PSYCHOLOGYTrauma Dumping เพราะการระบายความเจ็บช้ำ ไม่ควรทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

Trauma Dumping เพราะการระบายความเจ็บช้ำ ไม่ควรทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

เวลาที่เราเศร้า เวลาที่เราเหงา หรือเกิดความทุกข์ เราเลือกที่จะระบายมันออกอย่างไร?
เราทุกคนล้วนเคยมีวันที่ยากลำบากหรือช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความทุกข์กันมาบ้าง มันอาจจะเป็นวันที่อะไรดูจะไม่เป็นใจให้เราสักอย่าง ตั้งแต่เอานิ้วก้อยไปเตะปลายเตียงตั้งแต่เช้า เดินช้าไปก้าวหนึ่งทำให้ขึ้นรถไฟฟ้าไม่ทัน ไปทำงานสายโดนเจ้านายว่า จวบจนการต้องฝ่าพายุฝนที่ตกหนักเวลากลับบ้าน ทั้งหมดนี้มันเป็นอุปสรรคที่หลอมรวมกันให้เกิดความทุกข์สะสมภายในใจที่ต้องการระบายออก

เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาที่ยากลำบากและอ่อนไหวแบบนี้ หลายคนก็มักจะหันไปหาบุคคลที่เราสามารถไว้ใจได้ให้รับฟังความทุกข์หรือรับฟังปัญหาของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสนิท คนรัก หรือครอบครัว โดยเมื่อเราได้ทำการแบ่งปันความเครียด ความวิตกกังวล และความกังวลนั้น สามารถช่วยทำให้เรารับมือกับความทุกข์ภายในใจได้ดีขึ้น

แต่คำถามก็คือ เมื่อเวลาที่เราจะทำการระบายสารพิษเหล่านี้ออกไปจากจิตใจ เราเคยหันกลับมามองและฉุกคิดบ้างไหมว่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้มันเกินขอบเขตของการ “ระบาย” บ้างหรือเปล่าจนสร้างความลำบากใจให้กับผู้ที่รับฟังเรา จนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า Trauma Dumping

Trauma Dumping เมื่อเราบังเอิญปล่อยพลังงานลบใส่ผู้อื่นอย่างไม่รู้ตัว

คำว่า Trauma Dumping นั้น หมายถึงเวลาที่ใครสักคนพยายามที่จะระบายความทุกข์ของตัวเองให้คนรอบข้างฟังในปริมาณที่ “มากเกินไป” จนทำให้คนที่เป็นฝ่ายรองรับการระบายนั้นเกิดความลำบากใจ ทำตัวไม่ถูก ไปจนถึงขั้นเกิดความทุขก์ใจขึ้นเสียเอง ซึ่งในบางกรณีอาจจะใช้คำว่า Oversharing ที่มีความหมายคล้ายคลึงกันแทน

โดยส่วนใหญ่แล้วเวลาคนเรากำลัง Trauma Dumping นั้น คนที่เป็นฝ่ายระบายมักจะไม่ได้คำนึงถึงจิตใจของผู้ฟังเสมอไป มีลักษณะเหมือนกำลัง “จู่โจม” ผู้ที่รับฟังแบบไม่ทันได้ตั้งตัวหรือเตรียมใจเพื่อมารับฟังมาก่อนใดๆ เลย

คล้ายคลึงกับการสูบบุหรี่มือสอง (Second-Hand Smoke) Carlar Manly นักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญในการรักษา ปัญหาความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า และความสัมพันธ์ อธิบายว่า แม้การ Trauma Dumping นั้นจะทำให้ผู้ระบายรู้สึกโล่งใจหรือสบายใจขึ้นมา แต่มันก็อาจทำให้ผู้รับสารนั้นเกิดความรู้สึก เหน็ดเหนื่อย ดาวน์ อึดอัด โกรธ รู้สึกกำลังโดนเอาเปรียบ เมื่อต้องรับฟังมันมากเกินไป โดยอย่างแย่ที่สุดก็คือไปกระตุ้นเหตุการณ์สะเทือนใจในอดีตที่เลวร้ายของตัวเองขึ้นมาอีกรอบ

ถามว่า การ Trauma Dumping นั้นต่างกันกับการ “ระบาย” เฉยๆ อย่างไร? โดย Brittany Becker ประธานที่ปรึกษาสุขภาพจิตของ The Dorm ชุมชนการรักษาเรื่องสุขภาพจิตแบบครบวงจรได้อธิบายความแตกต่างระหว่างการ Trauma Dumping กับ Venting (การระบายอารมณ์) เอาไว้ว่า บางคนที่มักกระทำการ Trauma Dumping อยู่บ่อยๆ มักจะรู้สึกว่าพวกเขาจำเป็นต้องแบ่งปันเกี่ยวเรื่องราวและประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจให้กับเพื่อน สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือแม้กระทั่งกับคนรู้จักฟังอยู่เสมอ แต่ว่าพวกเขาอาจจะไม่เข้าใจถึงความรุนแรงหรือความหนักหน่วงของสิ่งที่พวกเขากำลังจะระบายออกไปให้คนอื่นฟังเสมอไป

แต่เพราะว่าเส้นแบ่งระหว่างการระบายกับการ Trauma Dumping และขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย เพราะฉะนั้นเรามาลองเช็กว่าเรากำลัง Trauma Dumping ใส่คนรอบข้างอย่างไม่รู้ตัวอยู่หรือไม่

ระบายเรื่องราวเดิมซ้ำๆ หรือพยายามอธิบายภาพรายละเอียดของเหตุการณ์อย่างเกินจำเป็น
มักชอบสอดแทรกเรื่องราวที่กระทบกระเทือนใจในอดีต เข้าไปอยู่บทสนทนาทั่วไป
ไม่ค่อยรู้เรื่องของคนที่เราชอบไประบายให้ฟัง
พยายามตั้งใจเลือกคนระบายโดยที่เรารู้ว่าคนคนนี้ จะไม่ปฏิเสธการระบายของเราแน่นอน
มักโพสต์เรื่องราวหรือเหตุการณ์สะเทือนใจบนโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องปกติ

Advertisements
Advertisements

แล้วเราควรเลิกระบายความรู้สึกทั้งหมดเลยหรือไม่?

คำตอบคือไม่ควรหยุดอย่างแน่นอน เพราะว่าการระบายเรื่องราวและเหตุการณ์สะเทือนใจต่างๆ ในชีวิตเราให้บุคคลที่เรารักและไว้ใจนั้นนอกจากจะเป็นเรื่องที่ดีแล้ว มันอาจจะยังเป็นเรื่องที่จำเป็นอีกต่างหากท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่เราทุกคนต้องเกิดการตระหนักและระวังให้มากขึ้นก็คือ เหตุการณ์สะเทือนใจของเรานั้นควรจะได้รับการระบายออกไปแบบที่ไม่สร้างความลำบากใจให้ผู้อื่นเช่นกัน

เพราะฉะนั้น ขั้นตอนแรกก่อนที่เราจะตัดสินใจระบายเรื่องทุกข์ระทมใดๆ ออกไปให้คนอื่นฟัง ลองถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ก่อน

การระบายของเรา สามารถมีผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไรได้บ้าง?
ทำไมเราถึงอยากระบายเรื่องนี้? เพราะว่าเราไว้ใจคนคนนี้? หรือเพียงแค่ว่ามันรู้สึกดีที่ได้พูดออกไป?
เราได้ให้โอกาสคนที่รับฟังเรา ได้ระบายความในใจกลับมาให้เราด้วยหรือไม่?
เราได้ให้โอกาสคนที่รับฟังเราเลือกที่จะรับฟังเราหรือไม่?
คนอื่นสบายใจไหม ที่จะรับฟังการระบายของเรา
เราเคยระบายเรื่องนี้ให้พวกเขาฟังไปแล้วหรือยัง?

แต่สำหรับในกรณีที่ตัวเราไม่อยากระบายเรื่องนี้ให้คนใกล้ชิดฟัง หรือไม่มีใครที่เชื่อว่าจะเข้าใจเราได้อย่างแท้จริงเลย การพูดคุยบำบัดกับจิตแพทย์นั้นก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่เราสามารถเลือกได้อย่างไม่น่าอายเสมอ

เพราะจิตแพทย์ คือผู้ที่ได้รับการศึกษาและฝึกฝนเพื่อเป็นผู้รับฟังและให้คำปรึกษาได้ปัญหาสุขภาพจิตโดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากต่อการช่วยเยียวยาจิตใจที่บอบช้ำของเราจากเหตุการณ์สะเทือนใจต่างๆ แถมไม่ต้องรู้สึกลำบากใจว่าเราจะไปฝากความบอบช้ำให้กับใครโดยที่เขาไม่ยินยอมอีกด้วย

ทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นการบอกว่า การระบายและการกล้าจะพูดคุยถึงปัญหาที่ตัวเองกำลังเผชิญนั้นเป็นเรื่องไม่ดี แต่สิ่งที่เราทุกคนควรตระหนักเอาไว้ก็คือ “สิทธิ์ของตัวเรา” เฉกเช่นเดียวกันกับ “สิทธิ์ของคนอื่น” เพราะในขณะที่ตัวเรานั้นมีสิทธิ์ในการระบายความรู้สึกฉันใด พวกเขาเองก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฟังเรื่องราวต่างๆ ของเราฉันนั้น

กุญแจสำคัญคือการยืนยันความยินยอมร่วมกันเมื่อพูดถึงหัวข้อที่อาจอธิบายออกมาได้ยาก รับฟัง และช่วยเหลือกันด้วยความจริงใจ


ที่มา:
https://bit.ly/3e64CEn
https://bit.ly/3AWJiKQ
https://bit.ly/3e6DOUN
https://cle.clinic/3AUeb2a

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#psychology
#traumadumping

 

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า