2021 เหลืออีกครึ่งปี โลกใบนี้จะเปลี่ยนไปอย่างไร?

393
ครึ่งปี 2021

เดือนแรกของครึ่งหลังของปี 2021 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มจะคลี่คลายจากการแจกจ่ายวัคซีน ส่งผลให้ประชาชน รวมไปถึงภาคธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ อีกครั้ง ขณะที่บางประเทศกลับมีสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เลวร้ายลง

อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าวิกฤตโควิด-19 จะยังไม่หมดไปภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน และ The Next Normal ของปี 2021 จะยังไม่ใช่การกลับมาใช้ชีวิตเหมือนเดิมในช่วงก่อนการแพร่ระบาด หรือ Pre-Pandemic อย่างแน่นอน

วันนี้ เราได้รวบรวมบทวิเคราะห์ เทรนด์ครึ่งปีหลังประจำปี 2021 จาก McKinsey มาฝากหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด- 19 ในประเทศต่างๆ เริ่มคลี่คลายจากการแจกจ่ายวัคซีน

Advertisements

อย่างไรก็ตาม หกเดือนแรกนี้เป็นระยะเวลาที่สั้น สำหรับบางหัวข้อ อย่างเรื่องของเทรนด์ E-Commerce และเทรนด์อนาคตการทำงาน แต่ในส่วนของหัวข้อย่างการลงทุน และแนวโน้มการเดินทาง เราอาจจะพบเจอการเปลี่ยนแปลงที่เข้มข้นได้ภายในระยะเวลาเพียง 6 เดือน

แต่สิ่งที่เป็นข้อสรุปได้เลยคือ Next Normal ในช่วง 6 เดือนครึ่งปีต่อจากนี้ จะยังไม่กลับไปเป็นเหมือนในช่วงปี 2019 อย่างแน่นอน

Advertisements

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เริ่มกลับมา

  • ปริมาณเงินออมส่วนบุคคลของสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น 33.7% ในปี 2020 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากร้านรวงต่างๆ ปิดตัวลง ไม่มีโอกาสให้จับจ่ายใช้สอยในช่วงปีที่ผ่านมา
  • การจับจ่ายใช้สอยมีแนวโน้มว่าจะกลับมาเมื่อผู้คนเชื่อมั่นว่าสามารถออกมาใช้ชีวิตได้ ซึ่งดูเหมือนว่าในช่วงครึ่งปีหลังผู้คนจะเริ่มมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น
  • ผลสำรวจของ Mckinsey พบว่าชาวอเมริกันต้องการตามใจตัวเองมากขึ้น
  • มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นระหว่างผู้บริโภคที่ฉีดวัคซีนแล้ว (Vaccinated) และยังไม่ได้ฉีดวัคซีน (Unvaccinated) จากงานวิจัยของ McKinsey พบว่าคนที่ได้รับวัคซีนแล้ว ใช้เวลาและเงินนอกบ้านในอัตราที่สูงมาก และยังใช้เงินส่วนใหญ่ไปกับการพักผ่อนต่างๆ เหมือนกับในช่วงก่อนการแพร่ระบาด
  • แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนไปคือ ชาวอเมริกันมีพฤติกรรมการช็อปปิง (Shopping Habits) ที่เปลี่ยนไป โดย 40% เปลี่ยนแบรนด์ที่ซื้ออยู่เป็นประจำ โดยส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มวัยรุ่น หรือ Young Adult ทำให้แบรนด์ต้องหันมาใส่ใจการทำ Loyalty Program ใหม่

โดยสรุปคือ ผู้บริโภคชาวอเมริกัน ในครึ่งปีหลังจะกลับมาใช้จ่ายมากขึ้น และพร้อมที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีแนวโน้มการจับจ่ายที่มากขึ้น แต่ก็จะยังไม่กลับมาเท่ากับระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างแน่นอน

การเดินทางเพื่อการพักผ่อนจะกลับมา ขณะที่การเดินทางเพื่อธุรกิจจะยังคงไม่ฟื้น

  • ชาวอเมริกันเริ่มที่จะกลับมาเดินทางกันอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปเยี่ยมเพื่อน หรือครอบครัว
  • หลังจากที่การใช้จ่ายเพื่อการเดินทางพักผ่อนตกลงกว่า 40% และการเดินทางเพื่อธุรกิจตกลงกว่า 70% ในขณะนี้ชาวอเมริกันกว่า 60% พร้อมที่จะออกเดินทางอีกครั้ง
  • ในช่วงเดือนมิถุนายน 2021 ชาวอเมริกันกว่า 2 ล้านคนเดินทางผ่านสนามบินในสหรัฐฯ ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วถึง 2 เท่า อย่างไรก็ตามนี่คือตัวเลขของการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น สำหรับเทรนด์การเดินทางไปต่างประเทศนั้นดูจะสวนทางกัน เนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทาง อย่างเช่น สถานะการฉีดวัคซีน, การตรวจหาเชื้อ และการกักตัว โดยตัวเลขชาวอเมริกันที่เดินทางออกนอกประเทศนั้นลดลงถึง 88% เลยทีเดียว
  • ด้านการเดินทางเพื่อธุรกิจ (Business Travel) มีอัตราการฟื้นตัวที่อยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงต่ำ เนื่องจากบริษัทเริ่มปรับตัวทำงานแบบ Remote Working มากขึ้น เป็นการทำงานผ่าน Video Conference ต่างๆ แทน
  • ในปี 2024 มีการคาดการณ์ว่าการเดินทางภายในประเทศจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19

ภาวะวิกฤตผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และส่งผลให้เกิดยุคแห่งผู้ประกอบการ

  • ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 จากการเก็บข้อมูลของ US Census Bureau พบว่า ตั้งแต่ปี 2005 ไม่เคยมีเดือนไหนเลยที่มีการจดทะเบียนบริษัทเกินกว่า 340,000 บริษัท แต่ทว่า ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2020 พบว่า มีการจดทะเบียนบริษัทมากกว่า 340,000 มาโดยตลอดในทุกเดือน
  • Labour Force Productivity ซึ่งเป็น Indicator ที่ดีของการวัดนวัตกรรม พบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 5.4% ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2021 และตั้งแต่ปี 2020 Labour Force Productivity เพิ่มขึ้นมากถึง 4.1% ถือเป็นการชี้วัดที่สำคัญ เนื่องจากนวัตกรรมต่างๆ จะส่งผลให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย
  • ขณะที่การลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นถึง 11.7% ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2021 ซึ่งมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เสียอีก
  • อย่างไรก็ตาม มีข้อกังวลว่านวัตกรรมต่างๆ จะกระจุกตัวอยู่ในบริษัทใหญ่ๆ ที่มีขีดความสามารถมากพอ อีกทั้ง นวัตกรรมต่างๆ อาจถูกคิดค้นมาเพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเลิกจ้างงานในที่สุด

โลกดิจิทัลจะเสริมสร้างขีดความสามารถในการทำงาน จนอาจนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หมายถึงการนำเทคโนโลยี AI, Analytics, Digitization และอื่นๆ มาใช้ในทุกๆ ขั้นตอนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  • Digitalization จะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก สำหรับความสำเร็จระดับประเทศ และระดับบุคคล โดยโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ Digitalization เร็วขึ้นกว่า 3-7 ปีเป็นอย่างน้อย
  • ผู้เชี่ยวชาญมองว่าตอนนี้ยังอยู่แค่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น โดยจากผลสำรวจในปี 2021 พบว่าธุรกิจกว่า 2 ใน 3 ต้องลงทุนในการดิจิทัลมากขึ้นเพื่อปรับตัว
  • ในขณะนี้การระดมทุนเพื่อการทำ Digitalization เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วงของโรคระบาด ทำให้เป็นข้อสรุปได้ว่าเรากำลังอยู่ในขั้นตอนของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

โรคระบาดจะส่งผลให้ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยไปตลอดกาล

  • การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากโรคระบาดคือการที่ผู้คนหันมาช็อปออนไลน์มากขึ้น
  • ในสหรัฐฯ ภาคธุรกิจ E-Commerce เติบโตเร็วขึ้น 3 เท่า จากช่วงปี 2019-2020 ขณะที่ยอดขายสินค้าออนไลน์ของเหล่าบริษัท E-Commerce เติบโตกว่า 93% ในปี 2020 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มสินค้า แฟชั่น หรือสินค้าฟุ่มเฟือย แม้สถานการณ์ดีขึ้นแล้วผู้คนก็ยังคงช็อปออนไลน์อยู่
  • ส่วนในมุมของบริษัทเอกชน การขายแบบ E-Commerce โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะได้กำไรน้อยกว่าการขายแบบหน้าร้าน แม้จะสามารถลดต้นทุนได้ แต่บริษัทก็ยังต้องปรับตัวในการทำ Data-Driven Marketing และระบบการกระจายสินค้าแบบใหม่ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสามารถสร้างคุณค่าในระยะยาวได้
  • ตัวอย่างที่ดีที่สุดของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปคือ Telemedicine ที่ก่อนหน้าการแพร่ระบาดในปี 2019 มีผู้ใช้งานอยู่เพียง 11% ใน สหรัฐฯ แต่ในปี 2021 กลับมีผู้ใช้งานมากถึง 46% ในสหรัฐฯ ซึ่งทาง McKinsey ก็ได้คาดการณ์ว่า Telehealthcare จะสามารถทำเม็ดเงินได้กว่า 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรม Telehealthcare ยังต้องการการพัฒนาอีกมาก

ห่วงโซ่อุปทานจะกลับมาสมดุล ก่อนที่จะเแปรปรวนอีกครั้ง

  • หลังจากที่เรือ Ever-Given ประสบอุบัติเหตุขวางคลอง Suez เมื่อเดือนมีนาคม 2021 ส่งผลให้ทั่วโลกได้รับรู้ถึงความเปราะบางของระบบ Supply Chain ทั่วโลก
  • ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ จัดตั้งทีมทำงานที่ศึกษาจุดอ่อนของระบบ Supply Chain และหาจุดหยืดหยุ่นในการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เกิดการดิสรัปต์ของ Suppy Chain ขึ้นอีก ซึ่งทางวุฒิสภาสหรัฐฯ ก็ได้อนุมัติงบประมาณในการตอบโต้ภาวะวิกฤตด้าน Supply Chain และงบประมาณเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต Semiconductor ภายในประเทศ
  • อย่างไรก็ตาม บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ต่างมีซัพพลายเออร์เฉลี่ย 5,000 ราย ที่มีการเชื่อมต่อและเกี่ยวข้องกันในหลายๆ ทาง ซึ่งถ้ามีเพียง 1 ราย ที่ไม่สามารถจัดส่งวัตถุดิบได้ ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายที่มหาศาลได้
  • ถึงกระนั้นความพยายามในการป้องกันการดิสรัปต์ของ Supply Chain มักจะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ ทำให้การเสาะหาซัพพลายเออร์สำรองไว้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

การเปลี่ยนแปลงของอนาคตการทำงานจะมาถึงก่อนเวลาที่ควรเป็น

  • ในเดือนมกราคม 2021 ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ทำงานจากที่บ้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ใน 1 ปีก่อนหน้านี้
  • ในยุคหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเป็น ยุคของการทำงานแบบไฮบริด โดยพนักงานจะมาทำงานที่ออฟฟิศเพียงบางวัน ใน 1 สัปดาห์ ทำให้ Work-Life Balance เปลี่ยนแปลงไปด้วย
  • ผลสำรวจของ McKinsey ในเดือนพฤษภาคมปี 2021 พบว่านายจ้างส่วนใหญ่เชื่อว่าการกลับไปทำงานที่ออฟฟิศจะเป็นรูปแบบการทำงานหลักหลังการแพร่ระบาด โดยมองว่าการทำงานจากที่บ้าน เป็นรูปแบบการทำงานในสถานการณ์ที่ไม่ปกติเท่านั้น ขณะที่ทางฝั่งของลูกจ้าง ต้องการที่จะ ทำงานจากทางไกลแบบ 100% หรือแบบไฮบริดสลับวันเข้าออฟฟิศ ทำให้บริษัทต้องคิดค้นแนวทางการทำงานในช่วงหลังการแพร่ระบาดใหม่
  • การทำงานแบบทางไกลอาจยังมีข้อเสียอยู่ โดยจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารกว่า 500 คนของ Mckinsey พบว่า ผู้บริหารกว่าครึ่งเชื่อว่า Sense of Belonging ของพนักงานจะลดลง และอาจจะยังส่งผลต่อ สุขภาวะทางจิตของพนักงานอีกด้วยหากทำงานแบบทางไกลต่อไป
  • อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดอยู่มากในการทำงานแบบทางไกล บางสายอาชีพ เช่น แคชเชียร์ เด็กเสิร์ฟ หรือคนงานก่อสร้างนั้นไม่สามารถทำงานแบบทางไกล ได้ มากไปกว่านั้นงานที่ต้องใช้ทักษะต่ำก็ยังมีความเปราะบางจากการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติต่างๆ อีกด้วย

การปฏิวัติชีวเวชภัณฑ์มาถึงแล้ว

  • การมาถึงของโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแก่วงการชีวเภสัชภัณฑ์ เนื่องจากวัคซีนเทคโนโลยี mRNA และ Viral Vector จะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าถึงการทำงานของภูมิคุ้มกันในรูปแบบใหม่ๆ ได้มากขึ้น โดยอาจจะสามารถนำมาใช้กับการรักษาโรคที่ปัจจุบันยังรักษาไม่ได้เช่น HIV วัณโรค มาลาเรีย หรือมะเร็งในอนาคต
  • อีกทั้ง โควิด-19 ได้สร้างกรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่แข็งแรง ในการพัฒนา สายการผลิตชีวเภสัชภัณฑ์ต่างๆ

แปลและเรียบเรียงจาก:
https://mck.co/3BXfD2j

#missiontothemoon 
#missiontothemoonpodcast
#worldnews

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ได้ที่ https://missiontothemoon.co/category/news/

Advertisements