BUSINESSขายของออนไลน์ให้เติบโต! ด้วย 7 บริการจากระบบ “AI” ผู้ช่วยในโลก E-Commerce

ขายของออนไลน์ให้เติบโต! ด้วย 7 บริการจากระบบ “AI” ผู้ช่วยในโลก E-Commerce

การใช้ชีวิตแบบ Next Normal โดยเฉพาะการเว้นระยะห่างระหว่างกันคงจะอยู่กับเราไปอีกนาน ซึ่งในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา การใช้ชีวิตในบ้านทำให้ตลาดการซื้อขายออนไลน์เติบโตอย่างมาก และในปีนี้ก็มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดออนไลน์หรือ E-Commerce จะพุ่งสูงขึ้นอีก โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ Statista ได้คาดการณ์ว่า รายรับในตลาดอีคอมเมิร์ซอาจสูงถึงกว่า 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ และอาจโตขึ้นอีก 11.54% ภายในปี 2025

มูลค่าที่เห็นนี้แม้จะเป็นโอกาสที่ดีต่อธุรกิจ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่านี่เป็นน่านน้ำที่มีการช่วงชิงกันอย่างเข้มข้น เพราะไม่ว่าธุรกิจขนาดใดก็เข้าสู่แพลตฟอร์ม E-Commerce ได้ ยิ่งในช่วงที่สินค้าล้นตลาด คู่แข่งมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากมาย

จะทำอย่างไรให้ธุรกิจของเราคว้าโอกาสได้ทัน?

คำตอบคือ “AI” ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ E-Commerce ได้ ซึ่งในหลายๆ ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 AI ก็ได้เข้ามามีบทบาทกับ E-Commerce เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้งาน หรือ User Experience ให้ดียิ่งขึ้น

Advertisements

บทความนี้จะพาคุณมารู้จักกับ 7 บริการจาก AI ในการเป็นผู้ช่วยขายสินค้าบน E-Commerce ให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น มาดูกันว่า AI ช่วยยกระดับการขายในช่องทางนี้อย่างไรได้บ้าง

1. ระบบค้นหาที่ตอบรับและรู้ใจผู้ใช้งาน

การทำ Personalization ด้วย Big Data กลายมาเป็นเรื่องพื้นฐานของวงการ E-Commerce ไปแล้ว ซึ่ง AI จะเรียนรู้ความเป็นปัจเจกของผู้ใช้งานจากพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย ทั้งความสนใจในขณะนั้น สิ่งที่เขากำลังมองหา ไปถึงไลฟ์สไตล์ รวมถึงพื้นที่อาศัย และวิเคราะห์ออกมาเป็นการแนะนำสินค้าที่ตรงกับความต้องการนั้นได้อย่างรู้ใจผู้ใช้งาน

นอกจากนี้ระบบ Voice Commerce หรือการช็อปปิ้งด้วยเสียงจะยิ่งนิยมขึ้นเรื่อยๆ โดยการสั่งให้ค้นหาสินค้า ควบคู่ไปกับการค้นหาด้วยภาพ เช่น เราเจอรองเท้าคู่หนึ่งที่ไม่รู้ว่าแบรนด์อะไร ก็สามารถถ่ายรูปและอัปโหลดเข้าแพลตฟอร์มเพื่อค้นหา พร้อมกับพูดว่า “ต้องการซื้อรองเท้าแบบนี้” AI ก็จะไปประมวลผลและแสดงการค้นหาออกมาอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ AI ยังมีการแนะนำสินค้าอื่นๆ ที่คาดการณ์ว่าผู้ซื้อมีแนวโน้มจะช็อปต่อ โดยประมวลผลจากข้อมูลส่วนตัวและความสนใจ รวมถึงข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าคนอื่นๆ ที่เคยช็อปมาก่อน และแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องอย่างหลากหลาย ทำให้ผู้ใช้อยู่กับร้านของเรานานขึ้น เพื่อเลือกซื้อสินค้าอื่นๆ ต่อไป

2.  แชตบอตผู้ช่วยตอบปัญหา

จากเดิมที่แชตบอตเป็นระบบอัตโนมัติโดยการส่งคำตอบจากการจับคีย์เวิร์ด ปัจจุบันนี้ระบบแชตบอตพัฒนาไปถึงการพูดคุยอย่างค่อนข้างเป็นธรรมชาติกับลูกค้าแล้ว ด้วยข้อมูลจากคำถามที่ส่งเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สามารถสร้างคำตอบที่เฉพาะเจาะจง เพื่อตอบข้อสงสัยให้ลูกค้าได้ตลอดเวลา ลดแรงงาน และลดภาระคนทำงานได้มาก

อย่างไรก็ตาม เรื่องการดูแลลูกค้ายังต้องมีการควบคุมโดยมนุษย์อยู่ เพราะผู้บริโภคหลายๆ คนยังรู้สึกอุ่นใจเมื่อได้คุยกับมนุษย์ตัวจริง E-Commerce จึงสามารถใช้แชตบอตควบคู่ไปกับระบบหลังบ้านจากบุคคลได้

3. การลองสินค้าเสมือนจริงด้วย AR

ความสำคัญของระบบ AR เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่โควิดระบาดหนักๆ เราจะเห็นว่าการขายของบน E-Commerce มีการนำระบบ AR มาใช้เยอะขึ้นมาก โดยการสร้างภาพเสมือนจริงให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนกำลังลองสินค้ากับตัวเองอยู่ เช่น เครื่องสำอาง โดยใช้ควบคู่กับระบบจดจำใบหน้า ที่ AI จะวิเคราะห์สภาพผิวหน้า อายุ และเพศของเรา เพื่อการแนะนำที่ดียิ่งขึ้น

รวมถึง AR ที่ช่วยให้เราลองเสื้อผ้า ที่สามารถกดรูปแบบและสี เพื่อแมตช์บนร่างกายตัวเองได้ ทดแทนการลองสินค้านอกบ้าน ช่วยให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และช่วยกระตุ้นยอดขายให้สูงขึ้นด้วย ซึ่งต่อไปหาก Metavesre พัฒนาให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ การขายของในโลกเสมือนก็คงต้องพึ่งพาเทคโนโลยี AR และ VR มากขึ้นเช่นกัน

4. การเชื่อมต่อ E-Commerce กับอุปกรณ์ของใช้ในบ้าน

เราอาจเริ่มคุ้นเคยกับตู้เย็นที่ตรวจจับสิ่งของภายใน และแจ้งเตือนเมื่อของในตู้เย็นหมด ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ AI ของเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเชื่อมต่อกับระบบ E-Commerce และสามารถสั่งของที่หมดให้จัดส่งมาถึงบ้านได้ นับเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่การขายออนไลน์จะไม่ได้หยุดที่คนซื้อกับแพลตฟอร์ม แต่อาจจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง AI กับ AI ก็ได้ ซึ่งต่อไปอาจพัฒนาไปสู่สินค้าประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ของสด อย่างเช่นของใช้ทำความสะอาดบ้าน หรือเครื่องสำอางก็เป็นได้

5. การปรับราคาที่สอดรับกับตลาดและนักช็อป

ตอนนี้ราคาการขายบน E-Commerce มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะระบบ AI สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าของร้านตัวเองกับคู่แข่งในออนไลน์ ดูแนวโน้มที่ลูกค้ากำลังเปรียบเทียบราคาจากหลายๆ ร้าน และสร้างข้อเสนอราคาพิเศษออกมาอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วงชิงโอกาสในการปิดการขายมาเป็นของตัวเอง อย่างการสร้างดีลพิเศษ ยื่นข้อเสนอให้ลูกค้าซื้อตอนนี้ เพื่อรับราคาที่ต่ำกว่าร้านอื่นๆ ที่กำลังดูอยู่ เป็นต้น

Advertisements

6. การจัดการกับรีวิวปลอมและสินค้าลอกเลียนแบบ

ต้องยอมรับว่าความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์นั้น มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของของคนในปัจจุบันมาก ประสบการณ์ทั้งดีและร้ายที่ผู้ใช้ได้ให้ไว้ คือองค์ประกอบสำคัญที่จะเรียกหรือไล่ลูกค้าออกไปจากร้านของเรา แต่ทุกวันนี้มีรีวิวปลอมปรากฏขึ้นเป็นจำนวนมาก และหลายๆ รีวิวก็ลดความน่าเชื่อถือของร้านเราลง

แต่ข่าวดีคือ AI ในปัจจุบันสามารถเรียนรู้ลักษณะของรีวิวปลอม และความผิดปกติของคะแนนที่ได้รับ จนเจ้าของร้านสามารถจัดการได้ก่อนที่คนอื่นๆ จะหลงเชื่อ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับร้านที่ขายสินค้าลอกเลียนแบบได้ด้วย เพื่อการแจ้งไปยังแพลตฟอร์ม E-Commerce ให้จัดการกับของปลอมเหล่านี้ได้สะดวกยิ่งขึ้น

7. การจัดหมวดหมู่ของสินค้าตามคุณลักษณะเฉพาะ

ตอนนี้ AI ยังพัฒนาไปอีกขั้นในการเรียนรู้การ Generate Content จาก Big Data เพื่อการแบ่งหมวดหมู่สินค้า ให้แบรนด์ไม่ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูลอีกต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคค้นหาสินค้าได้รวดเร็วขึ้น และตรงกับความต้องการได้มากขึ้น ลองนึกภาพแบรนด์ที่มีสินค้านับพันชิ้น ถ้าต้องใช้พนักงานบันทึกข้อมูลว่าผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นเป็นประเภทไหน มีลักษณะอย่างไร สีอะไร แน่นอนว่าต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าหากมีสินค้าอัปเดตใหม่บ่อยๆ งานส่วนนี้ก็ต้องดำเนินไปไม่จบไม่สิ้น

แต่ด้วยความสามารถของ AI ในการเรียนรู้ข้อมูล ถ้าเรามีฐานข้อมูลตัวอย่างที่ใหญ่มากพอให้แมชชีนได้เรียนรู้ได้ ว่าภาพลักษณะใดคือสินค้าอะไร สีไหนคือสีแดง ขนาดไหนคือขนาดใหญ่ ไอเอก็จะสามารถพัฒนาตัวเองให้จัดการข้อมูลเหล่านั้นได้แม่นยำมากขึ้น เมื่อไรที่มีการเพิ่มสินค้าเข้ามา AI ก็จะจัดหมวดหมู่สินค้าได้จากที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว เช่น เมื่อเราเพิ่มภาพลิปสติกสีแดงเข้าไป AI จะอ่านภาพและจัดสินค้านั้นเข้าไปยังหมวดเครื่องสำอางประเภทลิปสติก มีคุณสมบัติคือสีแดง เป็นต้น

ในการจะจัด Machine Learning ให้มีประสิทธิภาพที่สุด จะต้องใช้ Big Data จำนวนมากที่จะมาเป็น Library ให้กับแมชชีน ยิ่งฐานข้อมูลมีรายละเอียดที่แตกต่างกันในเรื่องของคุณลักษณะอย่างสี ไซส์ วัสดุมากเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยพัฒนาการวิเคราะห์ของ AI ได้มากขึ้นเท่านั้น

โดยในปัจจุบันนี้มีแหล่ง Big Data ให้ AI หรือแมชชีนได้เรียนรู้อย่างสะดวกและครอบคลุมประเภทของสินค้า โดยที่เราไม่ต้องไปรวบรวมมาเอง อย่างเช่นบริการของ Shutterstock.AI ที่เป็น Library รวมรูปภาพประเภทต่างๆ ด้วยข้อมูลที่หลากหลาย ที่แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มของตัวเอง เพื่อใช้ฝึกสอน AI ได้ โดยนอกจากจะสามารถแยกประเภทของสินค้าแล้ว ยังสามารถแนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายกันให้กับลูกค้าได้ด้วย

ซึ่งนอกจากการใช้งานด้าน E-Commerce แล้ว Shutterstock.AI ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีก เช่น การค้นหาด้วยภาพอย่างแม่นยำ การฝึกรถยนต์ไร้คนขับ ให้เข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัวและป้ายจราจรในหลากหลายภาษา รวมถึงการจัดการกับคอนเทนต์ที่แสดงถึงความรุนแรงหรือผิดกฎหมาย จากการตรวจจับโดยอาศัยฐานข้อมูลที่มีอีกด้วย

ถ้าหากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของ Shutterstock.AI ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://number24.co.th/article/shutterstock-ai-aws หรือติดต่อ บริษัท นัมเบอร์ 24 จำกัด ผู้เป็นตัวแทนชัตเตอร์สต็อกอย่างเป็นทางการ แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยที่ www.number24.co.th, Line OA: @number24

สำหรับแบรนด์ที่อยากพัฒนาศักยภาพการขายของบน E-Commerce ให้เติบโตยิ่งขึ้นในปีนี้ ก็ลองพิจารณาการนำ AI มาเป็นผู้ช่วยในการจัดการทั้งข้อมูลสินค้า การบริการ และการตอบรับกับความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

อ้างอิง:
https://bit.ly/3ulZxhp
https://bit.ly/3ocU5td
https://bit.ly/3rkJ4s6
https://bit.ly/34ksQpH

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#business

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Manlika Klinprayong
Manlika Klinprayong
I write, therefore I am. เราเขียน เราจึงมีอยู่

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า