NEWSTrends4 วิธีบริหารความเสี่ยง ให้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างยั่งยืนและปลอดภัย

4 วิธีบริหารความเสี่ยง ให้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างยั่งยืนและปลอดภัย

เมื่อพูดถึงเรื่องการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ก็ต้องบอกว่าสิ่งที่นักลงทุนทุกคนไม่ควรมองข้าม คือ “การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)” เพราะโดยส่วนมากการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงย่อมต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่มากเช่นเดียวกัน

โดยสถิติจาก Natixis Investment Managers เปิดเผยว่า การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและได้ผลตอบแทนที่น้อยกว่ามักจะได้รับความสนใจและสามารถอยู่รอดในตลาดได้มากกว่าการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนสูง

และตัวอย่างของการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ “Cryptocurrency” หรือ “สกุลเงินดิจิทัล” เนื่องจากมีความผันผวนของราคาที่รุนแรง อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่มีความสดใหม่และคนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าใจตลาดนี้ได้อย่างลึกซึ้ง

อย่างไรก็ตาม แม้การลงทุนในคริปโทฯ จะมีความเสี่ยงสูง แต่หากเรารู้จักวางแผนและบริหารจัดการความเสี่ยงก็จะสามารถป้องกันการสูญเสียเงินจำนวนมากจากตลาดสกุลเงินดิจิทัลได้

โดยเทคนิคกระจายความเสี่ยงนั้นมีหลากหลาย แถมยังมีประโยชน์หลายอย่าง เพราะนอกจากจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนแล้ว ยังอาจสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ และหากใช้อย่างชำนาญก็สามารถเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

มารู้จัก 4 วิธีบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างยั่งยืนและปลอดภัยไปพร้อมๆ กัน

1. การกระจายความเสี่ยง โดยการซื้อเหรียญที่หลากหลาย (Diversification)

การกระจายเงินลงทุนไปยังเหรียญที่หลากหลายมากขึ้นเป็นสิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมทำกัน เนื่องจากสกุลเงินดิจิทัลเป็นสินทรัพย์ที่ผันผวนและมีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้เราสูญเสียเงินทุนทั้งหมดได้หากลงทุนไปในเหรียญชนิดเดียว

การกระจายเงินทุนไปยังเหรียญประเภทอื่นๆ สามารถช่วยกระจายความเสี่ยงที่อาจจะขึ้นจากเหรียญใดเหรียญหนึ่งได้ โดยเปอร์เซ็นต์การแบ่งเงินทุนไปยังเหรียญต่างๆ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์ ระบบการทำงานของเครือข่าย รวมถึงผลตอบแทนที่จะได้จากการถือเหรียญแต่ละเหรียญ

ในตลาดสกุลเงินดิจิทัลมีเหรียญหลากหลายประเภทที่เราสามารถเลือกลงทุนได้ เช่น AI coin, Meme coin, Stable coin, Metaverse coin และ Layer-2 coin โดยแต่ละเหรียญจะมีหน้าที่และศักยภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งเราก็สามารถแบ่งเปอร์เซ็นต์ของพอร์ตจากเหรียญต่างๆ ตามความเสี่ยงที่รับไหวได้

2. วางแผนกลยุทธ์การออกตลาด (Exit Strategy)

กลยุทธ์การออกตลาด (Exit strategy) เป็นกลยุทธ์สำคัญที่นักลงทุนหลายคนใช้ในสถานการณ์ที่เกิดข้อผิดพลาดในการลงทุนจากแผนที่วางไว้ วิธีนี้สามารถใช้เพื่อป้องกันการสูญเสียเงินจำนวนมากได้ โดยการเริ่มทยอยเก็บเงินลงทุนกลับเข้ากระเป๋าตนเองหากมีข้อผิดพลาดประการใดที่เกิดขึ้นในแผนการลงทุน

บางทีการที่เราต้องขายเหรียญที่หมดศักยภาพทิ้ง (Cut loss) อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำใจ แต่การลงทุนและทำตามแผนที่วางไว้ก่อนที่จะเริ่มลงทุนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราจะสามารถหลีกเลี่ยงการลงทุนตามความรู้สึกตัวเองได้

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า นักลงทุนบางส่วนมักโดนตลาดครอบงำสภาพจิตใจและหลีกเลี่ยงที่จะทำตามแผน ส่งผลให้สูญเสียเงินทั้งหมด ดังนั้นการ Cut loss จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี เพราะเป็นเพียงการยอมสละเงินส่วนน้อยเพื่อรักษาเงินส่วนมากไว้ และเป็นการสร้างวินัยที่ดีให้กับตัวเอง นอกจากนี้เรายังสามารถเก็บเงินส่วนที่เหลือมาวางแผนและลงทุนใหม่กับเหรียญที่มีศักยภาพมากกว่าได้อีกด้วย

สัญญาณอะไรบ้างที่เราต้องคอยเฝ้าระวังและเริ่มมองหากลยุทธ์การออกตลาด?

[ ]
Volume ซื้อขายที่ลดลงสามารถบอกเป็นนัยๆ ได้ว่าเหรียญที่เราลงทุนอยู่นั้นอาจจะไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดอีกต่อไปแล้ว
[ ] ราคาเหรียญเริ่มลดลงเรื่อยๆ จนผิดสังเกตซึ่งอาจจะเกิดจากข่าวร้ายหรือโปรเจกต์ที่เริ่มเป็นที่สนใจน้อยลง
[ ] การเกิดขึ้นของโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่มีวัตถุประสงค์คล้ายกับโปรเจกต์ที่เราลงทุนอยู่ โดยเราจำเป็นต้องพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างโปรเจกต์ใหม่กับโปรเจกต์ที่เราลงทุนอยู่ก่อนแล้ว หากโปรเจกต์ใหม่มีศักยภาพมากกว่า การพิจารณายุติการลงทุนในโปรเจกต์เดิมก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

Advertisements
Advertisements

3. แนวคิดการวิเคราะห์ตลาดและวางแผนด้วยปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis)

การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจะช่วยให้เราวางแผนการลงทุนล่วงหน้าได้ชัดเจนขึ้น ผ่านการใช้เครื่องมือและอินดิเคเตอร์ต่างๆ เพื่อดูแนวโน้มของตลาด โดยหากเรามีแผนการลงทุนที่ชัดเจนแล้ว ก็จะช่วยให้เข้าลงทุนได้อย่างเหมาะสมตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้

การวิเคราะห์จุดเข้าซื้อที่เหมาะสมนั้นสามารถช่วยให้เราซื้อเหรียญในราคาที่คุ้มค่ามากขึ้น โดยอาศัยความใจเย็นและรอให้ราคามาถึงจุดเข้าซื้อตามราคาที่วางแผนเอาไว้ โดยเราสามารถใช้เครื่องมือในการคาดเดาแนวโน้มของตลาดเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อเหรียญในราคาที่ดีที่สุดได้

ตัวอย่างเครื่องมือที่นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ตลาด
[ ] แนวรับแนวต้าน (Support and Resistance)
[ ] อินดิเคเตอร์ (RSI, MACD, EMA)
[ ] อีเลียตเวฟ (Eliot wave)
[ ] เส้นเทรนด์ (Trend line)

เครื่องมือเหล่านี้เป็นหนึ่งในตัวช่วยในการตัดสินใจเรื่องจุดเข้าซื้อเท่านั้น สุดท้ายแล้วเราก็ต้องคำนึงถึงจำนวนเงินที่ใช้ในการลงทุนตามความเสี่ยงที่รับไหวด้วย

4.  การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging)

การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนหรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม “DCA” คือการลงทุนด้วยปริมาณเงินคงที่ในระยะเวลาที่กำหนด เช่น ลงเงินทุน 100 บาท ทุกๆ สองสัปดาห์ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีกระจายความเสี่ยงที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจาก..

[ ] เป็นการแบ่งเงินลงทุนตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการสูญเสียเงินจำนวนมากจากการลงทุนด้วยเงินทั้งหมดในครั้งเดียวหากมีข่าวร้ายที่ส่งผลให้ตลาดเข้าสู่ขาลง
[ ] สร้างวินัยในการลงทุน เพราะหากเราเลือกแบ่งเงินในการลงทุนโดยไม่มีการวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด วิธีนี้ก็สามารถช่วยให้เราหลีกเลี่ยงสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ในช่วงขาลงของตลาดได้
[ ] ลดความเสี่ยงในการซื้อเหรียญต่างๆ ในราคาที่อาจจะแพงเกินไปหรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม “ติดดอย” เนื่องจากการ DCA เป็นการเฉลี่ยซื้อเหรียญด้วยราคาที่เฉลี่ยตามช่วงเวลาที่เรากำหนด

“สกุลเงินดิจิทัล” ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนทุกคนควรศึกษาวางแผนและบริหารความเสี่ยงให้แน่ใจก่อนลงทุน โดยควรคำนึงถึงจำนวนเงินทุนที่นำไปซื้อเหรียญที่หลากหลายเพื่อกระจายความเสี่ยง ศึกษาระบบการทำงานและศักยภาพของเหรียญแต่ละชนิดเพื่อวางแผนกลยุทธ์การเข้าและออกตลาด ลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือศึกษาแนวโน้มของตลาดด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เพื่อป้องกันการสูญเสียเงินในตลาดที่มีความผันผวนสูงอย่างตลาดสกุลเงินดิจิทัล

Mission To The Moon x Bitkub

ขอบคุณข้อมูลจาก Bitkub

#trend
#missiontothemoonxbitkub
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า