เมื่อ “การตัดสินใจ” ทางธุรกิจในยุคนี้ ดีขึ้นได้ด้วย Data Analytics

2503
Corpus X x Mission to the Moon

“Decision Making” หรือ “การตัดสินใจทางธุรกิจ” คืออะไร

“การตัดสินใจทางธุรกิจ” หรือที่เรามักจะได้ยินว่า “Decision Making” เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อความเป็นไปของธุรกิจอย่างมาก

หลายคนอาจจะบอกว่าก็แค่ต้องตัดสินใจ แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น เพราะเมื่อเราตัดสินใจอะไรไป ตอบตกลงหรือตอบปฏิเสธอะไรไป สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้นคือ “ผลลัพธ์ที่ตามมา” ต่อธุรกิจของเรา

ในอดีตการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อาจจะใช้เรื่องของความรู้สึก ใช้เรื่องของการคาดการณ์เป็นหลัก แต่ในปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เราสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า “ Data” หรือ “ข้อมูล”

Advertisements

Data Analytics หรือ “ข้อมูล” สำคัญอย่างไร?

หลายคนที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้ข้อมูลมาก่อนอาจจะสงสัยว่า การมี “ข้อมูล” เหล่านี้จะช่วยเราได้อย่างไร?

คำตอบก็คือ มันสามารถช่วยเราได้แทบทุกด้านเลยจริงๆ ตั้งแต่การนำข้อมูลลูกค้ามาต่อยอดให้เกิดความพึงพอใจที่สูงขึ้น การนำข้อมูลผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์ถึงจุดแข็งจุดอ่อน เพื่อพัฒนากลยุทธ์ การนำข้อมูลคู่ค้ามาดูย้อนหลัง เพื่อทำ Credit Management ไปจนถึงการนำข้อมูลมาดูเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานของซัปพลายเชนของธุรกิจ ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดเก็บข้อมูลแบบไหน และจะนำไปใช้เพื่ออะไรบ้าง

จากที่ในอดีต เราอาจจะทำการตัดสินใจจากความรู้สึก การคาดการณ์ แต่ในปัจจุบัน ด้วยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บจะช่วยให้เราเห็นจากตัวเลข หรือชุดข้อมูล ที่สามารถวัดผลได้ ลองนึกเป็นตัวอย่างง่ายๆ ดูว่า ถ้าหากคุณเปิดร้านเสื้อผ้าร้านหนึ่ง ทำการจัดเก็บข้อมูลเป็นเวลา 2 ปี เมื่อดูข้อมูลย้อนกลับไปพบว่าเสื้อกันหนาวจะเริ่มขายดีตั้งแต่ก่อนเข้าหน้าหนาวอย่างเป็นทางการ ด้วยข้อมูลเช่นนี้ ในปีต่อไปคุณก็สามารถที่จะปรับสต๊อกสินค้า เริ่มเน้นการนำเสื้อกันหนาวมาขายเร็วขึ้น เพื่อที่จะตอบรับกับเทรนด์จากข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดเดา แต่ดูจากหลักฐานจากตัวเลขการขายในอดีตแทน

มีแค่ข้อมูลไม่เพียงพอ แต่ต้องใช้ให้เป็น ”

มีแค่ข้อมูลไม่เพียงพอ แต่ต้องใช้ให้ “เป็น” แต่การที่เรามีข้อมูลจำนวนมหาศาลเช่นนี้ แน่นอนว่าเป็นเรื่องดีกับธุรกิจ แต่ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้จริงไหม เพราะการอ่านหรือการตีความข้อมูลไม่ใช่เรื่องง่าย และในบางทีก็ต้องใช้เวลาอย่างมากในการที่จะสรุปข้อมูลออกมาชุดๆ หนึ่ง

แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้ เพราะ ณ ปัจจุบันด้วยการมาถึงของเทคโนโลยี เราก็มี B2B Data Analytics Platform หรือแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจกันแล้ว ที่ช่วยทั้งการจัดเก็บข้อมูลธุรกิจ และที่สำคัญคือแพลตฟอร์มเหล่านี้ยังสามารถที่จะต่อยอดข้อมูลเหล่านั้นให้แบบอัตโนมัติ สรุปออกมาในรูปแบบที่เราสามารถอ่านได้แบบง่ายๆ ที่ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งคว้าโอกาสได้ทันและลดความเสี่ยงทางธุรกิจไปพร้อมๆ กัน

ซึ่ง “Corpus X” ก็เป็นแพลตฟอร์ม Business B2B Data Analytics ที่มีฟีเจอร์ที่ค่อนข้างน่าสนใจ และตอบโจทย์กับหลายๆ ปัญหาที่ธุรกิจเจออยู่ เดี๋ยวเราจะไปดูกันว่าฟีเจอร์ของ Corpus X จะไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจอย่างไรบ้าง

ฟีเจอร์ของ Corpus X ช่วยตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจอย่างไรบ้าง

ความต้องการที่ 1 : ทำความรู้จักลูกค้าและหากลุ่มเป้าหมายใหม่

แน่นอนว่าในการทำการค้ากับกลุ่มลูกค้าและลูกค้าใหม่ การมีความเข้าใจในตัวลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ทั้งเรื่องของข้อมูลพื้นฐานบริษัท ข่าวล่าสุดของบริษัท การถูกพูดถึงในปัจจุบัน งบการเงิน เครดิตทางการค้า ความเสี่ยงทางธุรกิจ รวมถึงเรื่องของการชำระหนี้ แน่นอนว่าในการที่จะไปศึกษาทำความเข้าใจในแต่ละหัวข้อเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แต่สำหรับแพลตฟอร์มของ Corpus X แล้ว มีข้อมูลเหล่านี้ของบริษัทอย่างครบถ้วน พร้อมสรุปออกมาในรูปแบบอินโฟกราฟิกในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้เราไม่ต้องมาวิเคราะห์และตีความข้อมูลเอง

ซึ่งหลังจากวิเคราะห์ข้อมูลออกมาแล้ว Corpus X ยังมีฟังก์ชัน “Prospect Score” ที่นำข้อมูลมาประมวลผลกับ Machine Learning ที่สามารถจะวิเคราะห์ออกมาได้ว่ากลุ่มเป้าหมายไหนที่มีแนวโน้มที่น่าสนใจต่อธุรกิจของเรา เพื่อที่บริษัทสามารถจะนำไปต่อยอด ไปเข้าหากลุ่มลูกค้าเหล่านั้น ก่อให้เกิดโอกาสในการขายใหม่ๆ ให้กับธุรกิจนั่นเอง

ความต้องการที่ 2 : ตรวจสอบคุณภาพลูกค้า

ทำไมเราถึงตรวจสอบถึงคุณภาพลูกค้ากันล่ะ? คำตอบคือ เมื่อลูกค้าเรามีคุณภาพที่ดี ก็จะทำให้ธุรกิจของเรามีคุณภาพที่ดีเช่นเดียวกัน ลองคิดดูว่าถ้าเรามีลูกค้าที่จ่ายเงินตรงตามเวลา มีสภาพคล่องเงินที่ดี ก็จะช่วยให้การเงินธุรกิจของเรานั้นเป็นไปอย่างราบรื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้น ถ้าเราสามารถที่จะตรวจสอบคุณภาพลูกค้าได้ก่อน จะดีแค่ไหนกัน?

ด้วยแพลตฟอร์ม CorpusX ที่รวบรวมข้อมูลทั้งในอดีตและปัจจุบันของนิติบุคคลกว่า 1.6 ล้านบริษัทในประเทศไทย และยังเปิดโอกาสให้เรานั้นอัปโหลดข้อมูลของลูกค้าเราขึ้นไปบนฐานข้อมูล โดยสิ่งที่จะช่วยให้เราตรวจสอบลูกค้าของเราได้ มีอยู่ 2 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน

1. Credit Scoring : การที่ทางระบบจะดูข้อมูลการดำเนินงานบริษัทที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการทำกำไร ความสามารถในการชำระเงิน หรืออัตราการเติบโต และนำมาประเมิน Credit Score ให้กับบริษัทนั้นๆ และจัดให้บริษัทอยู่ตาม Credit Class เพื่อดูเรื่องของความเสี่ยงการดำเนินงานของแต่ละบริษัทในอนาคต โดยทั้งหมดจะประกอบไปด้วย 6 ระดับด้วยกัน 1-6 เริ่มจากเสี่ยงต่ำ ที่บ่งชี้ว่าภาพรวมบริษัทนี้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น ไปจนถึงเสี่ยงสูง ที่บ่งชี้ว่าบริษัทนี้กำลังเผชิญภาวะวิกฤตทางการเงินภายใน ไม่ควรที่จะร่วมงานด้วย

2. Paydex : ถึงแม้ว่าบริษัทจะมี Credit Score ที่ดี แต่ก็ไม่ได้แปลว่าทุกบริษัทจะจ่ายเงินตรงตามเวลา ทาง Corpus X ได้มีการจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมการชำระเงินมามากกว่า 10 ปี จึงได้พัฒนาตัว Paydex ที่เป็นดัชนีชี้วัดว่าแต่ละบริษัทมีพฤติกรรมการชำระเงินเป็นอย่างไรบ้าง โดยจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน เริ่มจากระดับ 1 ที่บ่งบอกว่าบริษัทมีการชำระเงินตรงเวลาไปจนถึงระดับ 5 ที่ชี้ว่าบริษัทมีพฤติกรรมการชำระเงินที่ล่าช้า ทำให้บริษัทของเราสามารถที่จะประเมินการให้เครดิต ประเมินการขายกับลูกค้าเจ้านี้ได้ในเบื้องต้น

ความต้องการที่ 3 : ต้องการรู้ถึงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าและอุตสาหกรรม

ไม่ใช่แค่ข้อมูลของลูกค้าที่สำคัญ แต่ข้อมูล “เชิงลึก” ของลูกค้าและอุตสาหกรรมก็มีความสำคัญเช่นกัน ที่จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างการดำเนินงานธุรกิจ กับความเป็นไปของอุตสาหกรรมด้วย

โดยทางแพลตฟอร์ม Corpus X ก็มีฟังก์ชัน “Insight” ที่รวบรวมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกสำหรับธุรกิจไว้หลากหลายรายการไม่ว่าจะเป็น

1. Trend : แสดงแนวโน้มการเติบโตธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรม โดยมีข้อมูลย้อนหลังนานถึง 20 ปีว่าธุรกิจมาการเติบโตอย่างไรในอดีต ที่จะช่วยให้เราสามารถวางแผนในอนาคตสำหรับธุรกิจได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

2. Profilling : เป็นการสรุปข้อมูลทางการเงิน แสดงสัดส่วนและการกระจายตัวของลูกค้า ตามอุตสาหกรรม พื้นที่ ภูมิภาค และขนาดของธุรกิจ

Advertisements

3. Quadrant : แสดงสถานะของลูกค้าปัจจุบันในรูปแบบของ Quadrant Analysis หรือการวิเคราะห์ค่าคู่อันดับ โดยจะทำการเปรียบเทียบการเติบโตทั้งด้านของรายได้และกำไร เพื่อประเมินคุณภาพ และการกระจายตัวของแต่ละธุรกิจ

โดยจะมีตั้งแต่การดูเรื่องของ (1) อัตรากำไรขั้นต้นเปรียบเทียบกับอัตรากำไรจากการดำเนินงาน (2) อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้าเปรียบเทียบกับอัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (3) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เปรียบเทียบกับอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (4) อัตราการเติบโตของรายได้เปรียบเทียบกับอัตรากำไรขั้นต้น และ (5) อัตราการเพิ่มของรายได้รวม เปรียบเทียบกับอัตราการเพิ่มของกำไรสุทธิ ซึ่้งก็จะทำให้ธุรกิจนั้นทราบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมใดมีผลการดำเนินงานในด้านใดเป็นอย่างไรบ้าง อยู่ในเกณฑ์ที่ดีหรืออยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง

4. Risk Profiling : เหมือนกับที่เราได้พูดกันไปด้านบน Risk Profilling คือการประมวลความเสี่ยงของลูกค้าและคู่ค้า โดยจะคำนวณคะแนนความเสี่ยง เพื่อแสดงความน่าจะเป็นของบริษัทที่จะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินใน 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเราก็จะสามารถเห็นภาพรวมความเสี่ยงทั้งหมดของลูกค้าเราว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีหรือไม่ ค่ากลางในอุตสาหกรรมนั้นๆ อยู่ที่เท่าไหร่ ก็จะสามารถที่จะประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น

5. Comparison : เป็นฟังก์ชันที่เอาไว้ทำการเปรียบเทียบบริษัท ผ่านข้อมูลที่ออกมาในรูปแบบของตัวเลข ซึ่งจะสามารถเปรียบเทียบได้มากถึง 10 บริษัทด้วยกัน

6. Ranking : เป็นการจัดอันดับกลุ่มลูกค้าของเราตามหัวข้อที่เราต้องการจะดู ไม่ว่าจะเป็นทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม รายได้รวม และกำไรขาดทุน

7. Impact : เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีต่อภาคธุรกิจ เช่น ในช่วงก่อนหน้านี้ที่เราเผชิญวิกฤตโควิด-19 เราก็จะสามารถดูได้ว่าธุรกิจใดได้รับผลกระทบบ้าง ธุรกิจได้รับผลดี ก็จะช่วยให้เราสามารถนำไปวางแผนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันจากวิกฤตเศรษฐกิจหรือการคว้าโอกาสจากการเติบโตของเศรษฐกิจ ก็จะสามารถทำได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งค่อนข้างมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างมาก ที่สภาพเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจนั้นมีความผันผวนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

8. ARX : จะเป็นการประเมินการเติบโตของรายได้ของธุรกิจเรา จากทั้งกลุ่มลูกค้าใหม่และลูกค้าเดิมว่ามีความเป็นไปอย่างไรบ้าง พร้อมยังสามารถที่จะดู Risk Matrix เป็นการนำ Paydex มาผสานกับการดู Credit Score โดยข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์ออกมาทั้งหมด จะมาจากข้อมูลของลูกค้าที่ผู้ใช้อัปโหลดขึ้นไปในระบบ ซึ่งจะทำให้เราเห็นถึงภาพรวมความเสี่ยงการชำระเงินทั้งหมดของบริษัทว่าเป็นอย่างไรบ้างนั่นเอง

และอย่างที่เราพูดไปในตอนต้นกันถึง Prospect Score ที่มีการนำข้อมูลมาประมวลผลกับ Machine Learning เพื่อดูถึง Potential Customer ของเราว่าอยู่ในกลุ่มใดและเป็นใครเพื่อที่จะสามารถนำไปพัฒนาการเข้าหากลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพเหล่านี้ ซึ่งก็จะช่วยให้ธุรกิจเข้าหาลูกค้าได้ถูกกลุ่มมากยิ่งขึ้น โดยฟังก์ชัน Prospect Score นี้ก็จะอยู่ภายใต้ ARX เช่นกัน

นอกจากนี้ ภายใต้ ARX ยังมีฟังก์ชัน Dependency ที่จะสรุปภาพรวมการซื้อขายในบริษัทว่าลูกค้ารายใดมีอัตราการซื้อกับเราสูงที่สุดหรือต่ำที่สุด อาจเรียกได้ว่ามีการ “พึ่งพา” กับธุรกิจเรามากน้อยเพียงใด โดยจะมีการเรียงลำดับให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนถึงอันดับ รายได้ และเปอร์เซ็นการพึ่งพาของแต่ละบริษัท แต่แล้วการที่เรารู้ข้อมูลเหล่านี้สำคัญอย่างไร? หากธุรกิจรู้ว่าลูกค้ารายใดพึ่งพาเราค่อนข้างมาก ก็สามารถที่จะจัดทีมหรือจัดแผนในการเข้าหาลูกค้ากลุ่มนี้ ให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์อันดี เพื่อที่จะรักษาให้ลูกค้ากลุ่มนี้ และรักษาอัตราการซื้อกับธุรกิจของเรานั่นเอง

จากทั้ง 8 ฟังก์ชันนี้ก็ได้มอบ “ข้อมูลเชิงลึก” ที่น่าจำเป็นสำหรับธุรกิจ ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจตามแต่ละเป้าหมาย เพื่อธุรกิจจะสามารถนำข้อมูลอันมีค่าเหล่านี้ ไปต่อยอด ทำการตัดสินใจอะไรบางอย่าง เพื่อทั้งป้องกันความเสี่ยงและคว้าโอกาสทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ความต้องการที่ 4 : ความเป็นไปบนโซเชียลมีเดีย

ความต้องการด้านความเป็นไปบนโซเชียลมีเดียเป็นอย่างไรกัน? ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนี้ โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทอย่างมากในภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะกับตัวธุรกิจเองหรือตัวคู่ค้าเอง ทำให้ถ้าเรารู้ว่าธุรกิจหรือลูกค้าของเรามีการพูดถึงอย่างไรบนโซเชียลมีเดีย ก็สามารถที่จะนำข้อมูลตรงส่วนนี้ไปประเมินหรือไปต่อยอดเป็นโอกาสใหม่ๆ ได้ โดยเฉพาะในฝั่งของการทำ Social Listening ในฝั่งธุรกิจของตัวเอง

อย่างที่เรารู้กันดีว่าทุกวันนี้ทุกคนต่างใช้โซเชียลมีเดีย ต่างใช้เครื่องมือออนไลน์กันทั้งนั้น ดังนั้น การที่เราคอยทำ Social Listening หรือการมอนิเตอร์ว่ามีคนพูดถึงเราอย่างไรบ้าง ก็จะช่วยให้เราสามารถนำข้อมูลตรงส่วนนี้ไปปรับแผนการตลาดบนโซเชียลมีเดียได้แม่นยำกับกลุ่มเป้าหมายของเรามากยิ่งขึ้น

ซึ่งผ่านแพลตฟอร์ม Corpus X แล้ว มีฟังก์ชันที่เรียกว่า “SENSE” ที่ช่วยให้ธุรกิจมอนิเตอร์การพูดถึงบนโซเชียลมีเดีย บนเว็บบอร์ดต่างๆ รวมถึงยังมีฟังก์ชัน Word Cloud ที่เป็นส่วนบ่งชี้ว่าธุรกิจเรานั้นมีความเกี่ยวข้องกับการค้นหาอะไรบ้าง ซึ่งในส่วนนี้ยังสามารถนำไปให้ฝ่ายการตลาดดิจิทัลหยิบจับคำเหล่านี้ไปใช้ เพื่อให้เกิดการค้นหาที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

อย่างที่ได้กล่าวไปช่วงต้นว่า “การตัดสินใจ” นั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจ และภายใต้ยุคที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การแข่งขันสูงขึ้น อีกทั้งบทบาทของเทคโนโลยียังเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก ธุรกิจจึงต้องใช้ “Data” เข้ามาช่วยเสริมให้การตัดสินใจนั้นครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยิ่งถ้ามี “ข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์” มาแบบเสร็จสรรพ ก็จะยิ่งช่วยในเรื่องของการนำข้อมูลมาใช้ นำมาต่อยอดให้กับทีมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเสริมศักยภาพให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้อีกด้วยเช่นกัน

เป็นอันสรุปได้ว่าในยุคดิจิทัลเช่นนี้ การตัดสินใจจะดีขึ้นได้ด้วย การนำ “ข้อมูล” มาวิเคราะห์ร่วมด้วย และถ้ายิ่งมีแพลตฟอร์ม Data Analytics ที่ครบครัน ตอบโจทย์ ก็จะยิ่งช่วยให้ธุรกิจใช้ข้อมูลได้อย่างง่ายดายขึ้นไปอีก

ถ้าหากธุรกิจไหนกำลังมองหาแพลตฟอร์ม Business B2B Data Analytics อยู่ ทาง Corpus X มีโปรโมชันพิเศษ สำหรับผู้อ่านเพจ Mission To The Moon ด้วยเช่นกัน!

[ ] สำหรับผู้ที่สนใจซื้อแพ็กเกจ Corpus X รับส่วนลด 5% ทันที เมื่อแอดไลน์และพิมพ์ CPXMTM
[ ] โดยทุกท่านสามารถที่จะแอดไลน์ @corpusx หรือสแกน QR Code ด้านล่างนี้ จากนั้นกดขอทดลองใช้งานที่ปุ่ม Free Trial เมื่อทดลองใช้ครบแล้ว ให้พิมพ์คำว่า Mission To The Moon ก็จะได้รับ E-Coupon Starbuck 200 บาทเลยทันที เฉพาะ 20 ท่านแรกที่ทดลองครบเท่านั้น

Mission To The Moon X Corpus X

ติดต่อผ่านทางไลน์ @corpusx หรือสแกน QR Code
Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่