กรุงเทพจะจมน้ำ? ย้อนดูการศึกษาที่ชี้ให้เห็นความน่ากังวลของ “น้ำทะเลหนุน”

108
น้ำทะเลหนุน

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เป็นผลพวงจากภาวะน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนในการใช้ชีวิต ทั้งนี้เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลายเป็นพื้นที่เฝ้าระวังจากสถานการณ์น้ำท่วมจากพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ ที่ส่งผลให้บริเวณตอนเหนือของประเทศมีปริมาณน้ำฝนมากผิดปกติ จนกลายเป็นความเสี่ยงที่มวลน้ำปริมาณมหาศาลที่อาจเอ่อล้นลำน้ำสาขาต่างๆ และเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานครในที่สุด หากไม่สามารถระบายและควบคุมปริมาณน้ำได้อย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ กรุงเทพมหานครที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นแตกต่างออกไปจากเมื่อช่วงเดือนตุลาคม เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้เป็นผลมาจาก ภาวะน้ำทะเลหนุนสูง ที่ทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งและเข้าท่วมพื้นที่ริมฝั่ง

จากสภาวการณ์ดังกล่าวทำให้ เราจึงต้องลองมองย้อนกลับไปดูถึงผลการศึกษาวิจัย 2 ฉบับ ที่ได้เคยมีการพูดถึงและคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานครและพื้นที่รอบข้าง จากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change นั่นเอง

Advertisements

ผลการศึกษาฉบับแรกที่มีชื่อว่า “Flooded Future: Global vulnerability to sea level rise worse than previous understood” ที่จัดทำโดย Climate Central ในปี 2019 ระบุว่า ประเทศไทยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะจมอยู่ใต้น้ำกว่า 10% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเลวร้ายว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1% เพียงเท่านั้น โดยการรุกคืบของน้ำทะเลเข้ามาบนแผ่นดินจะส่งผลให่เกิดความไม่มั่นคงทางสังคมและการเมืองตามอีกด้วย

ขณะที่ผลการศึกษาฉบับต่อมาที่มีชื่อว่า “The Projected Economic Impact of Extreme Sea-Level Rise in Seven Asian Cities in 2030” ที่จัดทำขึ้นโดย Greenpeace ในช่วงเดือนมิถุยายนที่ผ่านมาระบุว่า ในช่วง 10 ปีข้างหน้า เมืองชายฝั่งในทวีปเอเชีย 7 แห่ง จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงสุดจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น โดยกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2030 พื้นที่ 96% ของกรุงเทพมหานคร จะต้องประสบกับภัยน้ำท่วม โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจะรวมไปด้วยพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นสูงและพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศ

Advertisements

ผลการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ ยืนยันถึงผลกระทบระยะยาวที่จะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เป็นผลมาจากระดับน้ำทะเลที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยผลกระทบจากการสูญเสียแผ่นดินนั้นไม่ได้เป็นเพียงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากแต่จะยังนำพามาสู่ปัญหาทางด้านมนุษยธรรม และปัญหาด้านความมั่นคงตามมา โดย Greenpeace เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังและยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ในอนาคต


อ้างอิง
https://nyti.ms/3H2ZTxm
https://bit.ly/3bUOC3U
https://bit.ly/3D3GTMQ
https://go.nature.com/3bWbKPE
https://bit.ly/3BSadVa
https://bit.ly/3klOuip

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#worldnews

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ได้ที่ https://missiontothemoon.co/category/news/

Advertisements