PODCASTMISSION TO THE MOONไปต่ออย่างไรให้ไหว? เมื่อสูญเสียคนในครอบครัวไปอย่างไม่มีวันกลับ

ไปต่ออย่างไรให้ไหว? เมื่อสูญเสียคนในครอบครัวไปอย่างไม่มีวันกลับ

คุณเคยนึกถึงช่วงเวลาที่จะไม่มีพ่อแม่หรือคนในครอบครัวที่ผูกพันกันมากๆ หรือไม่? โลกในวันที่ไม่มีพวกเขาจะเป็นอย่างไร? และเราจะสามารถผ่านพ้นความเสียใจตรงนั้นได้หรือเปล่า? เพราะแน่นอนว่าการสูญเสียคนในครอบครัวไปนั้นเป็น 1 ในเหตุการณ์ที่หนักหนาที่สุดในชีวิตของเราและน้อยคนที่จะสามารถรับมือได้ไหว

แต่สำหรับคนที่เคยผ่านเหตุการณ์ความสูญเสียนั้นแล้ว จะรู้กันเป็นอย่างดีว่าการลุกขึ้นจากความเจ็บปวดและก้าวเดินต่อนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย โดยเฉพาะในสังคมที่บีบบังคับให้เราไม่สามารถจมอยู่กับความเสียใจจากการสูญเสียได้นาน ยิ่งโตเป็นผู้ใหญ่ก็มีเวลาพักใจไม่กี่วันเท่านั้น เพราะในที่สุดก็ต้องกลับสู่วงจรของการทำงาน หาเงิน สวมบทบาทความเป็นมืออาชีพแล้วใช้ชีวิตต่อไปให้ปกติที่สุด

เสียใจ แต่ก็ต้องเป็นที่พึ่งของคนอื่นในครอบครัว
เสียใจ แต่ก็ต้องเข้มแข็งเข้าไว้ เพราะมีเรื่องให้จัดการอีกเยอะ
เสียใจ แต่ก็ต้องยืนขึ้นให้ไว เพราะเกรงใจคนที่รอให้เรากลับไปปฏิบัติหน้าที่
เสียใจ แต่ห้ามฟูมฟาย เพราะไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใหญ่ในโลกแห่งการทำงานเขาแสดงออกมาให้เห็น

แต่ใครจะรู้ว่าภายหลังการสูญเสียนั้น สมองจะยังคงเข้าสู่โหมดๆ หนึ่งที่ทำให้เราไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและนี่เป็นเหตุผลที่เราจำเป็นต้อง “ใช้เวลาพัก” เพื่อเยียวยามัน

เข้าใจ “Grief Brain” สภาวะของสมองที่ทำให้เรายังไปต่อไม่ได้

เคยสังเกตหรือไม่ว่าหลังจากที่เกิดเหตุการณ์อันน่าเศร้าขึ้น เราจะสามารถปล่อยแต่ละวันให้ผ่านไปโดยที่ไม่ทำอะไรสักอย่างเลย แม้ว่าเราจะมีแผนที่ต้องการทำอยู่ในหัวก็ตาม หรือรู้สึกว่าสมองของเราไม่สามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างปกติ มีการขับรถผิดในเส้นทางที่เคยไปประจำ หรือแม้กระทั่งลืมว่าตัวเองจะทำอะไร ลืมการนัดหมาย ลืมวิธีการทำกิจกรรมที่เคยทำ การใช้ชีวิตตามกิจวัตรประจำวันก็กลายเป็นเรื่องยากไปหมด

ทั้งหมดนี้คืออาการที่เรียกว่า Grief Brain ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเศร้า โดย Grief Brain นี้เกิดจากการที่สมองเต็มไปด้วยข้อมูลของความคิดถึง ความโศกเศร้า ความเหงาและอีกหลายๆ ความรู้สึกจนไม่สามารถประมวลผลได้ตามปกติ ซึ่งอาการ Grief Brain นี้มักจะส่งผลต่อความสามารถในการจดจำ จดจ่อและสัญชาตญาณของเรา จากเดิมที่เคยทำอะไรได้นานๆ ก็จะเริ่มรู้สึกไม่อยากทำ หรือแม้แต่เซนส์ในการรับรู้อันตรายบางอย่างก็จะลดลงไปด้วย

สิ่งสำคัญที่จะพาเราก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปได้คือการอ่อนโยนและอดทนกับตัวเอง เพราะจากผลการศึกษาพบว่า 60% ของคนที่ประสบปัญหา Grief Brain นั้นจะสามารถฟื้นตัวได้ภายในระยะเวลาหลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน ในขณะที่อีก 40% ใช้เวลานานกว่านั้น เพราะฉะนั้นมันอาจจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะสามารถทำงานได้ดีหรือตัดสินใจได้เฉียบขาดภายหลังการสูญเสีย

Advertisements

ไปต่ออย่างไรให้ไหว? เมื่อชีวิตยังคงถูกรบกวนด้วยมวลความเศร้า

แน่นอนว่าสิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือการใช้เวลาพักผ่อนและอยู่กับตัวเองไปอีกสักพัก ไม่ว่าจะเป็นการลาพักร้อนหรือการใช้สิทธิ์ลาอื่นๆ ตามสัญญาของบริษัทเพื่อพักใจ

การพยายามปรับสมองให้สามารถโฟกัสได้ดีขึ้น ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราฟื้นฟูตัวเองจากอาการ Grief Brain ได้ โดยสามารถจดบันทึกสิ่งต่างๆ ไว้ในสมุดและวางไว้ใกล้ตัวที่สุด เพื่อให้เราสามารถกลับมาอ่านสิ่งที่เราบันทึกได้ง่ายที่สุด การจดจะเป็นการบำบัดอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้เรารู้จักอารมณ์ของตัวเองและได้ปลดปล่อยความรู้สึกต่างๆ มากมายออกมา หากเรารู้สึกว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ยากลำบากจนไม่สามารถรับได้ ก็อย่าอายที่จะเอ่ยปากขอความช่วยเหลือจากคนอื่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและพูดสิ่งดีๆ กับตัวเองเสมอ

นอกจากนี้ก็ยังมีขั้นตอนที่เราสามารถเริ่มต้นทำได้ เพื่อให้เราค่อยๆ ปลดปล่อยตัวเองออกจากมวลความเศร้าเหล่านั้น และใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็น

[ ] รู้ว่าเรากำลังอยู่ในความเศร้าระยะใด: โดยจากหนังสือ On Death and Dying ที่โด่งดังในปี 1969 ได้มีการตีพิมพ์แบบจำลองความโศกเศร้า 5 ระยะประกอบไปด้วย การปฏิเสธความจริง ความโกรธ ความเสียดาย ความซึมเศร้า และการยอมรับความจริง ซึ่งสำคัญมากกับการฟื้นฟูตัวเองในขั้นตอนต่อไป

[ ] ไม่ว่าจะอยู่ในระยะไหน ก็ปล่อยให้ตัวเองเป็นไปแบบนั้น: วิธีเดียวที่จะรักษาได้คือปล่อยให้ตัวเองรู้สึกถึงอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา ไม่ห้ามหรือพยายามยับยั้งตัวเองเพราะจะทำให้เราเข้าสู่อาการที่เรียกว่า “ความโศกเศร้าที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete Grief)” ซึ่งส่งผลให้ความเศร้ายังคงติดค้างอยู่ในใจและไม่สามารถก้าวต่อไปได้ เมื่อเราเปิดโอกาสให้ตัวเองเศร้าอย่างเต็มที่สักพักและช่วงเวลาเหล่านั้นผ่านไป เราก็จะสามารถผลักดันและดำเนินชีวิตต่อไปได้

[ ] ขอความช่วยเหลือให้มากเท่าที่ต้องการ: ไม่ว่าจะมาจากครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมงานหรือแม้กระทั่งลูกค้า เราก็สามารถเปิดใจบอกตามตรงและขอความช่วยเหลือตามที่ต้องการได้ นอกจากนี้เรายังสามารถพูดคุยกับคนที่เคยผ่านการสูญเสียมาก่อนเพื่อปรึกษาได้เช่นกัน

[ ] ให้ความสำคัญกับตัวเองเป็นอันดับหนึ่ง: แน่นอนว่าเมื่อเรารู้สึกเศร้า การดูแลตัวเองกลายเป็นเรื่องที่เรามักจะละอายหากได้ทำมัน หลายคนไม่กล้าออกไปเที่ยวเล่น ไม่กล้าชอปปิง ไม่กล้าทำสิ่งที่ตัวเองชอบหลังจากที่เพิ่งผ่านความสูญเสีย แต่ความจริงแล้วมันเป็นสิ่งที่เราควรทำมากที่สุดเพราะจะช่วยให้เราจัดการกับความเศร้าและความเครียดได้ดีขึ้น

[ ] หาสิ่งของที่ทำให้เรานึกถึงคนสำคัญที่เพิ่งจากไป: แม้ว่าเราจะสูญเสียพ่อหรือแม่ไปแล้ว แต่ถ้าหากเรามีสิ่งของที่ใช้แทนตัวตนของพวกเขาได้ ก็จะสามารถเยียวยาความรู้สึกเศร้าให้กลายเป็นความทรงจำที่ดีได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหารด้วยสูตรของเขา การเก็บตู้เสื้อผ้าที่ยังคงมีกลิ่นอายของพ่อแม่ไว้ หรือการสวมใส่เครื่องประดับของแม่ ทั้งหมดนี้จะทำให้เรายังคงรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ที่จากไปได้

“The only cure for grief is to grieve” หนทางเดียวที่จะรักษาความโศกเศร้าได้ก็คือการโศกเศร้าให้สุด ไม่ต้องพยายามเข้มแข็งหรือฝืนอารมณ์ของตัวเอง เพราะอย่างไรก็ตามการสูญเสียคนคนหนึ่งไปนั้นก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียวในชีวิตเท่านั้น ยิ่งเป็นคนสำคัญอย่างพ่อหรือแม่ ก็ยิ่งต้องใช้เวลาในการเยียวยามากเป็นพิเศษ

และเมื่อเวลานั้นผ่านไป ความโศกเศร้าจางหาย กลายเป็นความทรงจำที่แสนดีเข้ามาแทนที่ ไม่ว่าเราจะคิดถึงผู้ที่จากไปมากแค่ไหน แต่สิ่งที่ควรรักมากที่สุดก็ยังเป็นตัวของเราเอง ที่เป็นส่วนผสมของพ่อแม่ที่เรารัก เป็นสิ่งมีชีวิตที่แสนพิเศษที่ต้องใช้ชีวิตต่อไปให้มีความสุขที่สุดแบบที่พ่อแม่ของเราคาดหวังตั้งแต่วันแรกที่เราถือกำเนิดขึ้นมา

อ้างอิง
– How to Deal With the Loss of a Parent : Sharon Liao, WebMD – https://bit.ly/3u9WlaZ 
– “Grief Brain” What’s Going On? : Hospice of the Western Reserve – https://bit.ly/3SyXqTl

#relationship
#griefbrain
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า