เรื่องเล่าจากอาร์กติก: สัญญาณเตือนอันตราย เมื่อน้ำแข็งกลายเป็นทะเลสาบ

436
อาร์กติก

Mission to the Moon X Epson

เราได้ยินคำว่า “โลกร้อน” กันมาตลอด จนเหมือนมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คล้ายกับเราเคยชินกับเรื่องไม่ควรจะชิน เพราะปัญหานี้คือระเบิดเวลาที่กำลังส่งสัญญาณเตือนถี่ขึ้นเรื่อยๆ ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โลกที่เราอาศัยอาจสูญสลายไปกับตา 

และนั่นหมายถึงชีวิตของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันนี้เรากำลังเผชิญปัญหาโลกร้อนไปทั่วโลก สัญญาณเหล่านี้มีทั้งไฟไหม้ อากาศเป็นพิษ สุขภาพที่ย่ำแย่ของผู้คน และยังมีอีกจุดน่ากังวลไม่น้อยก็คือ “ปัญหาน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายอย่างรวดเร็ว” 

Advertisements

ในวันนี้เราจึงนำเรื่องราวที่นักสำรวจคนหนึ่งของ National Geographic ค้นพบมาฝากกัน กับงานวิจัยของ “เคธี่ วอลเทอร์ แอนโธนี” ที่ได้เดินทางไปวิจัยอาร์กติก และสิ่งที่เธอค้นพบก็น่าสนใจมาก

เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่เคธี่กำลังศึกษา เราต้องเข้าใจก่อนว่า บริเวณขั้วโลกจะมี “ชั้นดินเยือกแข็ง” ซึ่งเป็นชั้นน้ำแข็งหนาทึบที่กักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าชั้นบรรยากาศถึง 2 เท่า เมื่อโลกเกิดภาวะโลกร้อน ก็ทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายตัว จากธารน้ำแข็งจึงกลายเป็นทะเลสาบ และเปลี่ยนจุลินทรีย์ในดินให้เป็นก๊าซมีเทน และก๊าซนี้ก็รั่วไหลออกไป ซึ่งกลายเป็นก๊าซเรือนกระจกอานุภาพสูง 

จากการวิจัยของเคธี่ เธอพบว่า ทะเลสาบอาร์กติกกำลังปล่อยก๊าซมีเทนมากกว่าที่เคยคาดการณ์ถึง 5 เท่า และในไม่ช้ามันจะไปรวมตัวเข้ากับชั้นบรรยากาศของโลก กลายเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ห่อหุ้มโลกเราเอาไว้ในอีก 30 ปีข้างหน้า

ในตอนนี้ระดับน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกลดต่ำลงเรื่อยๆ จนมีหลายทฤษฎีคาดการณ์ว่า น้ำแข็งในอาร์กติกจะละลายหมด และกลายเป็นมหาสมุทรโดยสมบูรณ์ก่อนปี 2100 หรือราว 80 ปีข้างหน้า หรืออาจจะเร็วกว่านั้นก็ได้ 

ย้อนกลับมาที่เรื่องก๊าซเรือนกระจก จากสิ่งที่เคธี่สำรวจพบ ก๊าซมีเทนจากการละลายของธารน้ำแข็งอาจเป็นต้นตอของก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากในยุคนี้ แต่ต้นกำเนิดที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกไม่แพ้กันก็คือ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของมนุษย์ โดยเฉพาะการสร้างกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก

จากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในโลกจนถึงการสำรวจของเคธี่นั้นสะท้อนว่า เรากำลังได้รับสัญญาณเตือนของโลกร้อนอย่างเต็มพิกัด เพราะปัญหาโลกร้อนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เรากำลังได้รับผลกระทบกันทุกคน มนุษย์อย่างเราจึงจำเป็นต้องจริงจังในการลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก

ซึ่งไม่ใช่ “ทางเลือก” แต่เป็น “ทางเดียว” ที่พอจะทำให้เราเหลือโลกใบนี้ส่งต่อไปให้ลูกหลานของเราได้

Advertisements

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านๆ มาหลายประเทศก็มีความตื่นตัวในเรื่องนี้กันมาโดยตลอด รวมถึงหลายๆ แบรนด์ทั่วโลกก็ดำเนินนโยบายความยั่งยืน ด้วยการผลิตสินค้าหรือบริการที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกลง อย่างเช่น “Epson” แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ ซึ่งตอนนี้ได้นำเทคโนโลยี Heat-Free หรือการพิมพ์แบบไม่ใช้ความร้อนมาใช้กับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท โดยจะใช้แรงไฟฟ้าในการฉีดพ่นหมึกพิมพ์ออกจากหัวพิมพ์แทนการใช้ความร้อน ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมที่ออกแบบอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

โดยข้อดีของเทคโนโลยี Heat-Free ก็คือ การใช้พลังงานที่น้อยกว่าเครื่องพิมพ์อื่น เพราะไม่ต้องใช้ความร้อนในการอุ่นเครื่องก่อนพิมพ์ ช่วยลดการใช้พลังงานลงได้อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหมายถึงการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยลง ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกน้อยลงไปด้วย และยังช่วยให้ประหยัดเวลา เพราะสามารถใช้งานได้ทันทีหลังเปิดเครื่องหรือโหมดพร้อมใช้งาน 

mm2021

นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์ Epson ยังถูกออกแบบให้มีชิ้นส่วนประกอบที่น้อยกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ส่งผลให้ใช้งานและดูแลรักษาง่าย ทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานน้อยกว่า และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากวัสดุที่เป็นอะไหล่ เพราะมีการเปลี่ยนอะไหล่น้อยกว่าเครื่องพิมพ์อื่นๆ ด้วย ซึ่งการเลือกใช้เครื่องพิมพ์ Heat-Free ก็เป็นการลดใช้พลังงานและลดการสร้างก๊าซเรือนกระจกได้ในอีกทางหนึ่ง

และล่าสุด ทางเอปสันเอง ก็ได้มีแคมเปญจากสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาค ภายใต้ชื่อ “Turn Down The Heat” ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างเอปสัน และ National Geographic ที่ได้กล่าวถึงภาวะเรือนกระจกที่ขั้วโลกเหนือและผลกระทบต่อภูมิอากาศทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงการช่วยกันลดการใช้ความร้อนจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การใช้งานตลอดจนไปถึงการดูแลรักษาเครื่องพิมพ์จาก Epson เป็นการใช้งานที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนในระยะยาวอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศ องค์กร หรือปัจเจกบุคคล นั่นเพราะเราล้วนเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโลกใบนี้ เราจึงควรรับฟังเสียงสัญญาณเตือน และเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมที่กระทบต่อการสร้างความร้อนให้โลก 

อาจไม่ต้องเป็นการกระทำที่ยิ่งใหญ่ เพราะการกระทำเพียงเล็กน้อยก็ช่วยได้มาก หากทุกคนช่วยกัน

เรียบเรียงจาก: https://bit.ly/3zQ6reA

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#society

Advertisements