INSPIRATIONทำความเข้าใจหลักการเงิน "Impossible Trinity" สามนโยบาย ที่เลือกได้แค่สอง 

ทำความเข้าใจหลักการเงิน “Impossible Trinity” สามนโยบาย ที่เลือกได้แค่สอง 

“Impossible Trinity” หรือสามเหลี่ยมที่เป็นไปไม่ได้ เป็นหนึ่งทฤษฎีในการเงินสำคัญของโลกที่มีผลโดยตรงกับอัตราแลกเปลี่ยน

“หยวนแข็งค่า-ธนาคารกลางจีนเข้าแทรกแซง!”
“เยนอ่อนค่า-ธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้าแทรกแซง!”

เมื่อค่าเงินแข็ง-อ่อน ทำไมธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ต้องเข้าแทรกแซง?
หลายๆ คนน่าจะเกิดคำถามเมื่อเห็นพาดหัวข่าวเหล่านี้ เราลองมาหาคำตอบจากทฤษฎี “Impossible Trinity” กัน

Impossible Trinity นโยบายการเงินสามทาง ที่เลือกได้แค่สอง

Impossible Trinity หรือสามเหลี่ยมที่เป็นไปไม่ได้ เป็นทฤษฎีที่เอาไว้กำหนดกรอบการออกนโยบายการเงินของประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่คีย์สำคัญคือ Impossible Trinity นั้นจะประกอบไปด้วยนโยบายการเงินสามทาง แต่สามารถเลือกได้แค่สองทางเท่านั้น ได้แก่

1) Fixed Exchange Rate : ขอกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เอง
2) Free Capital Flow : การอนุญาตให้เงินไหลเข้าออกอิสระ
3) Monetary Autonomy : ขอกำหนดโนบายทางการเงินเอง เช่น ดอกเบี้ย

หลักทำความเข้าใจ Impossible Trinity

จากกฎเกณฑ์ทั้งสามข้อ เราจะเห็นว่าข้อที่ “ฝืนธรรมชาติ” ที่สุดคือข้อ 1 หรือการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ เพราะมันฝืนกลไก Demand-Supply ของตลาดอย่างชัดเจน

[ ] ดอกเบี้ยดี เศรษฐกิจดี เงินนอกไหลเข้า ค่าเงินก็แข็ง
[ ] ดอกเบี้ยต่ำ เศรษฐกิจแย่ เงินก็ไหลออก ค่าเงินก็อ่อน

นี่เป็นธรรมชาติของตลาด เพราะเงินจะวิ่งหาที่สูงเสมอ

แต่เนื่องจากการเข้าไปคุมอัตราแลกเปลี่ยนเป็นการฝืนธรรมชาติและฝืนกลไกตลาด ทำให้นโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกส่วนมาก เลือกที่จะใช้ข้อ 2 กับ 3 คือ Free Capital Flow และ Monetary Autonomy คือการยอมปล่อยให้เงินทุนไหลเข้าออกอิสระ และธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ขอกำหนดอัตราดอกเบี้ยเองตาม Demand-Supply ที่เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นประเทศที่เลือกข้อ 1 จะมีกลิ่นของความต้องการที่อยากจะควบคุมสูงมาก
ยิ่งถ้าเลือกข้อ 1 กับข้อ 3 หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนก็จะคุม อัตราดอกเบี้ยก็จะคุม หมายถึงประเทศที่ต้องการมี Full Control (การควบคุมแบบสมบูรณ์) กับเงินของประเทศตัวเอง

พอเห็นลักษณะการ “ควบคุม” แบบนี้ ประเทศที่นึกออกเป็นที่แรกๆ ก็เห็นจะไม่พ้น “ประเทศจีน”

Advertisements

“จีน” กับนโยบายข้อ 1 และ 3 และ “ฮ่องกง” กับนโยบายข้อ 1 และ 2 

ประเทศจีนเป็นประเทศที่เลือกใช้นโยบาย Impossible Trinity ข้อ 1 กับข้อ 3 เพราะฉะนั้นจีนจะปล่อยให้เงินทุนไหลเข้าออกอย่างอิสระไม่ได้ ไม่งั้นจะมี Demand ทะลักเข้ามาเก็งกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยจนเศรษฐกิจพัง

คราวนี้ก็จะมีประเทศที่เลือกอีกแบบใน Impossible Trinity คือการขอเลือกข้อ 1 กับข้อ 2 ซึ่งก็คือการขอกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และขอให้เงินทุนไหลเข้าออกอิสระได้

แปลว่าเป็นประเทศที่ใช้นโยบายแบบนี้ต้องการสร้างความ “เสถียร” ของค่าเงินที่ไหลเข้าออกจึงน่าจะเป็นประเทศที่พึ่งพาธุรกิจด้านการเงิน (Financial Service) เป็นหลัก และต้องการให้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนการเงินของโลก

พอเข้าใจลักษณะนโยบายแบบนี้ เราเลยจะนึกถึงที่ที่เหมาะสมอย่าง “ฮ่องกง”
ฮ่องกงจึงเป็นที่ที่ใช้นโยบายการเงินข้อ 1 และข้อ 2 แต่แน่นอนว่า ฮ่องกงต้องยอมต้องสูญเสียข้อสามไป ด้วยการไม่สามารถดำเนินนโยบายทางการเงินของตัวเองอย่างการขึ้นดอกเบี้ยได้เอง แต่ต้องปรับนโยบายการเงินไปตามประเทศที่ตัวเองผูกค่าเงิน (Peg) อยู่ซึ่งก็คือสหรัฐฯ

จึงเป็นที่มาว่าทำไมการคุมอัตราแลกเปลี่ยน HKDUSD ต้องพึ่งพานโยบายดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เป็นหลัก

Advertisements

ประเทศที่เจ็บตัวเพราะฝืน “Impossible Trinity”

ในอดีตเคยมีประเทศที่ “ฝืน” กฎ Impossible Trinity แล้วเจ็บตัวหนักมาก

เดิมปล่อยเงินทุนไหลเข้าออกอิสระ (2)
และเลือกมีนโยบายการเงินของตัวเอง (3)
แต่ดันอยากคุมอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (1) ไปด้วย

นโบายทางการเงินที่ว่ามานั้นเป็นของ “ประเทศไทย” นั่นเอง จึงทำให้เกิดผลกระทบอันใหญ่หลวงตามมา เป็นวิกฤตที่เรารู้จักกันในชื่อ “วิกฤตต้มยำกุ้ง”

โดยเหตุการณ์ต้มยำกุ้งปี 1997 ในประเทศไทย เกิดจากการฝืนกฎของ Impossible Trinity แบบเต็มๆ ด้วยการคุมอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่เรต 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งๆ ที่ตอนนั้นประเทศไทยยอมปล่อยให้เงินเข้าออกอิสระและเป็นผู้กำหนดดอกเบี้ยขึ้นลงเอง

และด้วยความที่กำหนดดอกเบี้ยเองได้ไม่ต้องอิงกับประเทศไหน ทำให้ตอนนั้นดอกเบี้ยในไทยสูงกว่าดอกเบี้ยในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก (ของไทยอยู่ที่ 14-16% แต่ของสหรัฐฯ อยู่ที่ 5% นิดๆ เท่านั้น)

ซึ่งส่วนต่างกว่า 10% ของดอกเบี้ยตรงนี้ คือส่วนต่างที่มีคนเข้ามาเก็งกำไรอย่างมหาศาล และก่อให้เกิดเป็นฟองสบู่ของราคาสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดลูกนึงของประวัติศาสตร์ชาติไทย ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์

จากฝันดีเริ่มเป็นฝันร้าย จากกลไกที่บิดเบี้ยว เพราะเมื่อถึงวันหนึ่ง ที่มีผู้ซื้อแต่ไม่มีผู้ขาย Supply ออกมาล้นเกิน Demand สภาพเศรษฐกิจจึงกลับไปสู่หลักการตามธรรมชาติของมัน เมื่อมีขึ้นก็ต้องมีลง

เมื่อเศรษฐกิจแย่ โดยส่วนมากแล้วเงินก็จะไหลออกและค่าเงินก็จะอ่อนเป็นปกติ แต่หากเลือกที่จะตรึงค่าเงินไว้อีก สุดท้ายก็จะพัง จากการฝืนกลไกของตลาดนั่นเอง

ถึงแม้เราจะมองว่าเป็นฝีมือของ Hedge Fund ต่างชาติที่เข้ามารุมทึ้งประเทศไทยอย่างโหดร้าย แต่ความจริงอย่างนึงที่ปฏิเสธไม่ได้ คือเราเป็นคนเปิดแผลนั้นไว้เองตั้งแต่แรก

Impossible Trinity
มีสามแต่เลือกได้แค่สอง
เพราะฝืนไปมีแต่พังกับพัง

เรื่องนี้ใช้ได้ตั้งแต่ภาพเศรษฐกิจยันการใช้ชีวิตคู่ครับ

จบวิชาเศรษฐศาสตรข้างบ้าน 101 ประจำวันนี้
ลองเรียนรู้กันด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่ท่องจำ แล้วโลกการเงินจะสนุกขึ้นอีกเยอะครับ

ผู้เขียน: คุณเป๊ก ปุณยวีร์ จันทรขจร เจ้าของผลงานหนังสือ Money Game และ Forex Real Analysis

#inspireproject
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

 

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า