‘ความยั่งยืน’ ทำให้โลกฟื้นตัว เมื่อ Sustainability คือโจทย์สำคัญในการก้าวสู่ปี 2021 ของเราทุกคน

724

Mission to the Moon X ThaiBev

เรื่องสิ่งแวดล้อมเคยเป็นประเด็นสำคัญที่คนทั่วโลกตระหนักถึงในช่วงปีก่อนจนถึงต้นปี 2020 นี้ ในประเทศไทยเองก็มีการรณรงค์จากทั้งภาครัฐและเอกชนเรื่องการลดใช้พลาสติก รวมถึงแคมเปญต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้คนได้เข้าใจในปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จนเกิดกระแสที่ดีที่เราหันมาใช้พวกถุงผ้าเพื่อใช้ซ้ำ ไปจนถึงการใช้ภาชนะที่ล้างทำความสะอาดซ้ำได้

แต่น่าเสียดายที่เทรนด์ซึ่งกำลังกลายเป็นกิจวัตรประจำวันของเราค่อยๆ ถูกลดความสำคัญลงเมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้เข้ามา เพราะเราต้องโฟกัสเรื่องความสะอาด และพยายามสัมผัสกับผู้อื่นให้น้อยลง ภาชนะพลาสติกก็เริ่มถูกนำมาใช้อีกครั้ง แล้วมักเป็นการใช้ครั้งเดียวและทิ้งไป ซึ่งจากการศึกษาของ SYSTEMIQ ได้มีการคาดการณ์ว่า จะเกิดขยะพลาสติกไหลบ่าลงสู่ทะเลถึง 3 เท่า ภายในปี 2040 หรือในอีก 20 ปีข้างหน้า

Advertisements

นอกจากมีการสร้างขยะที่มากขึ้นแล้ว เรายังประสบปัญหากับการจัดการขยะที่ไม่ดีพอ ในประเทศไทยเองนั้นมีขยะพลาสติกประมาณ 2 ล้านตันต่อปี แต่ขยะที่เรานำมารีไซเคิลได้รวมทั้งหมดเพียง 2.7 แสนตันเท่านั้น จนก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกล้นประเทศ ซึ่งในขณะนี้เราก็ทราบกันดีแล้วว่าขยะจากมือของเรานั่นเองที่เป็นตัวการหนึ่งของการเกิด “ภาวะโลกร้อน”

อาจพูดได้ว่าโลกของเรากำลังป่วย ซึ่งอาการข้างเคียงของโลกก็คือการเกิดวิกฤตภัยธรรมชาติทั่วโลก นับตั้งแต่เหตุการณ์ไฟป่าออสเตรเลียปีที่แล้ว มาสู่มหันตภัยหลากหลายเหตุการณ์ทั่วโลกในปีนี้ ทั้งไฟป่าในสหรัฐอเมริกา น้ำท่วมใหญ่ที่อิตาลี รวมถึงเรื่องราวผลกระทบที่น่าตระหนกอย่างการที่อุณหภูมิแอนตาร์กติกสูงทะลุ 20 องศาเซลเซียส ทำให้ปัจจุบันน้ำแข็งขั่วโลกละลายเร็วกว่าเดิมถึง 7 เท่า เมื่อเทียบกับจากปี ค.ศ. 1990 และมีแนวโน้มว่าในอีก 80 ปีข้างหน้าระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นอีก 7 เซนติเมตร แน่นอนว่ากระทบต่อพื้นที่อันเป็นที่อยู่ของมนุษย์และสัตว์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในประเทศไทยเองก็มี ‘อาการป่วย’ ของโลกร้อนและมีความรุนแรงไม่แพ้กัน อย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้กับภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ ซึ่งสร้างผลกระทบกว่า 500,000 หลังคาเรือน หรือเรื่องของฝุ่น PM2.5 ก็เป็นอาการหนึ่งที่โลกกำลังบอกว่า เราอยู่ในช่วงวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง เพราะแม้แต่อากาศบริสุทธิ์ที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ก็ยังเป็นสิ่งที่หาได้ยาก

นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทุกปีในประเทศเรา แต่เราอาจไม่ค่อยตระหนักถึงนัก อย่างภัยจากอากาศหนาวเย็น ซึ่งคนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องเผชิญมาโดยตลอด

เรามักพูดกันติดตลกว่า ประเทศไทยมีแต่ฤดูร้อนกับร้อนมาก ทว่าเมื่อฤดูหนาวมาถึง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง และต้องรับมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวนอันเป็นผลกระทบหนึ่งของโลกร้อน ก็ทำให้เกิดความหนาวเย็นแบบเฉียบพลัน จนร่างกายของคนไทยที่ไม่ได้เคยชินกับอากาศหนาวปรับตัวไม่ทัน

Advertisements

ข่าวน่าเศร้าเรื่องผู้สูงอายุเสียชีวิตจากอากาศหนาวจึงมีมาให้เราได้ยินกันทุกปี ซึ่ง ‘การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว’ (cold weather related death) เป็น 1 ใน 3 ภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาวที่กรมควบคุมโรคเคยประกาศเตือนให้คนไทยในพื้นที่เสี่ยงได้ระมัดระวังกันด้วย

นี่คือวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกับชีวิตของเราโดยตรง ซึ่งเราไม่สามารถนิ่งเฉยได้อีกต่อไปแล้ว ในตอนนี้องค์กรต่างๆ จึงพยายามเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนนี้ ซึ่งไม่ใช่แค่การทำให้จบเพียงครั้งเดียว แต่เป็นการทำต่อเนื่องอย่างยั่งยืน

อย่างกรณีศึกษาที่เห็นภาพได้อย่างชัดเจน คือการนำขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม ที่ทำจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลหรือ Recycled PET (rPET) 100% มาผลิตเป็น “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

DSC 3027

ในหลายๆ ปีที่ผ่านมานี้ เราคงคุ้นตากับผ้าห่มผืนเขียว ที่ทางไทยเบฟแจกจ่ายไปยังพี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบภัยหนาวในทุกๆ ปี และ “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ที่กล่าวถึงข้างต้น ก็คือผ้าห่มที่ผลิตขึ้นมา สำหรับ โครงการ “ไทยเบฟ… รวมใจต้านภัยหนาว” ในปีนี้ ซึ่งจัดเป็นปีที่ 21 แล้ว เพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบภัยหนาวในภาคเหนือและภาคอีสานรวม 15 จังหวัด 194 อำเภอ

DSC 3051

เพราะการให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าและประโยชน์สูงสุด ทางไทยเบฟ จึงได้เริ่มผลิต “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งจะช่วยลดจำนวนขวดพลาสติกได้ถึง 7.6 ล้านขวด และผลิตผ้าห่มได้จำนวน 200,000 ผืน โดยสามารถลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตลง 60% และ ลดการปล่อย co2 32% ที่สำคัญคือ ผ้าห่มจากพลาสติกรีไซเคิลนี้ยังคงคุณภาพด้วยความนุ่มและให้อบอุ่นได้ไม่ต่างกับผ้าห่มจากวัสดุผ้า

นางจ่อ ศักดิ์เจริญชัยกล และลูกสาว 1

และนอกจากการช่วยเหลือเรื่องผ้าห่มแล้ว ไทยเบฟยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้ยั่งยืน ด้วยการโอกาสด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และ ด้านกีฬา พร้อมกิจกรรมสันทนาการที่มอบความสุขในทุกๆ ครั้งที่ลงพื้นที่แจกผ้าห่มอีกด้วย เพราะหัวใจหลักซึ่งเป็นความตั้งใจของไทยเบฟคือ การให้ที่มากกว่าความอบอุ่น คือการสร้างสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน

และนี่คือก้าวที่สำคัญมากในปี 2021 ที่เราจะนำปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มาเป็นประเด็นสำคัญร่วมกันอีกครั้ง และเราจะไม่ได้ลงมือแก้ไขแค่ผิวเผินอีกต่อไป แต่จะเป็นการร่วมมือกันทำอย่างยั่งยืน

อ้างอิง: https://bit.ly/3p4cUNu
Advertisements