BUSINESSสร้างความแกร่งให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงด้วย“คุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน”

สร้างความแกร่งให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงด้วย“คุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน”

ไม่ว่าธุรกิจแบบไหนก็คงอยู่ไม่ได้หากขาดคนทำงาน เพราะพวกเขาเปรียบเสมือนอะไหล่และฟันเฟืองหลากหลายชนิด รูปร่าง ขนาด แต่ละชิ้นมีความสำคัญแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าจะชิ้นไหนก็มีส่วนในการขับเคลื่อนให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้า

หากมีชิ้นส่วนใดที่ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ขัดข้อง หรือหายไปก็อาจส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ เช่นเดียวกับธุรกิจที่ขาดพนักงานคนใดคนหนึ่งไปก็อาจจะทำให้แผนที่วางไว้ผิดไปจากเดิม หรือแย่กว่านั้นหากอะไหล่จำนวนมากหยุดทำงานหรือขัดข้องพร้อมกัน ก็อาจทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก ไม่เติบโต ท้ายที่สุดก็อาจจะต้องปิดตัวลงไปอย่างน่าเสียดาย

หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องช่วยไม่ได้ เพราะเหตุการณ์เหล่านั้นมันเป็น ‘อุบัติเหตุ’ หรือก็คือความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับ หารู้ไม่ว่าแท้จริงแล้วอุบัติเหตุที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการสร้าง “วัฒนธรรมองค์กร” (Organizational culture)

วัฒนธรรมองค์กรเป็นหนึ่งในแนวทางการบริหารคนจำนวนมากที่มาใช้เวลากว่าครึ่งวันด้วยกันในบริษัทหนึ่ง ด้วยการสร้างเป้าหมาย ค่านิยมและคุณค่าที่ยึดถือร่วมกัน ผ่านการออกนโยบายบริษัท สวัสดิการ หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น

ตัวอย่างวัฒนธรรมองค์กรที่ใช้กันมานานและอาจยังคงหลงเหลือให้เห็นบ้างในยุคนี้คือการยึดถือค่านิยม ‘ความเป็นมืออาชีพ’ ที่สนับสนุนให้พนักงานแยกเรื่องส่วนตัวและเรื่องงานออกจากกัน ตัดอารมณ์ทิ้งและต้องจัดการอย่างไรก็ได้ไม่ให้ปัญหาส่วนตัวมากระทบกับประสิทธิภาพการทำงานเด็ดขาด

แนวคิดนี้อาจฟังดูรัดกุมแต่ก็น่าจะคงระดับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้อย่างดีอาจก่อให้เกิดผลดีกับธุรกิจอย่างที่หวัง ทว่าแนวคิดวัฒนธรรมองค์นี้กลายเป็นเรื่องล้าสมัยหลังจากมีงานวิจัย การศึกษา และผลสำรวจมากมายออกมาพูดเสียงเดียวกันว่าวัฒนธรรมองค์กรอันรัดกุมดังกล่าวเป็นภัยต่อธุรกิจมากกว่า

วัฒนธรรมองค์กรที่ละเลยชีวิตส่วนตัวพนักงานส่งผลเสียต่อธุรกิจอย่างไร?

หนึ่งในการศึกษาของสมาคมจิตวิทยาอเมริกันยังแสดงให้เห็นว่าการละเลยชีวิตส่วนตัวพนักงานเพิ่มต้นทุนด้านสาธารณสุข โดยเฉลี่ยแล้วส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอเมริกากว่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เผยว่าปัญหาสุขภาพจิตอย่างซึมเศร้าหรือวิตกกังวลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกถึงหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เพราะมนุษย์เต็มไปด้วยมิติมากมายที่ทับซ้อนกัน การทำเป็นเหมือนมิตินั้นไม่มีอยู่ไม่ได้ช่วยให้มันหายไปไหน เช่นเดียวกับปัญหาในชีวิตส่วนตัว พยายามเมินเฉยแค่ไหนปัญหามันก็ไม่ได้หายไปเอง และหากปล่อยให้ทับถมขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะล้นทะลักออกมาจนกระทบกับมิติอื่นไปหมด

การละเลยชีวิตส่วนตัวของพนักงานและบังคับให้ต้องจดจ่อกับการทำงานเต็มประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลาก็คือการละเลยปัญหาอย่างหนึ่ง ท้ายที่สุดแล้วพนักงานที่ต้องแบกรับทั้งปัญหาส่วนตัวและปัญหาเรื่องงานอยู่เพียงคนเดียวอาจถูกดึงเข้าไปสู่ปัญหาเรื้อรังอย่างปัญหาสุขภาพจิต

แล้วมันเกี่ยวข้องอย่างไรกับธุรกิจ? อย่างที่กล่าวไปว่าทุกธุรกิจย่อมต้องการให้ฟันเฟืองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ กลับกันปัญหาต่างๆ ที่พนักงานต้องแบกรับเป็นเหมือนสนิมที่กัดกร่อนอะไหล่ของเราจากข้างใน หากละเลยไปกว่าจะรู้ตัวอีกทีสนิมก็กินจนชิ้นส่วนนั้นใช้งานไม่ได้อีกต่อไป

สนิมดังกล่าวจะไม่ได้โผล่ออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมตั้งแต่แรก แต่จะแฝงตัวอยู่ในรูปของพนักงานที่หมดไฟ ไร้แรงจูงใจในการทำงาน ไม่อยากตื่นมาทำงานในตอนเช้า จำนวนวันลาที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการลาออกสูง ประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง ในจุดนี้ผู้ประกอบการอาจจะสับสนว่าก็เห็นพนักงานทำงานอยู่แต่ทำไมงานถึงไม่เดินหน้าหรือไม่ได้คุณภาพตามเดิม

โดยผลสำรวจจากเว็บไซต์สำรวจความเห็นเจ้าใหญ่อย่าง Gallup เผยให้เห็นว่า พนักงานกว่า 53% เผชิญกับปัญหาด้านการเงิน ตรงกันกับข้อมูลจาก Forbes ที่กล่าวว่าคนรุ่นใหม่โฟกัสกับความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นหลังจากการระบาดของโควิด-19 อีก 76% เผชิญกับปัญหาสุขภาพทั้งกายและใจ และในบรรดาพนักงานเหล่านั้น มีพนักงานกว่า 85% ที่หลุดการเชื่อมต่อกับงานไป

สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association: APA) ยังได้เผยให้เห็นอีกว่า เมื่อคำนวณแล้วความเครียดจากการทำงานทำให้เสียวันทำงานไปกว่า 550 ล้านวันต่อไป นอกจากนี้อาการหมดไฟยังเป็นสาเหตุให้พนักงานหางานใหม่เพิ่มขึ้น 2.3 เท่า การหมดแรงจูงใจยังนำไปสู่การลาป่วยเพิ่มขึ้นถึง 63% และอีก 23% ไปจบลงที่ห้องฉุกเฉิน

อีกหนึ่งเหตุผลที่การดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานเป็นเรื่องสำคัญนั่นคือการผลัดเปลี่ยนเจเนอเรชันของพนักงาน กล่าวคือเจเนอเรชัน ‘มิลเลนเนียล’ จะเข้ามาเป็นกำลังสำคัญและเป็นส่วนมากในตลาดแรงงาน แต่จากข้อมูลของเว็บไซต์จิตวิทยาอย่าง Psychology Today เผยให้เห็นว่า 17% ของเจเนอเรชันนี้มีภาวะซึมเศร้า 14% มีอาการวิตกกังวล และอีก 33% มีความบกพร่องทั้งทางกายและใจ

แสดงให้เห็นว่าปัญหาส่วนตัวของพนักงาน โดยเฉพาะเรื่องเงินและสุขภาพจะกลายมาเป็นอุปสรรคที่ทำให้ฟันเฟืองของธุรกิจเราทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่คาดหวังไว้ และจากที่กล่าวไปข้างต้นจะพบว่าการเมินเฉยหรือละเลยปัญหาเหล่านี้ไม่ได้นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ผู้ประกอบการต้องการนัก จึงนำไปสู่คำถามต่อไปว่า…

ถึงเวลาหรือยังที่ธุรกิจต้องปรับตัว?

การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตในที่ทำงานจาก LifeWorks โดย Morneau Shepell ได้ทำการสัมภาษณ์ซีอีโอ 20 คนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกาที่ต้องดูแลพนักงานมากกว่า 1,000 คนทั่วโลก แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าสนใจ

ผู้บริหารเกือบทั้งหมดยกให้การดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานเป็นความสำคัญลำดับแรก นอกจากนี้ยังเห็นตรงกันว่าโปรแกรมดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดและรั้งตัวพนักงานที่มีความสามารถและพนักงานรุ่นใหม่ให้อยู่กับบริษัท ไม่ใช่แค่นั้น การดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานยังส่งประโยชน์โดยตรงให้กับพนักงานที่อยู่มาก่อนด้วยเช่นกัน

ผู้เข้าร่วมการสัมภาษณ์คนหนึ่งยังได้กล่าวว่าปัจจุบันการดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานเป็นหนึ่งในสิ่งที่พนักงานคาดหวังให้บริษัทมี มากกว่าจะเป็นผลประโยชน์ธรรมดาอีกต่อไป แสดงให้เห็นว่ามุมมองพนักงานปัจจุบันไม่ได้มองว่าการดูแลคุณภาพชีวิตเป็น ‘ส่วนเสริม’ แต่มองว่าเป็น ‘เรื่องธรรมดา’ ที่ธุรกิจควรมีเป็นมาตรฐานนั่นเอง

ไม่ใช่แค่ความเห็นจากซีอีโอ แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่โด่งดังมากมายก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานในด้านต่างๆ นอกจากชีวิตการทำงานมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่นบริษัทที่ขึ้นชื่อเรื่องวัฒนธรรมองค์กรที่พนักงานทุกคนใฝ่ฝันอย่าง Google เองก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ออกมาเพื่อสนับสนุนการดูแลคุณภาพชีวิตพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นอาหารสุดหรูฟรี บริการนวดถึงที่ แคปซูลนอนหลับ และสิทธิประโยชน์อย่าง สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลครอบคลุม สิทธิ์ลาเลี้ยงบุตรแบบรับเงินเดือน การสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาและพัฒนาตนเอง เป็นต้น

Johnson & Johnson เองก็มีโปรแกรมดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานที่ครอบคลุมตั้งแต่ด้านสุขภาพกาย อย่างคอร์สฟิตเนส บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ด้านสุขภาพใจ เช่น บริการปรึกษาด้านสุขภาพจิต และด้านสังคมที่ส่งเสริมให้มีการจับกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน

เรียกได้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนไป แม้ว่าการดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานให้ดีจะไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาธุรกิจต่อไป และถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการจะต้องหันมาสนใจคุณภาพชีวิตพนักงานหากต้องการสร้างธุรกิจที่แข็งแรงมั่นคงและเติบโตได้ตามเป้าหมาย

Advertisements

เริ่มต้นดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานยังไงดี?

คำว่า ‘คุณภาพชีวิต’ พนักงานเป็นร่มคันใหญ่ที่ครอบคลุมตั้งแต่สุขภาพกาย สุขภาพใจ คุณภาพสังคม ไปจนถึงด้านการเงิน ดังนั้นการดูแลให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีพอด้วยประกันสังคมหรือประกันสุขภาพอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของคนยุคปัจจุบัน การมอบสิ่งอำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมถือเป็นขนมหวานชั้นเลิศที่ดึงดูดเหล่าคนทำงานที่มีคุณภาพได้ดี

แต่ถ้าธุรกิจของเราเพิ่งเริ่มต้นและยังไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการสร้างสิทธิประโยชน์ให้พนักงานได้มากขนาดนั้น ก็แปลว่าธุรกิจเราจะไม่สามารถดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานได้หรือเปล่า? ในกรณีนี้โจทย์จะไปตกอยู่กับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานนั่นเอง

แล้ววัฒนธรรมองค์กรแบบไหนล่ะถึงจะเหมาะในการดูแลคุณภาพชีวิตพนักงาน? กล่าวคือวัฒนธรรมนั้นต้องเอื้อให้พนักงานสามารถสร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตทำงานได้ตามสไตล์การใช้ชีวิตของตนเอง ไม่ว่าสมดุลนั้นจะเป็นแนวคิด ‘Work-life balance’ หรือ ‘Work-life intregation’ ก็ตาม ซึ่ง Forbes ได้นำเสนอว่าวัฒนธรรมองค์กรเช่นนั้นจะมีองค์ประกอบ 5 ด้านด้วยกัน

1. ความเอาใจใส่กันและกัน

เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก การถูกเอาใจใส่ สนับสนุน และเคารพในฐานะคนคนหนึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแรงทางใจและสร้างพันธะต่อกันในหมู่พนักงานรวมถึงระหว่างผู้จ้างและผู้ถูกจ้าง พันธะนี้เองที่จะสร้างความรู้สึกว่าต้อง ‘รับผิดชอบ’ งานที่ได้รับมอบหมายจนลุล่วง

Advertisements

2. ความยืดหยุ่น

การสร้างกฎเกณฑ์มาควบคุมการทำงานของพนักงานมากเกินไปจะทำให้พนักงานสูญเสียความสามารถในการสร้างสมดุลของตนเองเพราะถูกบีบให้อยู่ในแม่พิมพ์ตลอดเวลา กลับกันการสร้างความยืดหยุ่นหรือช่องว่างให้พนักงานได้บริหารชีวิตตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น ไปจนถึงสถานที่ทำงาน ก็มีส่วนช่วยให้พนักงานจัดการกับชีวิตส่วนตัวได้ดีขึ้นโดยที่บริษัทไม่ต้องเสียต้นทุนเลย

3. ความเชื่อใจ

ความโปร่งใสคือปัจจัยสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เต็มไปด้วยความเชื่อใจ ซึ่งจะช่วยลดความเครียดที่เกิดจากการทำงานและส่งเสริมให้การสื่อสารในทีมชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมกับพันธกิจและเป้าหมายของบริษัทมากขึ้น

4. สุขภาพกายและใจ

แม้จะไม่มีงบประมาณในการมอบสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับบริษัทใหญ่ แต่ธุรกิจเล็กหรือเพิ่งเริ่มก็สามารถสร้างวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการพักเบรกและยืดเส้นยืดสาย นอกจากจะช่วยดูแลสุขภาพพนักงานแล้วยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากขึ้นอีกด้วย

5. การยกย่องชมเชย

วัฒนธรรมการยกย่องชมเชยไม่เพียงแค่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจในการทำงานเท่านั้น แต่ยังสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งให้กับพนักงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และยังช่วยลดอัตราการลาออกได้เช่นกัน

แม้จะไม่มีสูตรการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานอย่างตายตัวเพราะแต่ละธุรกิจมีงบประมาณและความพร้อมแตกต่างกัน แต่ไม่ว่าธุรกิจจะใหญ่หรือเล็กหรือมีความพร้อมเท่าใดก็สามารถนำแนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนี้ไปเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมปัจจุบันและค่อยๆ ปรับปรุงให้ดีขึ้นตามความพร้อมได้เช่นกัน

และสำหรับผู้ประกอบการคนไหนที่กำลังมองหาสิทธิประโยชน์ช่วยดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานให้สามารถสร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตทำงานได้อย่างมีคุณภาพ Mission To The Moon อยากแนะนำให้รู้จักกับ Mission To The Moon Balance Planner 2024

แพลนเนอร์ที่มาพร้อมฟีเจอร์มากมายที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานได้ทบทวน ติดตาม และปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้มีสมดุล ไม่ว่าจะเป็น

[ ] Monthly Calendar : ปฏิทินรายเดือนขนาดพอเหมาะ จดบันทึกตั้งเป้าหมายหรือสิ่งสำคัญที่ต้องทำในแต่ละวัน ด้วย Monthly Focus หรือ Reminder
[ ] Daily Task : บริหารความยุ่งเหยิงในแต่ละวันของคุณด้วย Daily Task ด้วยพื้นที่ Free Note หรือ Bullet Journal รวมถึงวางแผนล่วงหน้าด้วย Weekly Preview
[ ] Free Writing Function : ปลดปล่อยตัวตนบนแผ่นกระดาษหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ Grid, Free Note, Dotted, หรือ Ruled ที่ได้รับรางบันดาลใจจากเทคนิค Brain Dump Exercise
[ ] และอื่นๆ อีกมากมาย

นับเป็นสิทธิประโยชน์ในงบที่เอื้อมถึงและยังสร้างความประทับใจให้กับพนักงานที่ได้รับได้อีกด้วย ผู้ประกอบการที่สนใจอยากดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานสามารถเริ่มต้นด้วยแพลนเนอร์นี้ได้เลย

สามารถสั่งซื้อสินค้าจาก Mission To The Moon ได้ที่
[ ] LINE Shopping : https://shop.line.me/@missiontothemoon
[ ] Shopee : https://shope.ee/9eovnwIQUa
[ ] Lazada : https://s.lazada.co.th/l.XyN0

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อได้ที่อินบ็อกซ์ Facebook : Mission The The Moon

ที่มา
– This Is What Happens When Companies Ignore Employee Wellbeing : Gabriélla Siebritz, The Skills Portal – https://bit.ly/3RZRJOg
– The importance of investing in employee well-being for business success : Alwaleed Alkeaid, Wellness Works – https://bit.ly/3Q5OTEK
– Employee well-being is critical to business success, say CEOs : LifeWorks, Telus Health – https://bit.ly/45HdZj4
– Burnout Is About Your Workplace, Not Your People : Jennifer Moss, Harvard Business Review – https://bit.ly/48RfX38
– How Employers Can Measure The Impact Of Workplace Well-Being Benefits : Sammy Rubin, Forbes – https://bit.ly/3M9qihb
– The Most Important Ways Companies Can Improve Work-Life Balance : Natalia Peart, Forbes – https://bit.ly/403NsLI


#business
#organizationalculture
#wellbeing
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า