรงเรียนในสมัยกรีกโบราณ คนโบราณมองว่า สมองเราเต็มไปด้วยอคติและความผิดพลาดที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเลขได้ ความคิดที่ออกมาจากสมองเราเองจึงยังไม่น่าเชื่อถือเสียเท่าไร ดังนั้นการตั้งคำถามหรือสงสัยในความคิดเรา ทำให้เรามีโอกาสไตร่ตรองข้อมูลที่มีว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน

แล้วการสงสัยว่าความคิดเราอาจผิดเพี้ยนไปจากความจริงได้เสมอนั้นจะช่วยปลดล็อกสมองของเราได้อย่างไร? การรู้ตัวว่าความคิดของเราอาจผิดพลาดได้นั้น ทำให้เราต้องคอยหาข้อมูลหรือมุมมองอื่นๆ มาเสริม และตีความว่า แต่ละข้อมูลที่ได้รับมาขัดแย้งกันเองมากแค่ไหน เราอาจจะเจอแนวคิดที่ล้มล้างความคิดเดิมของเราไปเลย หรือเจอแง่มุมใหม่ๆ ที่ลึกซึ้งขึ้น และถ้าให้กระบวนการคิดของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่าลืมแยกอารมณ์ออกไปด้วย เพื่อเลี่ยงไม่ให้เราคิดเอนเอียงแบบไม่มีเหตุผล

ทิ้งความคิดแบบ ‘ปกติ’

บางครั้ง เรามักได้ไอเดียที่ดีที่สุดจากการทิ้ง “ความคิดแบบปกติ” ออกไปจากสมองเรานะ ลองให้สมองเราได้คิดอะไรที่แปลกๆ ก้าวข้ามทฤษฎีและความเป็นจริงทั้งหมดที่เราเคยรู้ไปให้หมด เช่น สิ่งแรกที่จะทำหลังรู้ว่าพรุ่งนี้โลกจะแตก หรือหากเราไม่มีวันล้มเหลว เราจะทำอะไรในชีวิตบ้าง นี่น่าจะช่วยให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ หรือพัฒนาสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น


เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ฝึกความคิดสร้างสรรค์แบบนักเขียนมืออาชีพผ่านการฝึก “People-watching”


อ้างอิง:
– The School of Life (2020), How to Think More Effectively


#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskills

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า