SUMO ทำไมนักซูโม่ถึงต้องทำตัวอ้วน

3568
สาเหตุแท้จริงว่าทำไมนักซูโม่ถึงต้องทำตัวให้อ้วน?
 
‘ซูโม่’ กีฬาประจำชาติญี่ปุ่น ที่ถือเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคสมัยในอดีต แต่คนไทยเรายังมีความเข้าใจกีฬานี้อยู่น้อยมา ทำไมนักกีฬาซูโม่ต้องขุนตัวเองให้อ้วน? ทำไมต้องส่งเสียง ฮึ ฮ้า! และทำไมต้องทำผมทรงเดียวกันเหมือนคนญี่ปุ่นสมัยโบราณ? วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง
 
คำว่า ‘ซูโม่’ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ย้อนกลับไปในคริสต์ศตวรรษที่ 8 หรือเมื่อ 1,300 ปีที่แล้ว แรกเริ่มเกิดจากการทำพิธีกรรมทางการเกษตร ที่ต้องการ บูชาเทพเจ้า เพื่อให้ผลผลิตการเก็บเกี่ยวข้าวในปีนั้นงอกเงย
 
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ซูโม่ถูกตีความเพิ่มเติมไปจากแค่การเรียกขานพิธีกรรม แต่ถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นประเพณีแห่งการเสี่ยงทายผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดของประเทศ (คล้ายคลึงกับการเลือกพระโคของประเทศไทย) จนพัฒนาอย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมในสำนักราชวังญี่ปุ่นภายหลังถูกจัดตั้งเป็น กีฬาที่ให้นักมวยปล้ำผู้เก่งกาจที่สุดในกองทัพแต่ละหมู่เหล่ามาประลองฝีมือกัน โดยคัดเลือกจากนักรบชั้นสูงในสมัยก่อนอย่าง ‘ซามูไร’
 
และนี่เป็นเหตุผลของการไว้ทรงผม ‘จนมาเกะ’ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ‘ซามูไร’ ในอดีต และเพื่อคงไว้ซึ่งประเพณี ให้เหมือนกับต้นฉบับให้มากที่สุด จวบจนมาถึงยุคปัจจุบัน
 
กีฬาซูโม่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นกีฬาอาชีพ ความเป็นจริงแล้ว นักซูโม่ไม่ได้มีการจำกัดน้ำหนักในการเข้าแข่งขัน หมายความว่า แม้คุณตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็สามารถเข้าแข่งขันกีฬานี้ได้หมด แต่ด้วยกระแสนิยมช่วงแรก ที่นักซูโม่ในวงการ เชื่อว่าตัวใหญ่กว่าย่อมได้เปรียบ การมีโครงสร้างสรีระร่างกายที่แข็งแกร่งดั่งหินผา และไม่ล้มลงในสนามง่ายๆ จากน้ำหนักตัวที่มาก ทำให้เกิดเป็นแฟชั่นการทำให้น้ำหนักตัวเยอะๆ มากกว่า 90 – 100 กิโลกรัม ขึ้นไป เพื่อกลายร่างเป็นรถถังเดินได้ยังไงอย่างงั้น!
 
แต่ทว่านักซูโม่ตัวใหญ่มากๆ หรือในสายตาบางคน อาจมองว่าอ้วนมีแต่ไขมัน แท้จริงแล้ว คือ กล้ามเนื้อที่ผสมไขมันเข้าไว้ด้วยกัน และนักซูโม่จะกินเยอะมากๆ ซึ่งกินจุมากกว่า 7,000 แคลลอรี่ต่อวัน กินกันเป็นกะละมัง และฝึกฝนกันอย่างหนักมากๆ เพราะต้องการให้ตัวเองตัวใหญ่แข็งแกร่งมีรากฐานที่มั่นคงในการต่อสู้กับคู่แข่งและไม่ถูกผลักล้มจนแพ้
 
ทำไมต้องส่งเสียง ฮึ ฮ้า! ก่อนการแข่งขัน นักซูโม่มีพิธีกรรมคล้ายกับการไหว้ครูมวยไทยในบ้านเรา เช่น การกำเกลือมาโรยลงพื้น เป็นสัญลักษณ์ว่าพวกเขาจะต่อสู้กันด้วยความบริสุทธิ์ โปร่งใส เหมือนดั่งเกลือที่โรย หลังจากนั้นจะยกขาทีละข้างให้สูงที่สุด เพื่อกระทืบลงพื้นให้ดังตึ้ม! เพื่อเป็นการข่มขวัญคู่ต่อสู้ ให้ดูน่าเกรงขาม จากนั้นจะค่อยๆ นั่งยองจ้องหน้าคู่ต่อสู้ กำหมัดลงแตะพื้นเล็กน้อย อยู่ในท่าเตรียมพุ่งเข้าใส่กัน และรอฟังกรรมการให้สัญญาณ
 
เมื่อกรรมการดูว่าทั้งคู่พร้อมที่จะสู้กันอย่างเต็มที่ กรรมการจะให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน ทั้งคู่ก็จะพุ่งเข้าต่อสู้กันทันทีแบบไม่คิดชีวิต จนบางครั้งตัวกระแทกกันเสียงดังสนั่นหวั่นไหว และบางครั้งก็เกิดอุบัติเหตุหัวชนกันจนหัวแตก คิ้วแตก หมอไม่รับเย็บ แอนตาซิลจ่าย 5 เข็ม (ว่าไปนั่น…)
 
หากชื่นชอบความเป็นมาของกีฬาและวัฒนธรรมซูโม่แห่งญี่ปุ่น และอยากรู้เรื่องราวมันส์ๆ เพิ่มเติม สามารถติดตามฟังต่อได้ใน
 
Sport Journey Podcast EP.2 – SUMO กีฬาของผู้ยิ่งใหญ่แห่งแดนปลาดิบ
 
ช่องทางในการรับฟังรายการ #SportJourneyPodcast
Soundclound: https://bit.ly/3kHEspy
 
Apple Podcast: https://apple.co/2RP9ort
 
Author: Supakorn Thepvichaisinlapakun
Illustrator: Kannala Pooriruktananon
 
อ้างอิง:
Advertisements