วางใจกว่าไหม? ถ้าสามารถตรวจสอบภาพที่ “AI” สร้างได้ 

421

เราน่าจะเคยเห็นภาพที่ AI เป็นคนสร้างขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยการป้อนตัวอักษรหรือคำสั่ง (Prompt) เพียงไม่กี่คำก็สามารถสร้างสรรค์เป็นรูปที่เหนือจินตนาการ

การใช้เทคโนโลยีสร้างภาพด้วย AI กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน นอกจากบุคคลทั่วไปที่ใช้เพื่อสร้างรูปโปรไฟล์หรือวอลล์เปเปอร์สวยๆ ในอุตสาหกรรมครีเอทีฟและการโฆษณาก็นิยมใช้ AI สร้างภาพและคอนเทนต์ต่างๆ เช่นกัน เพราะ AI สามารถสร้างคอนเทนต์ได้อย่างหลากหลายไร้ที่สิ้นสุด รวดเร็วทันเหตุการณ์ และยังสามารถทำให้ความคิดสร้างสรรค์กับจินตนาการกลายเป็นความจริงได้อย่างง่ายดาย

เทคโนโลยีสร้างภาพด้วย AI เรียกกันว่า Generative AI (Gen-AI) หรือคือ AI ที่ออกแบบมาเพื่อการ “สร้าง” ไม่ว่าเราจะพิมพ์สิ่งใดลงไปในระบบ ล้วนสามารถประมวลผลเป็นภาพออกมาได้ตามต้องการ การสร้างผลงานด้วย AI ในอนาคต อาจไม่จำกัดเพียงแค่รูปภาพ แต่ยังอาจเป็นได้ทั้งวิดีโอ เสียงประกอบ เพลง บทความ และ 3D เป็นต้น

แต่คำถามที่ตามมาคือ “ภาพที่เกิดจาก AI มีที่มาอย่างถูกจริยธรรมหรือไม่? ”

เนื่องจากหลักการสร้างภาพของ AI คือการนำภาพต้นฉบับที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ มารวบรวม เรียบเรียง และสร้างภาพใหม่ขึ้นมา โดยที่เจ้าของภาพต้นฉบับอาจไม่ทันได้อนุญาต จึงทำให้เกิดการฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์มากมายในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และทำให้ผู้ใช้งานหลายรายไม่กล้านำภาพที่สร้างโดย Generative AI ไปใช้งานในเชิงพาณิชย์ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของแบรนด์

ภายใต้ประเด็นดังกล่าว Shutterstock ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคลังคอนเทนต์ รูปภาพและวิดีโอคุณภาพสูงชั้นนำระดับโลก จึงมุ่งแก้ไขปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ภาพที่ AI สร้างขึ้น โดยพัฒนาระบบ Generative AI ของตนเองที่ทำงานควบคู่กับระบบ “Contributor Fund” ซึ่งเป็นระบบมอบเงินส่วนแบ่งจากการซื้อขายภาพของ AI ให้กับศิลปินเจ้าของภาพต้นฉบับด้วย

ทำให้ผู้ใช้งาน Shutterstock จึงมั่นใจได้ว่าผลงานที่เกิดจาก Generative AI บนแพลตฟอร์มของพวกเขาสามารถนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ทันที โดยไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ตามมาทีหลัง

นอกจากระบบ “Contributor Fund” ที่ออกแบบมาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ Shutterstock ยังพัฒนาระบบ “Content Credential” ในการตรวจสอบภาพของ AI ที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Shutterstock เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และเพื่อรับประกันความปลอดภัยในการใช้งานเชิงพาณิชย์ ซึ่งใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1-2 วัน

Shutterstock มุ่งพัฒนาระบบ “Content Credential” ให้มีประสิทธิภาพและเป็นสากลยิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนและเข้าร่วมกับองค์กร Content Authenticity Initiative (CAI) ที่ก่อตั้งโดย Adobe ซึ่งมีเป้าหมายในการจัดการข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจผิดในโลกออนไลน์ โดยจะตรวจสอบแหล่งที่มา เครื่องมือ AI ที่ใช้ผลิต ผู้สร้างผลงานและประวัติการแก้ไขคอนเทนต์นั้นๆ ด้วยซอฟต์แวร์ที่มีมาตรฐานสูง ซึ่งออกแบบมาเพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าวให้อยู่ในคอนเทนต์ถาวร ไม่สามารถลบได้แม้จะผ่านการแก้ไขด้วยเครื่องมือใดๆ ก็ตาม

ทั้งนี้จะดำเนินการร่วมกับระบบ “Content Credential” ของ Shutterstock ด้วย ผู้ใช้งานจึงสามารถตรวจสอบเนื้อหาแต่ละรายการที่ส่งเข้ามาในเว็บไซต์ได้ เพื่อปกป้องผู้ใช้จากการปลอมแปลงข้อมูลในทุกรูปแบบ อีกทั้งยังเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับ AI และเครื่องมือสร้างคอนเทนต์อื่นๆ เช่น “DALL-E” ที่ใช้ Generative AI สร้างรูปภาพ

ดังนั้นผู้ใช้งานทุกคนจึงสามารถทราบได้ว่า ภาพที่ต้องการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ผ่านการสร้างโดย AI ใด และมีประวัติการแก้ไขภาพอย่างไร เพื่อให้ทุกการใช้งานภาพที่สร้างโดย AI มีความโปร่งใสมากที่สุด และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ผู้ผลิต และผู้ใช้ทั่วไปที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบตรวจสอบรูปภาพที่สร้างโดย AI หรือต้องการทราบแนวทางการใช้งานรูปภาพที่สร้างจาก AI ในงานเชิงพาณิชย์ สามารถติดต่อได้ที่ Number 24 ผู้ให้บริการ Shutterstock อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้

LINE Official Account : https://bit.ly/3Rz00FU
Website : bit.ly/459bN43

#Number24xShutterstock 
#ShutterstockThailand 
#ชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย
#missiontothemoon

Advertisements
Advertisements