self developmentเป็นอยู่ไหม? คิดมาก โฟกัสไม่ได้ ปัญหาที่คนทำงานต้องเจอ มาแก้ไขด้วย 5 วิธีเคลียร์สมอง

เป็นอยู่ไหม? คิดมาก โฟกัสไม่ได้ ปัญหาที่คนทำงานต้องเจอ มาแก้ไขด้วย 5 วิธีเคลียร์สมอง

ใครกำลังเจอปัญหาเหล่านี้บ้าง? “งานโหลด สติหลุด” “สมองหยุดคิดไม่ได้” “เหนื่อยแบบไม่มีสาเหตุ”
เรื่องที่ต้องจำกลับลืม แต่เรื่องที่ควรลืม กลับคิดวนในหัวไม่หยุด บางทีก็รู้สึกอัดอั้น สับสน ไม่รู้จะจัดการกับความรู้สึกอย่างไร

อีกทั้งการจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก ไม่มีสมาธิ รู้สึก Burnout เหนื่อยและหมดแรงกับทุกอย่าง ประสิทธิภาพการตัดสินใจก็ลดฮวบ ทำอะไรก็มีข้อผิดพลาดตลอด

แล้วอะไรคือสาเหตุของอาการเหล่านี้กันแน่?
ในยุคของเทคโนโลยี ที่ความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสาร หล่อหลอมจนทำให้เรามองว่าการทันกระแส การทันข่าวเป็นสิ่งที่ดี แต่กลับกัน การเกาะติดข่าวสารมากเกินก็อาจทำให้เราไม่ได้พักสมองเสียที เหมือนกับการรับข้อมูลมาไม่หยุดหย่อน โดยที่บางครั้งสภาพจิตใจเราก็ไม่แข็งแกร่งพอที่จะตัดหรือมองข้ามมันไป

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเวลาเราเสพข่าวเยอะๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จึงเกิดความรู้สึกเหนื่อย ฟุ้งซ่าน และไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

อีกสาเหตุหนึ่งของอาการฟุ้งซ่านที่เราหลายคนกำลังเป็นอยู่นั้น เกิดจากการที่เราทำหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมๆ กัน หรือที่เรียกว่า Multitasking จากความต้องการที่จะทำทุกอย่างให้เสร็จได้เร็วขึ้น

แต่บางทีผลลัพธ์มันอาจจะไม่เป็นอย่างที่เราหวังไว้เสมอไป ซ้ำร้าย กลับแย่ลงกว่าเดิม
เพราะการทำหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมกัน จะทำให้เราขาดสมาธิ และไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญได้ เพราะ“ทุกอย่างดูสำคัญไปหมด” และทุกอย่าง “ต้องทำพร้อมกัน”

เชื่อว่าคนทำงานหลายคนคงเจอกับปัญหานี้ ที่เข้ามารบกวนจิตใจ ทำลายสมาธิไม่ให้เราสามารถจดจ่อในสิ่งตรงหน้าได้ ทำให้ในบทความนี้ เราจะพามารู้จัก 5 วิธีการ ที่จะช่วยขจัดสิ่งที่รบกวนจิตใจเรากัน

1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน

การกำหนดจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้นำพาเราไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี และตรงกับความต้องการหรือสิ่งที่เรามุ่งหวังจริงๆ เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน เรารู้ว่าเวลานี้ควรทำอะไร อย่างไรต่อไป และไม่เสียเวลาหรือหลงทางไปกับอะไรที่ไม่ใช่

อีกทั้งการมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะเป็นพื้นฐานที่ทำให้เราจัดระเบียบชีวิต จัดระเบียบความคิดได้ดียิ่งขึ้น และสามารถจัดการเรื่องต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากการทำเรื่องต่างๆ พร้อมๆ กัน ไม่เพียงเสียเวลา แต่ยังทำให้สมองล้าอีกด้วย

2. ทำงานทีละอย่าง

สมองเราจะมีประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุดก็ต่อเมื่อเราจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้น เราควรที่จะเลือกทำงานทีละอย่างๆ ไป อย่าพยายาม Multitasking อีกทั้งวิธีการทำงานแบบนี้ยังช่วยให้เราไม่เกิดความรู้สึกกดดัน ไม่เครียด และไม่วิตกกังวลว่า “งานนี้ก็ยังไม่เสร็จ งานนั้นก็ยังไม่ครบ”

นอกจากนี้ การให้เวลาตัวเองจัดการงานที่คั่งค้าง แบ่งงานเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ละส่วนๆ โดยเฉพาะงานชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถทำเสร็จได้ภายในเวลาสั้นๆ ก็เป็นวิธีที่ทำให้เราสามารถจัดการกับงานนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นความบคืบหน้าได้ง่ายกว่า และไม่ท้อไปเสียก่อน

Advertisements

3. ตัดสิ่งรบกวนรอบตัว

นอกเหนือจากการรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป สิ่งรบกวนรอบตัวก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราฟุ้งซ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งรบกวนจากเสียงแจ้งเตือนข้อความ เสียงโทรศัพท์ เสียงรถยนต์ ซึ่งเสียงเหล่านี้จะเข้ามารบกวนและทำให้เราขาดสมาธิ หลุดโฟกัสจากสิ่งที่กำลังจดจ่อ

ดังนั้น เราจึงต้องกลับมาทบทวนว่าอะไรเป็นสิ่งเร้าให้เรายิ่งเกิดความฟุ้งซ่าน และตัดสิ่งเร้าเหล่านั้นออก เมื่อเราทำได้แล้ว จะทำให้เราใส่ใจกับสิ่งที่สำคัญ มีความหมาย และมีสมาธิทำสิ่งที่ตนเองต้องการได้โดยไม่มีอะไรมารบกวน

Advertisements

4. จัดการความคิดและความรู้สึกอย่างเป็นระบบ

การตัดสินใจ ภาระหน้าที่มากมาย รวมถึงข้อมูลที่เรารับเข้ามาในแต่ละวัน อาจทำให้เราขาดสมาธิ และทำให้สมองยังคงนึกถึงเรื่องราวอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น การจัดการกับความคิดและความรู้สึกให้เป็นระบบ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้สมองของเราโล่งขึ้นและฟุ้งซ่านน้อยลง

โดย “การเขียน” จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เรามีสติจดจ่ออยู่กับปัจจุบันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจัดตารางชีวิต แบ่งเวลาและเนื้องานให้เหมาะสมกับตนเอง อย่างเช่น การเอางานที่ต้องใช้พลังสมองเยอะมาไว้ในช่วงเช้า หรือจะเป็นการเขียนเพื่อระบายความกังวล

การเขียนทั้งสองรูปแบบจะทำให้เราเห็นภาพและจัดการกับตารางชีวิตของตนเองได้ดียิ่งขึ้น
อีกทั้งยังทำให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเรากำลังคิดเรื่องอะไร กังวลเรื่องอะไร ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของเรื่องราว ปัญหา ผลลัพธ์ หรือความรู้สึกที่เรามีต่อเรื่องนั้นๆ จะถูกถ่ายทอดลงบนกระดาษแผ่นหนึ่ง ซึ่งการทำเช่นนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจตนเอง

5. ระบายความรู้สึกออกมาบ้าง

เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะมีอารมณ์โกรธหรือสับสน แต่การเก็บและกดอารมณ์ ไม่แสดงหรือไม่ระบายความรู้สึกเหล่านี้ออกมา ย่อมนำไปสู่ความยุ่งเหยิงทางจิตใจ ซึ่งทำให้จิตใจของเราไม่สงบ ยากที่จะจดจ่อกับสิ่งต่างๆ

การเปิดเผยอารมณ์และแสดงความรู้สึกให้ผู้อื่นได้รับรู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร อาจดีกว่าการปกปิดไว้ เพราะยิ่งเก็บไว้ยิ่งนำไปสู่ความเครียด ความวิตกกังวล โดยวิธีการระบายความรู้สึกอาจจะเป็นในรูปแบบของการเล่าให้คนที่สนิทฟัง บอกเล่าเรื่องราว ให้เขาได้รับรู้และหาทางออกของปัญหาร่วมกัน หรือบางครั้ง การร้องไห้ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ดี ถ้ามันสามารถทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้

ความยุ่งเหยิงทางจิตใจ ความสับสน ความกังวล หรือปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนทั่วๆ ไปกับเราทุกคน อย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราควรจะชินหรือปล่อยมันไป เพราะปัญหาเหล่านี้อาจพัฒนากลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ และแก้ไขยากขึ้นเมื่อเราไม่ได้แก้ไขมันตั้งแต่เนิ่นๆ หากใครประสบปัญหานี้อยู่ มาลองทำตาม 5 วิธีการนี้กันดู!

และถ้าใครรู้สึกว่าเกิดความฟุ้งซ่าน โฟกัสกับงานไม่ได้ ลองใช้ Planner เพื่อจัดตารางชีวิตให้เป็นระเบียบขึ้นดู ซึ่งในปีนี้ Mission To The Moon กลับมาอีกครั้งกับ “Mission To The Moon Retreat Planner 2023” แพลนเนอร์ที่จะช่วยให้คุณเขียนสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันได้อย่างเป็นระเบียบ ช่วยจัดตารางชีวิตให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับเป็นพื้นที่ให้คุณได้กลับมาพักใจและโฟกัสกับตัวเองได้มากขึ้น ผ่านฟังก์ชันต่างๆ มากมายภายในแพลนเนอร์เล่มนี้ ไม่ว่าจะเป็น To Do List, Half-Year Goal Setting, Half-Year Goal Check-in, Mood Tracker, Weekly Preview & Reflection และอีกมากมาย

พิเศษ! สั่งซื้อ Retreat Planner 2023 รอบ Pre-Sale ตั้งแต่ 20 กันยายน – 18 ตุลาคม 2565 ลดเหลือ 890.- (จากราคาเต็ม 990.-)
[ ] สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Planner 2023 เพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/3QO0Opf
[ ] สามารถสั่งซื้อ Planner 2023 ได้ทาง LINE OA : @missiontothemoon หรือคลิกลิงก์นี้ https://bit.ly/3RQ3F26

แปลและเรียบเรียง:
– 5 Effective Ways To Declutter Your Mind and Achieve Clarity:Dr. Roopleen,Medium – https://bit.ly/3yalb9E

#self-development
#inspiration
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

 

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Pattraporn Hoy
Pattraporn Hoy
นักศึกษาเอกวรรณกรรมจีนผู้เชื่อว่าวันที่ดีเริ่มต้นด้วยการกินของอร่อย

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า