‘Greenification’ เพราะรักษ์โลกของจึงแพง!? เมื่อการเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจแบบยั่งยืนกำลังซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อโลก

163
Greenification

สำนักข่าว CNN รายงานว่า ขณะที่เศรษฐกิจของโลกในยุคโควิด-19 กำลังเผชิญหน้าอยู่กับภาวะเงินเฟ้อ จากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จากผลพวงของภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain Disruption และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในหลายๆ ประเทศที่ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นคืนกลับมา อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อเลวร้ายลงกว่าเดิม คือการที่เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Greenification ที่ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ผลิตเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

Seema Shah ผู้ดำรงตำแหน่ง Chief Global Strategist จาก Principal Global Investors ซึ่งเป็นบริษัทด้านการบริหารสินทรัพย์ระบุว่า การที่บริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายหันมาลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้นได้

เธอยังระบุว่า ต้นทุนการทำธุรกิจของบริษัทเหล่านี้จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ อาทิ การซื้อคาร์บอนเครดิต หรือแม้แต่กระทั่งการเสียค่าปรับหากบริษัทไม่สามารถควบคุมระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมาย อีกทั้งการปรับเปลี่ยนโมเดลการทำธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอาจจะนำพามาซึ่งต้นทุนในด้านอื่นๆ ที่สูงขึ้นได้อีกด้วย

Advertisements

แน่นอนว่าผลกระทบที่ตามมาจากต้นทุนที่สูงขึ้น คือ เม็ดเงินที่ภาคธุรกิจและผู้บริโภคต้องจ่ายเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงผลกำไรของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่ลดลง หรือราคาสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 

อย่างไรก็ตาม Sebastien Galy นักวางกลยุทธ์อาวุโสจาก Nordea Asset Management ระบุว่า ภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะยังคงอยู่ต่อเป็นระยะเวลาอีก 10 ปี เนื่องจากยังมีปัจจัยเสริมอีกหลายปัจจัยเช่นการลดกำลังการผลิตพลังงานเชื้อเพลิง ซึ่งจะยังส่งผลให้ราคาพลังงานจะยังปรับตัวอยู่ระดับที่สูง จนกว่าโลกจะเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดอย่างสมบูรณ์

Advertisements

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะกลายเป็นความท้าทายให้แก่ธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ โดยมีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีความจำเป็นที่จะต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 3-4 ครั้ง ในช่วง 2 ปีข้างหน้า

อ้างอิง
https://cnn.it/3l2LEzc

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#worldnews

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ได้ที่ https://missiontothemoon.co/category/news/

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่