INSPIRATIONเพราะคุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มได้วันนี้ด้วยมือของทุกคน

เพราะคุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มได้วันนี้ด้วยมือของทุกคน

ประมาณ 4-5 ปีที่ให้หลังมานี้ เชื่อว่าหลายคนนั้นเราคงได้ยินคำว่า “คุณภาพชีวิต” บ่อยครั้งมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นในวงสนทนาระหว่างเพื่อนฝูง บนบทวิจารณ์ในโซเชียลมีเดีย ไปจนถึงข่าวในโทรทัศน์ทั่วๆ ไป พวกเราหลายคนเริ่มได้ยินถึงคำวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นของคุณภาพชีวิตบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้ง

จริงๆ แล้วประเด็นของคุณภาพชีวิตนั้นเป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงและพูดถึงกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตั้งแต่อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นซึ่งเป็นเหตุมาจากสภาวะโลกร้อน แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะตอนนี้โลกกำลังอยู่ในภาวะที่สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก เมื่อปีที่แล้วทวีปยุโรปก็มีฝนตกหนักเป็นประวัติศาสตร์ ในปี 2022 ที่ผ่านมานี้ก็มีพายุไต้ฝุ่นโนรูที่ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายประเทศร่วมถึงในประเทศไทย จนล่าสุดเราก็เพิ่งพบเจอกับปัญหาเรื้อรังอย่างฝุ่น PM 2.5 อีกครั้งในช่วงต้นปี ซึ่งทั้งหมดนี้มันแสดงให้เห็นได้เลยว่า ตอนนี้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั่วทั้งโลกกำลังจะเปลี่ยนไป

และเนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังดูแย่ลงเรื่อยๆ นี้ ก็ส่งผลให้ผู้คนมากมายเริ่มหันมาใส่ใจในร่างกายของตัวเองมากขึ้น จนเกิดการกระแสของการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงหันมาใส่ใจในสุขภาพจิตมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของการมี “คุณภาพชีวิตที่ดี”

Mission To The Moon จึงได้มีโอกาสไปพูดคุยกับ รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน RISC by MQDC เพื่อเจาะลึกถึงประเด็นใกล้ตัวอย่าง “คุณภาพชีวิต” ว่าคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร ทำไมเราถึงควรรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีเอาไว้ รวมถึงวิธีการยกระดับคุณภาพชีวิตผ่านปัจจัยต่างๆ ที่พวกเราทุกคนไม่ควรมองข้ามด้วยประการทั้งปวง

“คุณภาพชีวิต” ที่โลกมอบให้เรา กำลังจะเปลี่ยนไป

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงมากมายในโลกปัจจุบัน เชื่อว่ามีผู้คนจำนวนมากที่กำลังรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตโดยตรงของพวกเขา ก็คือธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกที่กำลังอยู่ในทิศทางที่เรียกได้ว่า “ทรุดตัวลง” อย่างเห็นได้ชัด ตั้งสภาพอากาศเริ่มมีการแปรปรวนไปจนถึงทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังขาดแคลนจนเกิดการแย่งชิงทรัพยากรกันมากมาย จนทุกคนเริ่มตระหนักว่า สุขภาพองค์รวมหรือ Well-being ของโลกใบนี้นั้น คงจะไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับลูกหลานเจเนอเรชั่นต่อๆ ไปสักเท่าไรนัก

แต่ในขณะเดียวกันที่ดูเหมือนว่าสิ่งต่างๆ กำลังจะย่ำแย่ แต่มนุษย์เองก็มีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และเทคนิคการแพทย์มากมาย ทำให้พวกเราสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ มากมายที่เราไม่เคยคิดว่าจะทำได้มาก่อน แถมยังเป็นในลักษณะของวิธีที่เราไม่เคยคิดว่าสามารถที่จะทำได้มาก่อนอีกด้วย เรียกได้ว่าในทุกๆ ปัญหาที่เราได้พบเจอไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหน มนุษย์เองก็มีความสามารถและปัญญามากพอที่จะค้นหาทางแก้ไขได้เสมอ

แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการแก้ไขปัญหานั้นก็มักจะเป็น “แก้เมื่อสาย” เสมอ โดยต้องรอให้เกิดปัญหาขึ้นเสียก่อนแล้วหนทางแก้ไขถึงจะกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาวะโลกร้อน มลภาวะ หรือโควิด-19 ก็ตาม เพราะน้อยครั้งที่มนุษย์จากสามารถคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำขนาดที่จะมีวิธีแก้ไขเตรียมรับมือเอาไว้นั่นเอง

ว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตคนไทย

ถ้าหากตัดภาพมาที่ประเทศไทยอ้างอิงจากผลสำรวจของ NUMBEO (นัม-เบ-โอ) ประเทศไทยมีคุณภาพชีวิตอยู่ในอันดับที่ 73 ของโลก ซึ่งเรียกได้ว่าก็คงไม่ใช่อันดับที่คนส่วนใหญ่น่าจะไม่ค่อยพอใจเท่าไรนัก ซึ่งก็มีเหตุผลและปัจจัยมากมายที่มีส่วนใหญ่คุณภาพชีวิตของคนไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างจะต่ำ ตั้งแต่ ปัญหาสุขภาพจิตของคนยุคนี้ที่เกิดจากการทำงานหนัก ปัญหาจากฝุ่น PM 2.5 ที่เริ่มกลายมาเป็นปัญหาประจำช่วงท้ายและต้นปี ไปจนถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดขึ้นของโลก

ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น สาเหตุข้างต้นทั้งหมดนี้ก็กำลังทำให้เกิดอีกหนึ่งปัญหาที่พวกเราควรให้ความสำคัญก็คือ Lack of Happiness หรือดัชนีความสุขโดยรวมที่กำลังตกต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งไม่ได้เกิดแค่ในประเทศไทย แต่กำลังเกิดขึ้นกับคนทั้งโลกอีกด้วย

แต่เมื่อมองไปยังประเทศอื่นๆ หลายประเทศเองก็มีวิธีการจัดการปัญหาต่างๆ ที่ช่วยรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนของพวกเขาได้มากมาย โดยตัวอย่างที่ประเทศไทยสามารถเอาเป็นตัวอย่างในการนำมาปรับใช้ได้ก็คือ สิงคโปร์ เนื่องจากว่าสิงคโปร์นั้นเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีสภาพอากาศใกล้เคียงกับไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งสิงคโปร์นั้นมีกฎระเบียบในการจัดการปัญหาเรื่องพื้นที่สีเขียวได้อย่างดีเยี่ยม

โดยสิงคโปร์นั้นได้มีการออกกฎระเบียบอย่างชัดเจนว่า หากบริษัทใดต้องการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างใดๆ ก็ตามที่ต้องการการรื้อถอนต้นไม้และธรรมชาติออก บริษัทนั้นจำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบด้วยการปลูกต้นไม้หรือสร้างพื้นที่สีเขียวนั้นกลับมาให้เท่าเทียมกับที่พวกเขาได้ทำลายลงไป ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงเห็นว่าสิงคโปร์นั้นยังคงมีต้นไม้มากมายบนตึกสูงต่างๆ รวมถึงตามท้องถนนเช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดในการพัฒนาเมืองที่อยากจะทำให้คนมีความสุขอย่างปลอดมลพิษอย่างแท้จริง

โดยสิ่งหนึ่งที่ ดร.สิงห์ นั้นเสนอว่าสามารถประเทศไทยสามารถทำได้เพื่อสร้างผลกระทบในการจัดการปัญหาได้อย่างชัดเจนที่สุดก็คือเรื่องของการ “จัดการขยะ” ที่ไม่ได้จบแค่การเผาขยะทิ้งหรือเอาขยะไปฝังเพียงอย่างเดียว หากแต่คือการหมุนเวียนนำเอาขยะต่างๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใหม่ให้ได้มากที่สุด หรือว่า Recycling นั่นเอง โดยตอนนี้อัตราการ Recycle ของประเทศไทยเราตอนนี้อยู่เพียงแค่ 9-10% เท่านั้นซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำมาก

Advertisements

โดยการจัดการขยะนั้นจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ๆ อย่าง กรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ เนื่องจากว่าขยะนั้นเป็นต้นตอของปัญหาส่วนใหญ่ที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด มลภาวะ กลิ่นเหม็น ท่อน้ำอุดตันไปจนถึงปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรซึ่งถ้าหากปัญหาเรื่องขยะนี้ได้รับการจัดการและบริหารอย่างถูกวิธี ประเทศไทยนั้นจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างรอบด้านเลยทีเดียว

แล้วเป็นไปได้ไหมถ้าจะทำให้คนมีความสุขมากขึ้น?

โดยความสุขของแต่ละคนนั้นประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบด้วยกันนั้นก็คือ

1. ความสุขทางด้านจิตใจ (Metal Well-being)
2. ความสุขทางด้านกายภาพ (Physical Well-being)
3. ความสุขทางสภาพแวดล้อม (Environmental Well-being)

ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้คือองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยสร้าง “สุขภาวะ” ที่ดีให้กับทุกๆ คนได้ โดย RISC ที่เป็นศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนนั้น ก็ต้องการที่จะใช้หลักวิทยาศาสตร์ที่วัดผลและจับต้องได้ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน โดยศาสตร์แห่งความสุขหรือ Happiness Science เองนั้นก็เป็นหนึ่งใน 5 Hubs Reseach for Well-being ที่พวกเขากำลังพยายามศึกษาวิจัยอยู่ ซึ่งประกอบไปด้วย

1. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Plants & Biodiversity)
2. คุณภาพอากาศ (Air Quality)
3. ศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ (Happiness Science)
4. วัสดุและการใช้ทรัพยากร (Materials & Resources)
5. ศาสตร์ความพร้อมรับมือ (Resilience)

โดยศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ (Happiness Science) คือกลุ่มงานวิจัยเพื่อสร้างความสุขให้กับมนุษย์ ผ่านการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยา และวิจัยประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านสัญญานสมองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีและความสุขได้

ซึ่งการศึกษาและวิจัยเพื่อสร้างความสุขให้กับมนุษย์นั้น ผ่านการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยาของคนทุกช่วงวัย ด้วยการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่ผลกระทบของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ความเครียดและความกังวลของวัยผู้ใหญ่ ความเสื่อมถอยด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ เพื่อหาปัจจัยในการส่งเสริมในแต่ละช่วงวัยใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และนำความรู้ประยุกต์การออกแบบให้สอดคล้องและเอื้อต่อการใช้ชีวิตอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพื่อศึกษาและวิจัย “ผลกระทบของพื้นที่สีเขียวต่อการตอบสนองของสมองกับความเครียด” ด้วยเทคโนโลยีของ การวัดคลื่นสมอง ด้วย Encephalography; EEG with 64 active electrodes พบกับผลลัพธ์ที่น่าสนใจมากมายอย่างเช่น

[ ] ประสิทธิภาพการทำงานของสมาธิจะเพิ่มขึ้นในระดับความเครียดที่พอเหมาะ แต่ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองจะลดลงเมื่อระดับความเครียดนั้นสูงเกินไป
[ ] ผลของสิ่งแวดล้อมสีเขียวมีผลลดระดับความเครียด สมองของเราผ่อนคลายได้เมื่อใช้เวลาอยู่กับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ

การนำหลัก Well-being ทั้ง 5 มาผนวกกับชีวิตของมนุษย์

ทั้งนี้ RISC เองก็ไม่ได้ต้องการที่จะเป็นศูนย์วิจัยที่ปฏิบัติงานเชิงทฤษฎีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่พวกเขาตั้งใจที่จะสร้าง Well-Being ที่ดี เพื่อส่งเสริมความยั่งยืน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยวิจัย 5 ด้านหลักเพื่อ Well-being ที่ดีของทุกชีวิตให้กับทุกคน

Advertisements

1. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Plants & Biodiversity)

กลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาสัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริมและเกื้อกูลกัน สร้างคุณภาพชีวิตให้กับทุกสิ่งมีชีวิต สร้างระบบนิเวศที่ดีและยั่งยืน รวมถึงวิจัยดึงศักยภาพของต้นไม้สร้างประโยชน์อย่างคาดไม่ถึงได้

โดยการศึกษานี้เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการลดลงของพื้นที่สีเขียวในเมืองซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศโดยรวม จึงมีการศึกษาและวิจัยให้เกิดการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กับการรักษาและเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการสร้างกระบวนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนการพัฒนาเมืองให้เกิดความสมดุลและสร้างระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริมและเกื้อกูลกันเพื่อร่วมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับทุกสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศที่ดีและยั่งยืนได้

2. คุณภาพอากาศ (Air Quality)

กลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อผู้อยู่อาศัยในอาคารโดยตรงและส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร (Outdoor & Indoor Air Quality) การดูแลและรักษาคุณภาพภายในอาคารที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในอาคารโดยตรง ตั้งแต่กระบวนการออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดี การเลือกวัสดุที่ปลอดสารพิษ ระบบเครื่องกล ตลอดจนกระบวนการก่อสร้าง ที่ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารจากสภาพอากาศปัจจุบันที่เปลี่ยนไป

3. ศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ (Happiness Science)

โดยการศึกษานี้ต้องการเน้นสร้างความสุขให้กับมนุษย์ ผ่านการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยา และวิจัยประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านสัญญานสมองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังมียังทำวิจัยด้านประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านสัญญานสมองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเข้าใจการรับรู้สิ่งเร้าต่างๆ จากสภาพแวดล้อมรอบตัว ข้อมูลที่เก็บและแปลผลจากสัญญานสมองนำมาประยุกต์ใช้สร้างสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างการรับรู้เชิงบวกที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างความสุข รวมถึงการหาแนวทางในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ทั้งภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล สมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ และประยุกต์ความรู้สู่การช่วยเหลือคนและสังคมในวงกว้างต่อไป

4. วัสดุและการใช้ทรัพยากร (Materials & Resources)

โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอาคาร รวมถึงการใช้วัสดุทดแทนเพื่อลดการใช้ทรัพยากรโลกที่นับวันจะน้อยลงเรื่อยๆ ได้ หรือใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนการวิจัยเชิงลึกเพื่อพัฒนาวัสดุใหม่ (Innovation materials) เพื่อสร้างคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-being materials)

ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความคงทนของวัสดุรองรับการใช้งานได้ยาวนาน วัสดุที่มีความปลอดภัยช่วยลดแนวโน้มอุบัติเหตุ วัสดุที่ปลอดสารพิษลดแนวโน้มความเจ็บป่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดี วัตถุดิบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน ตลอดจนวัสดุที่ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า ตลอดจนปรับกระบวนการก่อสร้างให้ไม่เหลือเศษ การนำขยะมาพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้าง และด้านอื่นๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาโลกที่เกิดอยู่ในปัจจุบันและมีแนวโน้มจะมีปัญหาในอนาคตด้วย เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับมนุษย์และโลกของเรา

5. ศาสตร์ความพร้อมรับมือ (Resilience)

โดยเป็นการศึกษาและวิจัยในปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเมืองและโลกของเรา ทั้งปัญหามลภาวะอากาศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคน สังคม ตลอดจนภัยพิบัติต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกรวน (climate change) เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และวางแผนการสร้างอาคารและเมือง เพื่อสามารถตั้งรับได้ในทุกสถานการณ์ ทั้งการเตรียมตัวก่อนเกิดเหตุการณ์ การจัดการขณะที่เหตุการณ์รบกวนนั้นกำลังเกิดขึ้น และการฟื้นฟูภายหลังเหตุการณ์รบกวนนั้นผ่านไปแล้ว เพื่อสร้างการ “อยู่รอด (survive) ปรับตัว (adapt) และเติบโต (grow)” ได้ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงหรือยกระดับคุณภาพชีวิตนั้น หลายคนก็อาจจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ไกลตัวและเกินขีดจำกัดความสามารถของตน แต่อันที่จริงแล้วนั้นทุกคนเองก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกๆ คนได้ เราเพียงต้องหันมาใส่ใจชีวิตของตนเองให้มากขึ้นเท่านั้น

ซึ่งในวันนี้ทุกคนเองก็สามารถเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของทุกคนไปข้างหน้าอย่างง่ายๆ และไม่ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีชีวิตตัวเองมากมาย ขอแค่เริ่มต้นด้วยการหันมาเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะมากขึ้น เริ่มเรียนรู้และบริหารจัดการแยกขยะภายในบ้านของตัวเอง รวมถึงตระหนักและอุดหนุนสินค้าที่มีฉลากว่า “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ก็มีส่วนช่วยเหลือได้มากเช่นกัน

การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น ต้องมีตัวขับเคลื่อนหลักอย่างเช่นหน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของทุกคนนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนที่ต้องช่วยกันสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กันและกัน

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า