PSYCHOLOGYworklifeความรับผิดชอบของหัวหน้า คือการสร้าง Progress ให้กับทีม

ความรับผิดชอบของหัวหน้า คือการสร้าง Progress ให้กับทีม

ในโลกของธุรกิจที่การเปลี่ยนแปลงเร็วมากแบบทุกวันนี้ หลายครั้งคนที่มีหน้าที่ต้องบริหารทีมก็สับสนเหมือนกันนะครับว่างานในแต่ละวันแบบ day-to-day เราต้องทำให้อะไรเกิดขึ้นบ้างและหน้าที่ของหัวหน้าทีมจริงๆ คืออะไรกันแน่

ผมคิดว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญมากคือ Progress (ความคืบหน้า) ที่เกิดขึ้นในทีมครับ ไม่วันนั้นจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม เพราะเมื่อเรามี Progress แล้วทีมงานก็จะรู้สึกมีแรงสู้ งานก็เดิน แม้จะเป็น Progress เล็กๆ ก็ยังทำให้ภาพระยะยาวดีขึ้นอยู่ดี

คำถามคือเราจะสร้าง Progress ให้เกิดขึ้นทุกวันได้อย่างไร?

ในบทความชื่อ The Power of Small Wins ของ Teresa M. Amabile กับ Steven J. Kramer ได้นำเสนอเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจครับ

ในหนึ่งวันเนี่ย ปกติแล้วเราจะเจอกับของสองหมวดใหญ่ๆ นั่นก็คือ Progress หรือความก้าวหน้าของงาน กับ Setbacks ซึ่งก็คืออะไรก็ตามที่ทำให้งานของเราสะดุดหรือถอยหลัง

วันไหนที่มี Progress เยอะเราจะเรียกมันว่าวันที่ดี (Good day)

วันไหนที่ Setbacks เยอะ เราจะเรียกมันว่าวันแย่ๆ (Bad day)

แล้วอะไรบ้างที่ทำให้เกิด Progress? อ้างอิงจากการสำรวจของผู้เขียนซึ่งทำการเก็บข้อมูลในเจ็ดบริษัท โดยให้คนในทีมนั้นจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันอย่างละเอียด พบสิ่งที่น่าสนใจมากนั่นก็คือ ในวันที่คนทำงานบอกว่าพวกเขามี Progress ในการทำงานนั้น จะมีสองสิ่งที่เกิดขึ้นเยอะและสองสิ่งที่เกิดขึ้นน้อย

สองสิ่งแรกที่เกิดขึ้นเยอะนั้นก็คือ Catalysts และ Nourishers

Catalysts คือสิ่งใดก็ตามที่คอยสนับสนุนการทำงานโดยตรงไม่ว่าจะกับคนทั้งทีมหรือเป็นรายบุคคลก็ตาม

ตัวอย่างของ Catalysts ก็เช่น

[ ] ทีมทุกคนทราบถึงเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้น ทำไปทำไม
[ ] ทีมมีเวลาเพียงพอที่จะโฟกัสกับการทำงานโดยเฉพาะงานที่มีความหมาย และงานที่มีคุณค่าสูงๆ (Meaningful and high value job)
[ ] ทีมแต่ละคนมีอำนาจและอิสระเพียงพอในการคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
[ ] ทีมมีทรัพยากรที่จำเป็นต่อการทำงานเพียงพอ
[ ] ในทีมด้วยกันเองมีการช่วยเหลือกันอย่างจริงใจเพื่อทำให้งานสำเร็จเร็วขึ้น
[ ] ทีมมีเวลาในการตกผลึกและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
[ ] ทีมทุกคนสามารถเสนอไอเดียได้อย่างอิสระ

Advertisements

Nourishers เป็นสิ่งที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นตรงๆ กับงานแต่เป็นสิ่งที่ “ชุบชูใจ” คนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคำชมหรือกำลังใจก็ตาม

ตัวอย่างของ Nourishers ก็เช่น

Advertisements
[ ] ทีมงานได้รับคำชมเชยหรือความเคารพ จากคุณภาพงานที่ดี
[ ] หัวหน้าทีมส่งเสริมและผลักดันให้ทีมงานทำงานที่ท้าทายขึ้น และพร้อมจะสนับสนุนเมื่อเกิดอุปสรรค
[ ] ทีมมีความรู้สึกอยากต่อสู้กับอุปสรรคร่วมกัน

ส่วนสองสิ่งที่จะเกิดขึ้นน้อยในวันที่ดีคือ Inhibitors และ Toxins

Inhibitors คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมีส่วนเกี่ยวข้องในการขัดขวางการทำงานโดยตรง

ตัวอย่างของ Inhibitors ก็เช่น

[ ] ความสับสนในเป้าหมายของการทำงาน เวลาเปลี่ยนเป้าหมายก็ไม่มีการชี้แจงว่าเปลี่ยนเพราะอะไร เป็นเหมือนการสั่งแบบ Top down ตลอด
[ ] ทรัพยากรไม่เพียงพอในการทำงาน แต่ยังถูกบังคับให้ทำให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คน เวลา หรืองบประมาณ​
[ ] เมื่อเกิดปัญหาหัวหน้าทีมไม่ช่วยกันแก้ปัญหาแต่ปล่อยให้ทีมจัดการกันเอง
[ ] หัวหน้าเลือกใช้วิธีการบริหารแบบแบ่งแยกและปกครอง
[ ] ทีมไม่มีเวลาที่จะทำงานที่มีความหมายและงานที่มีคุณค่าสูง (Meaningful and high value job)
[ ] เมื่อมีความผิดพลาด แทนที่จะเรียนรู้ร่วมกัน กลับกลายเป็นชี้นิ้วใส่กัน และจบลงด้วยการลงโทษ​
[ ] ไอเดียของแต่ละคนไม่ได้รับการรับฟัง มีแต่ไอเดียของหัวหน้าเท่านั้นที่ได้รับการรับฟัง

Toxins คือสิ่งที่อาจจะไม่ได้ขัดขวางงานโดยตรงแต่เป็นเหมือนสารพิษที่บั่นทอนกำลังใจของคนทำงาน

[ ] คนทำงานดีไม่ได้รับคำชม แต่คนที่เลียแข้งเลียขาเจ้านายกลับได้รับคำชมแทน
[ ] หัวหน้าทีมไม่ใส่ใจและไม่รับปัญหาของลูกน้อง
[ ] มีการจ้องจับผิดกันตลอดเวลา
[ ] ใครทำผิดนอกจากจะโดนลงโทษแล้ว ยังโดนกระทืบซ้ำอีกด้วย

จากผลการสำรวจพบว่า วันที่คนทำงานบอกว่าเป็น Good day จะประกอบไปด้วย Progress 76%, Setback 13%, Catalyst 43%, Inhibitor 6%, Nourishers 25% และไม่มี Toxins เลย

ส่วนวันที่เป็น Bad day นั้นจะประกอบไปด้วย Progress 25%, Setback 67%, Catalysts 12%, Inhibitors 42%, Nourishers 4% และ Toxins 18%

ในฐานะหัวหน้าทีม เมื่อเห็นแบ่งโครงสร้างของวันแต่ละวันแบบนี้แล้ว งานที่สำคัญมากที่เราต้องทำทุกวันก็คือ ทำยังไงก็ได้ให้มี Catalysts และ Nourishers เยอะๆ ส่วน Inhibitors กับ Toxins ก็ต้องระวังให้ดี ต้องมีให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะ Toxins เพราะถ้าหากมีแค่นิดเดียวก็อาจทำให้วันทั้งวันนั้นของทีมกลายเป็น Bad day ไปเลยก็ได้

เพราะท้ายที่สุดแล้วจำนวน Good days ที่เยอะเท่าไร ยิ่งหมายถึงทีมที่สำเร็จมากเท่านั้นนั่นเองครับ

#worklife
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า