PSYCHOLOGYworklifeอยากลาออกแต่ใจไม่กล้า กลัวโดนมองเป็น Job-Hopper

อยากลาออกแต่ใจไม่กล้า กลัวโดนมองเป็น Job-Hopper

เหตุผลในการลาออกจากงานจะเป็นเพราะอะไรได้บ้าง?

ในเนื้อร้องของเพลง ลาออก ของบิลลี่ โอแกนที่ถูกปล่อยออกมาตั้งแต่ปี 1990 อาจจะยังคงแทนสถานการณ์ และแทนใจของคนทำงานในยุคนี้ได้ เช่น งานที่ทำอยู่ไม่มีความก้าวหน้า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้านาย หรือได้เงินเดือนสวนทางกับภาระงาน โดยเฉพาะเทรนด์การทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความสุขของตัวเองมากขึ้น จนต้องเปลี่ยนงานบ่อยๆ เมื่อเจอกับงานที่ไม่ถูกใจ

กลายเป็นที่มาของเทรนด์ Job-Hopping หรือการเปลี่ยนงานบ่อยๆ ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน ซึ่งแม้ว่าเทรนด์นี้จะตอบโจทย์คนที่กำลังค้นหาตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันผลสำรวจปี 2022 จากที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล Robert Half ระบุว่า 77% ของผู้จัดการลังเลที่จะรับผู้สมัครที่เปลี่ยนงานบ่อย ในระยะเวลาไม่ถึงปี ทำให้คนบางส่วนเลือกทนทำงานให้ครบปี แม้ว่าจะต้องเจอกับความเป็นพิษในที่ทำงานก็ตาม

แต่การอยู่ท่ามกลางหัวหน้างานที่ Toxic หรือทำงานทีก็เหมือนต้องต่อสู้กับเพื่อนร่วมงานอยู่ตลอด แถมยังไม่มีความสุขเพราะงานหนัก และได้เงินเดือนน้อยนานนับปี การอดทนเพื่อไม่ให้ตัวเองกลายเป็น Job-Hopper ในตลาดแรงงานถือเป็นคำตอบที่ใช่แน่หรือ?

ลองมาฟังคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและโค้ชด้านอาชีพที่ให้คำปรึกษากับพนักงานเงินเดือนมากกว่า 700 คนจากกลุ่มอายุ ตำแหน่งงานและอาชีพที่หลากหลายกันว่า เราควรทนต่อไป หรือจะยอมเป็น Job-Hopper ดี?

อย่า ‘ทนไปก่อน’ ให้เสียเวลา อย่างนี้ต้องลาออก!

ฟีบี้ เกวิน (Phoebe Gavin) โค้ชด้านอาชีพผู้ให้คำปรึกษากับพนักงานมาแล้วกว่า 700 คนมองว่าเทรนด์การทำงานแบบทนๆ ทำให้เกิน 1 ปีนั้นเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย เพราะหลายคนกลัวว่า Resume ของตัวเองจะไม่เข้าตาผู้จัดการฝ่ายจ้างงาน จึงเลือกที่จะอดทนกับความท็อกซิกในที่ทำงานนานเป็นปีๆ ก่อนที่จะวางแผนหางานใหม่ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มคนทำงานเจน Y และเจน Z

จากสถิติในปี 2022 ของสำนักงานแรงงานสหรัฐฯ พบว่าคนทำงานอายุตั้งแต่ 25-34 ปีมีอายุการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 2.8 ปีต่อบริษัท ซึ่งน้อยกว่าคนทำงานอายุ 55-64 ปีที่มีอายุการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 9.8 ปี

นอกจากนี้การสำรวจยังบอกอีกด้วยว่า 35% ของผู้ตอบแบบสอบถามลาออกภายในปีแรกของการจ้างงาน และมีผู้ตอบแบบสอบถามที่พร้อมลาออกจากงานภายใน 6 เดือน หากชีวิตการทำงานไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวังสูงถึง 80%

เกวินกล่าวว่าคำแนะนำของโค้ชอาชีพที่ให้พนักงานหลีกเลี่ยงการเป็น Job-Hopper โดยทนทำงานไปก่อน นั้นล้าสมัยเกินไปแล้ว เมื่อพิจารณาจากอัตราส่วนของคนที่พร้อมลาออกสูงถึง 80% และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกมากมายที่คนทำงานต้องเผชิญ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน โรคระบาด รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ดังนั้นหากพนักงานพิจารณาแล้วว่าองค์กรไม่สามารถมอบคุณค่าที่พวกเขามองหาอยู่ได้ การลาออกและหางานใหม่อาจจะตอบโจทย์ชีวิตมากกว่า

‘เอาชนะความกลัวให้ได้!’ และหาทางออกใหม่ให้ชีวิต

ในฐานะโค้ชอาชีพที่มีประสบการณ์ เกวินเชื่อว่าเป้าหมายของชีวิตและเส้นทางการเติบโตทางอาชีพของคนวัยทำงานเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อเราเริ่มรู้สึกว่า ‘ไม่มีความสุข’ ในที่ทำงาน รู้สึกถูกคุกคามความมั่นคง หรือแม้กระทั่งเริ่มเบื่อหน่ายกับงานที่ทำ นั่นถือเป็นสัญญาณสำคัญที่บอกเราว่าอาจถึงเวลาแล้วที่เราต้องเลือก

ใครที่กำลังกังวลว่าการลาออกเมื่อมีอายุงานยังไม่ครบปีจะทำให้ Resume ของตัวเองถูกปฏิเสธ เกวินแนะนำว่าตราบใดที่เรามีทักษะอาชีพ และประสบการณ์การทำงานน่าสนใจดีอยู่แล้ว ไม่แน่ว่าการลาออกจากที่ทำงานเดิมจะทำให้เราได้เจอกับทางออกที่ใช่สำหรับชีวิตก็ได้

แต่ก่อนที่จะยื่นซองขาวแบบปุบปับ เราลองมาสำรวจตัวเองอย่างละเอียดกันสักหน่อยดีกว่าว่าเราควรจะลาออกเลยดีไหม?

Advertisements

[ ] ลองคุยกับคนใกล้ตัว หรือผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาด้านอาชีพ

เมื่อรู้สึกว่าเริ่มไม่อยากไปต่อกับงานเดิมแล้ว เราอาจจะยืนยันความแน่นอนในอนาคตของเราด้วยการปรึกษากับคนใกล้ชิด หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้มุมมองที่หลากหลายมากขึ้น เช่น สถานการณ์ที่เราเจออยู่นี้ปกติไหม? ต้องรับมืออย่างไร? หรือถ้าลาออกแล้วจะวางแผนชีวิตอย่างไรต่อดี?

Advertisements

[ ] ลองแก้ปัญหาอย่างตรงจุดด้วยความเป็นกลาง

บางทีสาเหตุที่ทำให้เราอยากลาออกอาจเกิดขึ้นจากปัญหาในที่ทำงานยังไม่ได้รับการแก้ไขสักที ดังนั้นถ้าเราลองมองหาตัวต้นเหตุของปัญหาอย่างเป็นกลาง ไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัวในการตัดสิน แล้วลองแก้ปัญหาดูเมื่อปัญหานั้นคลี่คลายลง ก็อาจจะทำให้เรารู้สึกดีกับองค์กรหรือเพื่อนร่วมงานขึ้นได้

[ ] ตรวจสอบประวัติการทำงานของเราให้ดี

เพราะการลาออกภายในระยะเวลาสั้นๆ เพียงครั้งเดียวจะไม่เป็นปัญหากับ Resume ของเรา และไม่ทำให้เราดูเป็น Job-Hopper ด้วย ในขณะที่การเปลี่ยนงานบ่อยครั้งภายในระยะเวลาไม่ถึงปีอาจจะส่งผลต่อการพิจารณา Resume ของเราได้ ดังนั้นก่อนที่จะลาออกก็อย่าลืมพิจารณาประวัติการทำงานของเราด้วย

แน่นอนว่าการสำรวจตัวเองเพื่อลดความกลัวที่จะลาออกนี้ต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่เราอาจจะค้นพบทางออกที่ดีกว่าเดิมได้ โดยนั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องอดทน ยืนหยัด และแก้ไขทุกเรื่องวุ่นวายภายในองค์กรให้ดีขึ้น เพราะจริงๆ แล้วการเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือโครงสร้างบางอย่างในองค์กรไม่ใช่หน้าที่ของพนักงานเพียงคนเดียว

อีกข้อแนะนำสำหรับคนที่กำลังเจอกับความกดดันในที่ทำงาน จนอยากลาออกแต่ใจไม่กล้าพอก็คือ ‘อย่าหางานใหม่ด้วยความสิ้นหวัง’ และอย่าปล่อยให้ความรู้สึกลบๆ จากที่ทำงานเก่ามาทำลายโอกาสใหม่ในชีวิตของคุณ

อ้างอิง
– Career coach who’s helped 700+ clients: Don’t be afraid to leave a bad job—‘stay a full year’ is ‘outdated, oversimplified’ advice : Phoebe Gavin, CNBC – https://cnb.cx/3VFKoVt

#jobhopping
#worklife
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า