PODCASTMISSION TO THE MOON“บ้านพลังงานเป็น 0” เทรนด์บ้านที่เปลี่ยนโลกทั้งใบ จากการใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ

“บ้านพลังงานเป็น 0” เทรนด์บ้านที่เปลี่ยนโลกทั้งใบ จากการใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ

หากพูดถึงโจทย์ของการดูแลสิ่งแวดล้อม สื่อหลายแห่งอาจจะโฟกัสไปที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก ลดการใช้หลอด แต่น้อยครั้งนักที่เราจะเห็นว่าสื่อเลือกที่จะเป็นกระบอกเสียงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกันในระดับธุรกิจ ที่เป็นตัวแปรหลักที่ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมดีขึ้นและแย่ลงได้ผ่านการดำเนินธุรกิจเพียงไม่กี่เดือน 

“เสนาดีเวลลอปเม้นท์” เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ใช้แนวทางเน้นความยั่งยืน (Sustainable Business) และมีพัฒนาการในด้านการทำธุรกิจเพื่อโลกมาโดยตลอด รวมถึงแนวคิด “บ้านพลังงานเป็น 0” ที่ค่อนข้างโดดเด่นและสามารถทำให้คนเกิดพฤติกรรมในการดูแลโลกได้โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่เดิม วันนี้เราจะมาพูดคุยกับ ดร.ยุ้ย เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ และที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. ประธานด้านยุทธศาสตร์ฯ ในเรื่องของมุมมองและวิธีการนำแนวคิด Sustainability มาใช้ในธุรกิจ 

เสนาดีเวลลอปเม้นท์ สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้าให้ช่วยกันดูแลโลกใบนี้ไปพร้อมๆ กันได้อย่างไร เราจะมาเรียนรู้แนวคิดไปด้วยกัน

เรื่องสำคัญที่ภาครัฐและภาคธุรกิจควรตระหนักเกี่ยวกับภาวะโลกรวน

เมื่อพูดถึงสถานการณ์ของ “ภาวะโลกรวน” ในปัจจุบัน สิ่งที่ภาครัฐและภาคธุรกิจควรเห็นอย่างตรงกันคือ “ทุกคนต้องไม่คิดว่าเรื่องนี้ไกลตัวจนเกินไป และรู้สึกว่าเป็นเรื่องของภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว” เพราะการขับเคลื่อนที่สำคัญมาจากคนทุกคน ไม่ใช่เพียงภาครัฐและภาคธุรกิจ
เป็นกลไกสำคัญที่เราต้องคำนึงถึง

ในขณะที่โลกปัจจุบัน คนส่วนใหญ่กำลังมีความเชื่อในเรื่องของ Hero Alone หรือบุคคลที่ลุกขึ้นมาทำเพื่อโลก แต่เสนาฯ กลับมองว่าเราไม่ควรต้องฝากความหวังไว้ที่ใครคนใดคนหนึ่ง เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว คนทุกคนก็มีหน้าที่อื่นที่ตัวเองต้องทำ มีความรับผิดชอบในชีวิต เพราะฉะนั้นทุกคนต้องพยายามสร้างกลไกในการใช้ชีวิตของกันและกันเพื่อให้สามารถสร้างพฤติกรรมที่รักษ์โลกได้ง่ายที่สุด และมีความทำได้จริงที่สุด โดยที่ต้นทุนชีวิตของทุกคนไม่ต้องเปลี่ยนแปลงมาก

“การรักษ์โลกต้องไม่ลำบากจนเกินไป” เพราะถ้าเราเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วทุกอย่างแพงไปหมด สุดท้ายมันก็จะไม่ยั่งยืน ตัวอย่างเช่น หากคนทุกคนต้องซื้อของแพงมากๆ เพื่อให้ตัวเองเข้าสู่วิถีรักษ์โลก ในความเป็นจริงพฤติกรรมรักษ์โลกก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะไม่สามารถทำต่อเนื่องอย่างยั่งยืนได้ เราจึงต้องอยู่กับความเป็นจริงให้ได้ว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ทุกคนทั้งที่เต็มใจและไม่เต็มใจ เข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาโลกร้อน โดยที่พวกเขาต้องไม่ลำบากจนเกินไป และนี่จึงเป็นโจทย์สำคัญของเสนาดีเวลลอปเม้นท์

กฎเกณฑ์ของรัฐที่ทำได้ยากจนเกินไป ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่ดี

การที่ดร.ยุ้ยได้เข้ามาทำงานการเมือง ทำให้ได้ตระหนักว่ากฎเกณฑ์ที่ลำบากและทำได้ยากจนเกินไป ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่ดี ถึงแม้ว่าตามทฤษฎีจะบอกว่ากฎเกณฑ์นั้นดีก็ตาม เพราะฉะนั้นกฎหมายบางอย่างที่เราได้เรียนรู้จากต่างประเทศ เราอาจจะต้องคิดถึงบริบทของคนไทย ว่าคนไทยอยู่อย่างไร มีนิสัยอย่างไร มีปัจจัยแวดล้อมอะไรในชีวิตบ้าง เพื่อที่จะนำมาปรับใช้อย่างเข้าใจและสามารถทำได้จริงภายใต้บริบทของคนไทย

เพราะสุดท้ายแล้ว เราไม่ต้องการแก้ปัญหาโลกร้อนตามในทฤษฎี แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงปัญหาโลกร้อนทีละเล้กละน้อยที่มนุษย์สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง ดังนั้น ภาครัฐที่ออกกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือภาคเอกชนที่ทำธุรกิจออกมาอย่างยั่งยืนจึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดในสมการเหล่านี้

กรณีศึกษา ประเทศญี่ปุ่นกับแนวทางการรักษ์โลกที่เสนาฯ ปรับใช้กับประเทศไทย

ในเริ่มแรกนั้นเสนาฯ มีการทำบ้านติดโซลาร์เซลล์ ซึ่งในแง่ของคนธรรมดาที่เป็นเจ้าของบ้านก็ต้องยอมรับว่ามีต้นทุนที่แพง เสนาฯ จึงทำการเดินทางเพื่อไปศึกษาว่าที่ญี่ปุ่นเขาทำอย่างไร โดยในญี่ปุ่นนั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่าแนวคิด “บ้านพลังงานเป็น 0 (ZEH: Zero Energy House)” เป็นแนวคิดของบ้านที่พยายามใช้พลังงานลดลงโดยที่ผู้อยู่อาศัยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม 

ความพิเศษของการทำบ้านพลังงานเป็น 0 อยู่ที่ “วิธีการคิดและออกแบบ” โดยหลักการออกแบบจะมีทั้งหมด 3 ส่วนประกอบด้วยกันคือ 

1. Active Design ที่มีการใส่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีเพื่อประหยัดพลังงานเข้ามาในบ้าน เช่น การใส่เซนเซอร์ควบคุมระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง
2. Passive Design คือการทำให้บ้านมีความร้อนน้อยลงโดยออกแบบให้มีความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใส่ฉนวนกันความร้อน การใช้กระจกเขียวตัดแสง
3. พลังงานสะอาด (Clean Energy) ที่ได้มาจากการใช้แผงโซลาร์เซลล์ 

เมื่อการมีออกแบบ 3 ส่วนนี้เข้าด้วยกัน บ้านก็จะสามารถลดการใช้ไฟลงได้ถึง 14% และการใช้พลังงานในบ้านก็จะค่อยๆ ลดลงจนเข้าใกล้กับการใช้พลังงานเป็นศูนย์ 

แต่สิ่งที่ญี่ปุ่นต่างจากไทยคือ “รัฐบาลญี่ปุ่นมีการบังคับใช้เป็นกฎหมาย” แต่รัฐบาลญี่ปุ่นมีความเข้าใจพอที่จะรู้ว่าการทำบ้านพลังงานเป็น 0 นั้นต้องใช้ต้นทุนที่แพง จึงมีการสนับสนุนเป็นเงินช่วยเหลือและมีบทลงโทษสำหรับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ทำตามกฎหมาย อีกทั้งยังมีการแบ่งผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็น Top Tier หรือมีความสามารถในการนำร่องโครงการบ้านพลังงานเป็น 0 ให้ทำบ้านให้สำเร็จก่อน แล้วจึงมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีขนาดเล็กกว่า โครงการของรัฐบาลอยู่นี้จึงทำให้เกิดเป็นบรรยากาศของการพัฒนาโครงการบ้านพลังงานเป็น 0 อย่างรวดเร็วไปด้วยกัน ซึ่งเป็นความชัดเจนที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถประสบความสำเร็จในการทำบ้านพลังงานเป็น 0 ได้

ทางฝั่งประเทศไทยนั้นรัฐบาลมีการรณรงค์ส่งเสริมในปัจจุบัน แต่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการสนับสนุนหรือบทลงโทษที่ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทุกเจ้าต้องทำตาม การทำบ้านพลังงานเป็น 0 ของเสนาดีเวลลอปเม้นท์ จึงเป็นการทำด้วยจุดมุ่งหมายและแพสชันที่อยากให้โลกดีขึ้นเป็นหลัก โดยมีการร่วมมือทำรีเสิร์ชกับ Chula Unisearch เพื่อศึกษาว่าถ้าทำบ้านแบบนี้ ใช้ต้นทุนเท่าไหร่และลดพลังงานไปเท่าไหร่ แล้วถ้าต้องการลดเหลือศูนย์เลย ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเพื่อนำไปใส่ในบ้าน จนได้มาเป็น แนวคิด “บ้านพลังงานเป็น 0” ในแบบของเสนาดีเวลลอปเม้นท์ ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของคนไทย

“กฎหมายบังคับใช้” กุญแจหลักที่ไทยควรมีเพื่อให้แนวคิดบ้านพลังงานเป็น 0 เกิดได้จริง

สิงคโปร์มีการกำหนดเรื่องพื้นที่สีเขียวขั้นต่ำ (Green Buffer) ที่ต้องมีในสิ่งก่อสร้างทั่วประเทศ
ออสเตรเลียบังคับใช้แผนติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม 5 จุดภายในปี 2060 เพื่อให้ทั้งประเทศใช้ไฟจากพลังงานสะอาด
ซาอุดีอาระเบียตีธงในการใช้แผงโซลาร์เซลล์กับโรงกลั่นนํ้าทะเล เพื่อลดการปล่อยมลพิษ

จะเห็นได้ว่านอกจากญี่ปุ่นที่มีโครงการสนับสนุนแนวคิดบ้านพลังงานเป็น 0 แล้ว ประเทศอื่นๆ ในโลกก็มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้การดูแลโลกเกิดขึ้นได้จริง

ในส่วนของพื้นที่สีเขียวนั้น สภากรุงเทพมหานคร (สภา กทม.) ก็เพิ่งผ่านวาระแรก “ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว” ไปเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2566 นี้ แต่บ้านพลังงานเป็น 0 หรือ Zero Energy House เป็นสิ่งที่เหนือกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำของการมีพื้นที่สีเขียวขึ้นไปอีก ซึ่งถ้าเรารอกลไกตลาดให้สร้างค่านิยมของการทำบ้านพลังงานเป็น 0 ได้เองอาจจะต้องรอนาน แต่ถ้าหากรัฐมีการสนับสนุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือสนับสนุนแนวคิดบ้านพลังงานเป็น 0 เราก็จะสามารถเข้าใกล้บ้านพลังงานเป็น 0 ได้เร็วขึ้นเหมือนกับญี่ปุ่น

“ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่ารัฐจะสามารถยอมเสียเงินเพื่อมาสนับสนุนตรงนี้หรือไม่”
และที่สำคัญคือแต่ละประเทศมีปัญหาที่ไม่เท่ากัน งบประมาณของแต่ละประเทศจึงมีการจัดสรรที่แตกต่างกัน ปัจจัยเรื่องปัญหาและงบประมาณที่เหมาะสมจ่ายมากกว่าหรือน้อยกว่า จึงเป็นอีกประเด็นที่ทำให้รัฐในไทยอาจจะยังมองไม่เห็นความสำคัญของการงบประมาณในการทำบ้านพลังงานเป็น 0 อย่างชัดเจนนัก

ปัจจัยที่ช่วยสร้างความมุ่งมั่นของคนญี่ปุ่นให้สามารถ “ดูแลโลก” ได้จาก DNA

ญี่ปุ่นมีค่านิยมที่ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เด็กเกิดใหม่ก็อยู่ในครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับความมุ่งมั่นมาโดยตลอด ทำให้เมื่อโตมาก็เป็นคนที่จริงจังและมุ่งมั่นกับทุกเรื่อง สิ่งเหล่านี้เกิดมาจากวัฒนธรรมที่สร้างคนเหล่านี้ขึ้น เหมือนกับที่ Peter Drucker นักคิดและนักเขียนที่บุกเบิกแนวคิดการบริหารจัดการขององค์กรสมัยใหม่ได้กล่าวไว้ว่า “Culture eats everything for breakfast” หรือ “วัฒนธรรมกินทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอาหารเช้า” ไม่ว่าวิถีชีวิตของเราจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่วัฒนธรรมและบรรทัดฐานทางสังคมเป็นสิ่งที่เราต้องเจอในทุกวัน ซึ่งตัวแปรเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างสังคมญี่ปุ่นมาถึงปัจจุบัน

ความสมดุลระหว่างรัฐ เอกชนและตัวเรา เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหาให้เจอ

ความสมดุลนี้ต้องเริ่มมาจากการจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของรัฐที่จะทำให้การส่งต่อการดูแลโลกไปยังหน่วยงานเอกชนและตัวบุคคลมีประสิทธิภาพที่สุด ในอดีตเราอาจจะจัดสรรทรัพยากรเพื่อดูแลโลกได้น้อยมาตลอด เพราะเรากำลังรู้สึกว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เราไม่ได้เจอภัยในวันนี้ เทียบกับปัญหาปากท้อง การไม่มีกิน การส่งลูกเข้าโรงเรียนไม่ได้ที่เป็นภัยวันนี้ ในทางตรงกันข้ามหากทุกคนรวมถึงภาครัฐรู้สึกว่าโลกร้อนเป็นภัยในอีก 10 ปีข้างหน้าและไม่ให้ความสำคัญจนเวลาล่วงเลยไปเรื่อยๆ สุดท้ายโลกร้อนจะกลายเป็นภัยในวันนี้ที่ไม่สามารถแก้ไขได้เลย 

เพราะฉะนั้นการดูแลโลกจึงเป็นเรื่องที่ต้องพึ่งพาการพูดถึงให้เยอะและรัฐควรเป็นคนแรกที่พูดเรื่องนี้ได้อย่างสมบูรณ์และควรมีการจัดสรรงบประมาณของรัฐเพื่อให้คนทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแลโลกได้อย่างไม่เกินกำลังจนเกินไป

Advertisements

Gen Z เข้าไม่ถึงที่อยู่อาศัยในเมือง ปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้

ปัญหาหลักที่ First Jobber กำลังเผชิญคือการที่คนรุ่นนี้ไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยในเมืองได้ การเข้าถึงความมั่งคั่งของคนรุ่นใหม่ค่อนข้างยากมาก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ หรือแม้แต่เมืองใหญ่ในต่างประเทศอย่างฮ่องกงและสิงคโปร์ เพราะความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่สูง ราคาต้นทุนการก่อสร้าง ดอกเบี้ยบ้านก็แพงขึ้น ทำให้ราคาบ้านสูงขึ้นตาม ในฐานะของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จึงมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้และต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ First Jobber สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยในเมืองได้ 

เพราะอย่าลืมว่าประเทศไทยนั้นไม่ได้มีปลายทางของชีวิตหลังเกษียณให้มากนักเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในโลก ดังนั้นเมื่อเราไม่มีปลายทางของชีวิต สิ่งหนึ่งที่จำเป็นกับชีวิตหลังเกษียณคือบ้านที่รองรับความเป็นอยู่ของเราได้ และการทำบ้านที่ First Jobber สามารถเข้าถึงได้จึงเป็นการแก้ปัญหาให้กับคนหลังเกษียณในอนาคต

บทสรุปของธุรกิจ ควรทำอย่างไรเพื่อให้โลกดีขึ้นโดยที่ไม่ลำบาก

จุดที่น่ากังวลหนึ่งของธุรกิจคือ ธุรกิจต้องมีการคำนึงถึงเป้าหมายทั้งระยะสั้นเช่น การสร้างกำไร การลดต้นทุน และระยะยาวอย่างการช่วยให้โลกดีขึ้น แต่จะทำอย่างไรให้ธุรกิจสามารถทำเป้าหมายในระยะยาวได้โดยที่ไม่กระทบกับเป้าหมายระยะสั้น?

ความจริงที่หลีกหนีไม่ได้ก็คือ การทำธุรกิจก็ต้องหวังผลกำไร แต่สิ่งที่เสนาฯ ทำคือการนำแนวคิดการดูแลสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นส่วนประกอบหลักของการทำธุรกิจจริงๆ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการดูแลโลกได้ในระยะยาว โดยที่ไม่ได้ทำตามกระแสในช่วงใดช่วงหนึ่ง ตัวอย่างเช่น แผนก R&D (การวิจัยและพัฒนา) จากเดิมที่พัฒนาสินค้าโดยคิดในมุมมองของการทำสินค้าให้ดีขึ้น ต้นทุนลดลงก็ยังต้องทำตามมุมมองเดิม แต่เพิ่มคุณค่าอีกอย่างคือ “การทำให้เขียวมากขึ้น” 

เพราะฉะนั้นมุมมองในการพัฒนาสินค้าแทนที่จะมีแค่ 2 มุมมองอย่าง Convenient กับ Cost ก็เพิ่มมุมมอง Green เข้ามา การทำธุรกิจจึงสามารถดำเนินได้เท่าเดิม แต่เพิ่มเติมคือโลกที่ดีขึ้นในระยะยาว ที่สำคัญคือต้องทำได้จริงและต้องทำให้ลูกค้าเห็นคุณค่าได้จริง

10 ปีข้างหน้าของเสนา กับโลกอสังหาฯ ที่ไม่เหมือนเดิม

Smart City Concept ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียเมืองในฝัน ที่จะนำพาเสนาฯ ไปสู่อนาคตของโลกที่ดีในอีก 10 ปีข้างหน้าได้ โดยปกติคำว่าคอนเซ็ปต์ของการพัฒนาเมืองจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ Live Work และ Play แต่การแก้ปัญหาเมืองของเสนาฯ จะมุ่งไปที่การแก้ปัญหาด้าน Live และนำ Smart City Concept ทั้ง 7 มาใช้เพื่อให้การอาศัยในเมืองของลูกบ้านมีความฉลาด สะดวกสบายและแก้ปัญหาของโลกได้ดีขึ้น เช่น 

1. Smart Energy มีการบริหารจัดการขยะ, มีสวนที่เน้นพรรณไม้ดูดซับคาร์บอน, ใช้วัสดุที่ลดคาร์บอน (Hydraulic Cement)
2. Smart Mobility ที่ใส่ Solar Roof Top, ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา, ไฟฟ้าจาก Solar ในส่วนกลาง, EV Station, ปลั๊กรองรับการชาร์จรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
3. Smart Living มีแอปฯ ให้ข้อมูลการเดินทาง พร้อมคำนวณระยะทาง ราคา และจำนวนคาร์บอนที่ลดได้ และเทียบเป็นต้นไม้ที่เพิ่มขึ้น, EV Shuttle Service ไป Node การเดินทาง เช่น BTS / MRT หรือสถานที่สำคัญอื่นๆ
4. Smart Environment ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตรวจร่างกายพื้นฐาน และ AED, Smart TV จอ Monitor for Telemed, บริการช่วยพาผู้ป่วยไปหาหมอฉุกเฉิน, รับส่งของถึงห้องพัก สำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ, Universal Design พื้นที่ส่วนกลาง, ซื้อเฟอร์นิเจอร์ผ่าน Smartify (E-Commerce)
5. Smart People กิจกรรมเสริมความรู้และทักษะ เช่น ถ่ายรูป ทำอาหาร การดูแลสุขภาพ ปลูกผักปลอดสารพิษ และมี Training Class เช่น ฟิตเนส โยคะ ชกมวย

อาจจะตอบได้ยากว่าใน 10 ปีข้างหน้าภาพของเสนาจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่เสนาฯ มั่นใจคือ “ความละเอียดใส่ใจ” ที่เป็น DNA สำคัญของเสนาฯ และเป็นสิ่งที่พาเสนาฯ ไปในโลกอนาคตได้โดยไม่ต้องวิ่งไล่ตาม เหมือนกับสโลแกนของเสนาที่ว่า “Made from her คิดละเอียดกว่าก็อยู่สบายกว่า” ความละเอียดแบบนี้เองที่จะสามารถตอบโจทย์กับ Impact ใหญ่ที่เสนาฯ ต้องการจะสร้างในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

อ้างอิง
– ทำความรู้จักบ้านพลังงานเป็นศูนย์ Zero Energy House (ZEH) เป้าหมายเสนาฯ เพื่อทุกชีวิต ก่อนโลกเป็นสูญ : เสนาดีเวลลอปเม้นท์ – https://bit.ly/49mPI51 
– โรงกลั่นนํ้าทะเลซาอุฯ กับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม : Dailynews – https://bit.ly/3sszNBm
– ‘Net Zero Australia’ แผนสุดทะเยอทะยานในการติดโซลาร์เซลล์รวมกันใหญ่กว่าอ่าวไทย : TNN Online – https://bit.ly/3MUVql9

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า