วันนี้อารมณ์ของคุณเป็นยังไงบ้าง?
ในบางครั้ง เราอาจจะตอบคำถามที่ว่านี้ได้อย่างเรียบง่าย แต่ในหลายๆ วันเรานั้น เราอาจจะต้องประสบกับอารมณ์ที่หลากหลายและแปรปรวนเต็มไปหมด จนยากที่จะแยกแยะได้ว่าตัวเราในวันนี้มีอารมณ์ยังไงบ้าง
บางคนอาจจะสามารถระบุที่มาที่ไปของอารมณ์ในแต่ละวันได้อย่างชัดเจน เช่น บางวันขับรถไปทำงานตอนเช้า รถไม่ติด ขับรถเพลินๆ ฮัมเพลงโปรดจนอารมณ์ดีไปทั้งวัน บางคนเจอเจ้านายส่งข้อความมาต้อนรับตั้งแต่ตื่นนอนทำให้ต้องเริ่มต้นวันด้วยความหงุดหงิดอารมณ์เสีย
แต่สำหรับหลายๆ คน ถ้าพูดถึงอารมณ์แล้วนั้น มันก็เป็นเรื่องยากที่จะหาสาเหตุหรือทริกเกอร์ทางอารมณ์ของตัวเองอย่างชัดเจน บทจะอารมณ์ดีก็ยิ้มแย้มแจ่มใส แต่บทจะอารมณ์เสีย ไม่ว่าอะไรมันดูขัดหูขัดตาไปเสียหมด ซึ่งคนเหล่านี้อาจจะกำลังประสบกับปัญหาต่างๆ ในการจัดการอารมณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยจนตัวเองก็ตามไม่ทัน หรืออยู่ดีๆ ก็รู้สึกดาวน์อย่างไม่มีสาเหตุไปเฉยๆ
เชื่อว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่สามารถบริหารจัดการหรือแยกแยะอารมณ์ของตัวเองได้อย่างแม่นยำเสมอไป แล้วมันจะดีกว่าไหม ถ้าเกิดว่ามีเครื่องมือที่สามารถบันทึกอารมณ์ความรู้สึกของเราในแต่ละวัน เพื่อให้เราได้ทบทวนและเข้าใจตัวเองมากขึ้น ทั้งยามสุข เศร้า เหงา และรัก
Mood Tracker เครื่องมือที่ทำให้เรารู้จักอารมณ์ของตัวเอง
Mood Tracker คือเครื่องมือสำหรับจดบันทึกอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวันของตัวเราอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการมี Mood Tracker นั้นจะช่วยให้เรามองเห็นถึงแบบแผนทางอารมณ์ของเรา ว่าในแต่ละวันนั้นตัวเรารู้สึกอย่างไรบ้าง รวมถึงเป็นการหาต้นตอสาเหตุว่า สิ่งใดกันแน่ ที่เป็นตัวกระตุ้นอารมณ์ทั้งหลายของเราขึ้นมา
โดย มีบทความที่ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ Verywellmind ได้บอกเอาไว้ว่า ในบางกรณี การทำ Mood Tracker นั้นเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่กำลังมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เพราะว่ามันช่วยให้พวกเขาสามารถจำแนกแยกแยะอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ของตัวเองออกมาได้อย่างชัดเจน ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังรู้สึกอยู่นี้มีขื่อว่าอะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้หาทางรับมือกับอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างถูกวิธี
โดย Mood Tracker นั้น สามารถเป็นได้หลากหลายหน้าตาแล้วแต่ความชอบและความสะดวกของเรา ตั้งแต่การจดบันทึกอารมณ์ของเราด้วยกระดาษกับปากกาที่ตัวเราเป็นคนทำขึ้นมาเอง เป็นการตีตารางแล้วระบายสีที่เป็นตัวแทนอารมณ์ของเราลงไป ไปจนถึง Mood Tracking แอปพลิเคชันที่มีลูกเล่นและความซับซ้อนมากมาย
นอกจากนั้น Mood Tracker ยังมีข้อดีอีกมากมาย เช่น
[ ] เราจะสามารถระบุได้ว่า สิ่งของ คำพูด หรือเหตุการณ์ใด ที่เป็นตัวกระตุ้น (Trigger) ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรืออารมณ์แปรปรวนของเรา
[ ] เราสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมว่าปัจจัยต่างๆ เช่น การนอนหลับ การรับประทานอาหาร และกิจกรรมประจำวันส่งผลต่ออารมณ์ของเราอย่างไร
[ ] สามารถสร้างวิธีการต่างๆ ของเราเอง เพื่อช่วยจัดการกับอารมณ์ด้านลบ
[ ] สังเกตรูปแบบทางอารมณ์และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น
[ ] ช่วยพิจารณาว่าการรักษาต่างๆ ช่วยให้อารมณ์ของเรามั่นคงและดีขึ้นหรือไม่
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงบน JMIR Mental Health ที่แสดงให้เห็นว่า การมีแอปพลิเคชัน Mood Tracker สามารถช่วยในการลดพฤติกรรมที่เป็นอันตรายได้ ยังมีประโยชน์ในการลดความคิดทำร้ายตนเองในวัยรุ่นอีกด้วย
วิธีเริ่มทำ Mood Tracker เองได้ง่ายๆ
สำหรับการเริ่มทำ Mood Tracker ขึ้นมาเองตั้งแต่แรกก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปสำหรับทุกคน เราสามารถเริ่มได้แค่ด้วยสมุดกระดาษกับดินสอก็พอแล้ว ก็สามารถไปซื้อสมุดมาตีตารางเป็นช่องของแต่ละวัน กำหนดอารมณ์ที่มักจะเกิดขึ้นกับตัวเราบ่อยๆ แล้วพยายามตั้งชื่อให้กับมัน เช่น เหงา เศร้า เบื่อหน่าย หรือตื่นเต้น ที่สำคัญคือเราไม่ควรมีแค่อารมณ์ในแง่ลบ แต่ควรมีอารมณ์ในแง่บวกด้วย เพื่อที่ว่าเราจะรู้ได้ว่า สิ่งใดนำมาซึ่งความสุขให้เรา ไม่ใช่แค่ความทุกข์อย่างเดียว
จากนั้นก็กำหนดสีให้แต่ละอารมณ์ เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว เราก็แล้วเริ่มระบายสีให้กับอารมณ์ในแต่ละวันของเราได้เลย
หลังจากจบวันไม่ว่าจะเป็นหลังเลิกงาน เลิกเรียน หรือก่อนนอนทุกวัน เราลองมานั่งทบทวนดูว่า อารมณ์ที่เรารู้สึกในวันนี้นั้น มันคืออารมณ์ไหน ควรระบายเป็นสีอะไร โดยอย่าลืมเขียนเหตุผลลงไปด้วยว่า วันนี้เราเหงาเพราะอะไร วันนี้เราเศร้าเพราะอะไร วันนี้เรามีความสุขเพราะอะไร เพื่อที่ว่าเราจะได้รู้ว่าอารมณ์ที่เรากำลังระบายลงไปนั้น มันเกิดขึ้นเพราะอะไรกันแน่ และพัฒนาจุดอ่อนทางด้านอารมณ์ของตัวเราเองไปทีละนิดในทุกๆ วัน
ซึ่งถ้าใครที่ได้มีการเขียน Mood Tracker ไปนานๆ เป็นเดือนๆ หรือทั้งปีแล้วล่ะก็ เราก็สามารถย้อนกลับมาย้อนดูสภาพอารมณ์ของเราเองได้ว่า ตลอดทั้งเดือนหรือทั้งปี เรามีความรู้สึกอย่างไรกับชีวิตในแต่ละวันบ้าง
แต่สำหรับหลายคน แค่ทำงานประจำทุกวันก็คงเหนื่อยมากแล้ว ให้มานั่งตีเส้นในสมุดล่วงหน้าเป็นเดือนๆ ก็คงจะกินเวลาพักผ่อนมากเกินไป ดังนั้น Retreat Planner 2023 จาก Mission To The Moon อาจเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้ทุกคนสามารถย้อนกลับมาทบทวนตัวเองได้อย่างสะดวกสบายและพัฒนาตัวเองไปได้พร้อมๆ กันการจดจำความรู้สึกของแต่ละวันไปกับฟังก์ชัน “Mood Tracker”
ในฟังก์ชันนี้ของ Mission To The Moon Retreat Planner 2023 เราสามารถติดตาม 4 อารมณ์หลักที่เราตั้งค่าไว้ ไม่ว่าจะเป็น สุข เศร้า โมโห หรือ เฉยๆ พร้อมกับสังเกตตัวเองและระบายสีเพื่อบันทึกอารมณ์ในแต่ละวัน เพื่อที่จะได้ตระหนักถึงสภาพอารมณ์ของตัวเอง ว่าเรายังรับมือไหวมั้ย ต้องการความช่วยเหลือหรือเปล่า แถมยังได้มีการออกแบบให้สามารถย้อนกลับมาดูและเห็นภาพรวมของทั้งปีได้อีกด้วย
ที่สำคัญ แม้จะเป็นการบันทึกอารมณ์ในแต่ละวันไปจนครับปีนั้น นอกจากจะทำให้เราได้ทบทวนตัวเองในแต่ละวันแล้ว มันยังทำให้เราได้เห็นภาพรวมของทั้งปีได้ ว่าปีนี้ของเรานั้น เกิดความรู้สึกอะไรขึ้นมาบ้างเพื่อเป็นหมุดหมายในการทบทวนและพัฒนาตัวเองตามที่ใจเราต้องการ
[ ] สั่งซื้อได้ที่ Line OA : @missiontothemoon หรือคลิกที่ https://bit.ly/3RQ3F26
[ ] สามารถดูรายละเอียด Retreat Planner 2023 เพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/3QO0Opf
อ้างอิง:
– What Is a Mood Tracker? : Kendra Cherry, Verywellmind – https://bit.ly/3LzQnEM
– 5 Benefits of Labelling Your Feelings & Using a Mood Tracker : DiveThru Team, DiveThru – https://bit.ly/3qNLzSF
– How To Become More Aware of your Emotions and Triggers With Mood Tracking : Ellie Mental Health – https://bit.ly/3xB9TL2
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#MissionToTheMoonRetreatPlanner2023