อุดรอยรั่วของ “ต้นทุนแฝง”

2387

(Sponsored Post)

ถ้าวันนี้คุณทำธุรกิจที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 20% ขายได้หนึ่งล้าน ก็จะเท่ากับกำไรสองแสนบาท การจะทำกำไรเพิ่มขึ้นจากสองแสนเป็นสี่แสน หรือโต 100% คุณจะต้องขายให้ได้มากขึ้นหนึ่งล้านบาท แต่ในทางตรงกันข้ามหากคุณสามารถมองหาวิธีที่จะลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น หรือต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใดๆ ได้สองแสน นั้นเท่ากับคุณกำไรโต 100% ทันที โดยที่ไม่ต้องหาลูกค้าใหม่ หรือขายเพิ่มหนึ่งล้านบาทเลย

ฉะนั้นสำหรับคนทำธุรกิจแล้วเรื่องของต้นทุน เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเพิ่มยอดขาย และแน่นอนว่าต้องลดให้ถูกจุดด้วย บางอย่างถ้าลดแล้วมีผลกระทบต่อธุรกิจหรือลูกค้าก็ควรที่จะต้องคิดให้ละเอียด

Advertisements

แต่มันจะมีต้นทุนประเภทหนึ่งที่คนทำธุรกิจหลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดี แต่บางครั้งก็อาจจะมองข้ามไป เจ้าต้นทุนที่ว่านี้มีชื่อเรียกเท่ๆ ว่า implicit cost หรือ ต้นทุนแฝง

ต้นทุนแฝง นั้นสามารถมาได้จากทุกส่วนของธุรกิจ ตั้งแต่ กระบวนการผลิต, การตลาด, ระบบ Software ไปจนถึงเรื่องของอุปกรณ์สำนักงานเองต่างๆ ก็มีต้นแฝงด้วยเช่นกัน อย่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปริ้นที่ไม่ได้คุณภาพ ส่งผลให้ต้องใช้พลังงานที่มากเกินความจำเป็น พูดง่ายๆ ก็คือ “ได้ไม่คุ้มเสีย”

และในบทความนี้เราจะมาพูดถึง “ต้นทุนแฝง” ที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานกันนี่ล่ะ เพราะถ้าได้ลองคิดคำนวณและวางแผนดีๆ แล้ว จะเห็นว่าเราสามารถประหยัดต้นทุนในส่วนนี้ลงได้ไม่น้อยเลย ยิ่งไปกว่านั้น การลดใช้พลังงานยังเป็นอีกปัจจัยที่สามารถช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

Save Energy, Save Cost 

มีงานวิจัยจาก Mckinsey ระบุว่า อุตสาหกรรมที่มีการตรวจสอบและปรับปรุงเรื่องการใช้พลังงานอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 10-20 เปอเซ็นต์ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 600,000 ล้านเหรียญต่อปี และส่วนใหญ่สามารถคืนทุนได้ภายใน 3 ปี

นี่ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ เพราะเรื่องนี้นั้นฟังดูเหมือนง่าย แต่ความจริงนั้นไม่ง่ายเลยที่จะทำให้องค์กรสามารถลดการใช้พลังงาน และลดต้นทุนได้ในระยะยาว

5 แนวคิดการลดต้นทุน และเพิ่มกำไรอย่างยั่งยืน 

Mckinsey ได้นำเสนอ 5 แนวคิดที่น่าสนใจ สำหรับควบคุมต้นทุนและสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้ในระยะยาว

1. ใช้แนวคิด Lean Thinking:

แนวทางที่ให้เรามองหาช่องทางการลดความสิ้นเปลืองและสูญเปล่า (Wastes) ของทุกกิจกรรม และกระบวนการดำเนินงานที่ไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่า โรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในอินโดนีเซีย สามารถลดค่าใช้จ่ายต่อเมกะวัตต์ได้ถึง 7% ภายใน 4 เดือน ด้วยการสร้างตัววัดผลแล้วมีการติดตามอย่างเป็นระบบ

2. สร้างขีดจำกัด:

วิเคราะห์และระบุการใช้พลังงานไปเลยว่า จะใช้เท่าไหร่ที่เป็นขั้นต่ำที่สุด เพราะการตั้งเป้าหมายจะช่วยให้เรารู้ว่า ควรต้องทำอะไร และช่วยให้คนในองค์กรเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่จะให้เป้าหมายการประหยัดพลังงานเป็นจริง ซึ่งบริษัทที่ผลิตเหล็กในจีนก็ได้ใช้แนวคิดนี้ ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายเรื่องการใช้ความร้อน และลดต้นทุนการผลิตลงไปอย่างมาก

3. คิดกำไรต่อชั่วโมง:

ลองประมาณดูว่าใน 1 ชั่วโมงควรได้ผลผลิตเท่าไหร่ และจะส่งผลอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม และการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตไปแค่ 1 ขั้นตอน อาจจะสร้างกำไรให้กับเรา มีบริษัทยาแห่งหนึ่งมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ใช้พลังงานปริมาณเท่าเดิม หลังจากที่ทดลองกระบวนการนี้ 

4. คิดแบบองค์รวม:

การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคนิค แต่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรม และปรับระบบการจัดการในทุกภาคส่วนขององค์กร

Advertisements

5. คิดแบบวงกลม:

พิจารณาดูว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ของเราส่งผลต่อธุรกิจและส่งผลต่อโลกอย่างไร ถ้าผลิตภัณฑ์ส่งผลกระทบในด้านลบ เราอาจจะต้องหาที่ปรึกษา หรือผู้ให้บริการอื่นๆ ที่สามารถช่วยให้เรามีกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น และใช้จ่ายด้านต้นทุนน้อยลง 

หนึ่งในต้นทุนแฝงที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง

หนึ่งในอุปกรณ์สำนักงานที่แทบทุกองค์กรต้องมี และอาจจะเป็นต้นทุนแฝงของหลายๆ บริษัท นั่นก็คือ เครื่องพิมพ์หรือเครื่องถ่ายเอกสาร บางครั้งเราอาจจะมองว่า บรรดาเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสารมีความคล้ายๆ กันหมด จะใช้รูปแบบไหนค่าใช้จ่ายก็น่าจะไม่ต่างกันมาก 

แต่ถ้าเราพิจารณากระบวนการทำงานของเครื่องพิมพ์แต่ละรูปแบบดีๆ จะเห็นว่า เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ อาจจะสร้างต้นทุนแฝงให้เรามากกว่าการใช้เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจท

จากการทดสอบของ Keypoint Intelligence-Buyers Lab ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Epson ได้ระบุว่า เพียงแค่ใช้เครื่องพิมพ์ประเภทอิงค์เจท ก็ใช้พลังงานน้อยและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ถึง 85% 

เครื่องพิมพ์เลเซอร์มีขั้นตอนการทำงานถึง 6 ขั้นตอน 1)ชาร์จ 2)เปิดรับแสง 3)Develpoment 4)โอนข้อมูล 1 5)โอนข้อมูล 2 6)Fixing ในขณะที่เครื่องพิมพ์อิงค์เจทมีเพียงแค่ขั้นตอนเดียวคือ พ่นหมึก ดังนั้นเครื่องพิมพ์อิงค์เจทจึงใช้ไฟเพียงแค่ 170-180 วัตต์ แต่เครื่องพิมพ์เลเซอร์ใช้ไฟ 600-1,800 วัตต์

และการใช้เครื่องพิมพ์ประเภทอิงค์เจท จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพิมพ์ เพราะสามารถพิมพ์ได้เร็วถึง 100 หน้า/นาที

หลังจากที่ Epson เห็นว่า การใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรได้มากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จึงได้ออกแคมเปญ “The Ecological Choice” คือ แนวคิดการทำธุรกิจที่ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

โดยเริ่มจากการใช้ Heat-Free Technology ในเครื่องพิมพ์อิงค์เจทของเอปสันคือ เทคโนโลยีหัวพิมพ์ที่ไม่ใช้ความร้อนในการพ่นหมึกจากหัวพิมพ์ แต่ใช้แรงดันไฟฟ้า โดยจะช่วยลดการสึกหรอของหัวพิมพ์และยังประหยัดเงินจากการใช้ไฟฟ้าที่น้อยลง ต่างจากหัวพิมพ์แบบใช้ความร้อนทั่วไปที่ต้องใช้เวลาเตรียมเครื่องก่อนพิมพ์ และพักเครื่องระหว่างพิมพ์เพื่อระบายความร้อน 

และกระบวนการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์อิงค์เจทจาก Epson สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ การปล่อยก๊าซ CO2 ของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ต้องใช้ต้นไม้ถึง 8 ต้นใน การดูดซับก๊าซ CO2 แต่เครื่องพิมพ์อิงค์เจทนั้น ใช้ต้นไม้เพียงแค่ต้นเดียวในการดูดซับได้

ไอเดียธุรกิจของ Epson ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ตอบโจทย์ความเป็น The Ecological Choice ได้เป็นอย่างดี นอกจากธุรกิจจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยังเป็นตัวช่วยที่ทำให้องค์กรอื่นๆ ได้ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และเพิ่ม Value ให้กับธุรกิจ

ความสามารถในการลดต้นทุน และศักยภาพในการรักษาสิ่งแวดล้อม จะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่จุดเล็กๆ และถ้าเราทบทวนประเด็นนี้กันดีๆ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตไม่กี่ขั้นตอน อาจจะสร้างกำไรให้เราในแบบที่คาดไม่ถึงเลยก็ได้

**ข้อมูลอ้างอิงจาก www.epson.co.th/ecologicalchoice

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่