Mission to the Moon EP.11: ไอเดียมาจากไหน

2316
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com
มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ
  • เราต้องเข้าใจก่อนว่าไอเดียมันไม่ได้เกิดขึ้นมาเฉยๆ (แบบหัวโล่งๆ) แต่มันเป็นการทำงานหนัก เพื่อสั่งสมความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่หลากหลาย จนสามารถตกผลึกความคิด และเกิดเป็นไอเดียใหม่ ๆ ได้ สิ่งสำคัญคือ “ปริมาณสำคัญไม่แพ้กันกับคุณภาพ”

ไอเดียเจ๋ง ๆ บนโลกใบนี้เกิดมันขึ้นมาได้อย่างไร?

จากที่ได้ศึกษาเรื่องราวของ นักคิด นักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ หลายท่าน แทบไม่มีใครเลยที่อยู่ ๆ ผุดไอเดียคิดอะไรขึ้นมาได้จากความว่างเปล่า แทบทุกคนจะมีการสั่งสมกระบวนท่ามากันเยอะมาก ทดสอบทดลองเยอะจนตกผนึก ไม่ว่าจะ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เซอร์ไอแซก นิวตัน หรือ ชาลส์ ดาร์วิน

จริง ๆ แล้วเราเข้าใจถึงกระบวนการในการสร้างสรรค์ไอเดียขนาดไหน และทำอย่างไรให้เราสร้างสรรค์ไอเดียออกมาได้มากที่สุด ในกรณีนี้ปริมาณมีความสำคัญไม่แพ้กับคุณภาพ

อเล็กซานเดอร์ แกรห์ม เบลล์ (Alexander Graham Bell)

อเล็กซานเดอร์ แกรห์ม เบลล์ ผู้คิดค้นโทรศัพท์ขึ้นมาเป็นคนแรก ตั้งแต่ปี 1876 บริษัท เบลล์ เทเลโฟน (Bell Telephone company) ซึ่งตอนหลังก็เปลี่ยนเป็น อเมริกัน เทเลโฟน แอนด์ เทเลกราฟ คอมปานี (American Telephone and Telegraph Company) หรือ เอทีแอนด์ที (AT&T) ตอนปี 1980 โทรศัพท์เริ่มเริ่มเสื่อมความนิยมและถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ การที่ เอทีแอนด์ที ยังคงความสามารถในการแข่งขัน ต้องใช้พลังของวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย จึงมีการก่อตั้ง เบลล์ เทเลโฟน ลาบาทอรี่ (Bell Telephone Laboratories) ขึ้นมา ในปี 1925 ซึ่งเป็นที่ ที่สร้างนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกมากมาย

Bells first telephone
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com

ย้อนกลับไปในปี 1925 โทรศัพท์ไม่ได้เป็นโทรศัพท์เหมือนในทุกวันนี้ มันโบราณมาก แต่ก็มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนถึงจุดพลิกผันที่ใหญ่มาก ๆ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากนั้นอีกหลายสิบปี ในช่วงประมาณ 1940 ช่วงรอยต่อของสงคราม มีนักฟิสิกส์สองคนชื่อ วอล์เตอร์ เบร็ตเทน (Walter Brattain) กับ จอห์น บาร์ดีน (John Bardeen)

พวกเขาคิดวิธีการขยายสัญญาณไฟฟ้า โดยส่งผ่านซิลิโคนแผ่นบาง ๆ มันคือทรานซิสเตอร์ (transistor) นั้นแหละครับ ในตอนแรกมันมีปัญหาเรื่องความไม่เสถียร คือเขย่านิดหน่อยก็อาจจะใช้งานไม่ได้ จนกระทั่งมีนักวิทยาศาสตร์อีกคนชื่อ วิลเลียม ชอกลีย์ (William Shockley) คนนี้เป็นคนที่แก้ปัญหาเรื่องความเสถียรของเจ้าทรานซิสเตอร์ได้ ถึงปัญหาจะได้รับการแก้ไข ทรานซิสเตอร์ก็ยังไม่ได้รับการความสนใจในโลกของวิทยาศาสตร์ในตอนนั้นสักเท่าไหร่นะครับ

อย่างในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ พูดถึงนวัตกรรมของทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นเรืองที่ใหญ่มาก แต่กลับมีแค่ 4 ย่อหน้าเท่านั้นเอง แล้วยังอยู่ในหน้าท้าย ๆ อีกด้วย ทั้งที่จริง ๆ แล้วทรานซิสเตอร์นี่ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องมือต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้เลยก็ว่าได้ เพราะว่ามันสามารถเปิดและปิด โดยใช้สัญญาณไฟฟ้าเล็ก ๆ ได้ และนี่หละคือจุดเริ่มต้นของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดในยุคนี้ที่เราเห็น

ทรานซิสเตอร์เริ่มถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการในปี 1948 แต่ก็ยังไม่ค่อยมีใครเข้าใจเหมือนกันว่ามันจะเอาไปใช้ทำอะไรได้ในตอนนั้น จนกระทั่งมีนักวิทยาศาสตร์ คนหนึ่งของ เบลล์แลป (Bell Labs) ที่เอาทรานซิสเตอร์มาพัฒนา ระบบโทรศัพท์ ซึ่งเขาเรียกระบบนี้ว่า PCM (Pulse code modulation) เขาเป็นคนแรกที่บอกว่าจริง ๆ แล้วเราสามารถที่จะสื่อสาร โดยการเข้ารหัสไบนารี (binary encoding) ผ่าน กระบวนการนี้ได้ เราเรียกว่า บิต (bit) ซึ่งเราคงเคยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี

หลังจากนั้น โทรศัพท์ก็เริ่มปฏิวัติขึ้นมาเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก ประเด็นที่จะบอก คือ ไอเดียทั้งหมดที่เกิดขึ้นหลายครั้งไม่ได้เกิดขึ้นจากคนคนเดียว และไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ นะครับ อเล็กซานเดอร์ แกรห์ม เบลล์ คิดค้นโทรศัพท์ตั้งแต่ปี 1876 แต่กว่าเราจะมีโทรศัพท์ดี ๆ ใช้ก็ปาเข้าปี 1950


ถ้าเรามาย้อนดูกันจริง ๆ เหล่า นักคิด นักจิตรกร นักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เนี่ย กว่าเขาจะได้ผลงานชิ้นเอก พวกเขาเหล่านั้นต้องทำอะไรบ้าง

ยกตัวอย่าง ปิกัสโซ (Picasso) มีผลงานภาพวาดระบายสี ทั้งหมด 1,800 ชิ้น มีรูปปั้น 1,200 ชิ้น มีงานด้านเซรามิก 2,800 ชิ้น และมีภาพวาดธรรมดาอีก 12,000 ชิ้น แต่ไอ้ที่เรารู้จักกันเนี่ยมีเพียงหลักสิบ แต่เพียงแค่นั้นก็ทำให้ปิกัสโซโด่งดังจนเป็นจิตรกรเอกของโลกได้

อัตราความโด่งดังของภาพปิกัสโซ เทียบกับปริมาณงานที่เขาทำในชีวิต ต้องบอกว่ามันต่ำมาก เช่น เดียวกันกับ โมซาร์ด (Mozart) และ บีโธเฟน (Beethoven) ทั้งคู่ประพันธ์เพลงไว้เยอะมากหลัก 1,000 เพลง แต่ที่มันดังมีไม่กี่เพลง หรือ เลโอนาร์โด ดาวินชี ก็เป็นคนที่มีผลงานเยอะมากเป็นหลักหมื่นชิ้น แต่ที่เรารู้จักกันมีเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้นเอง

ดังนั้น ถ้าเกิดว่าเราต้องการหาไอเดียเจ๋ง ๆ อย่ามัวแต่คิดต้องลงมือทำด้วย (ทำเยอะ ๆ ) ในที่สุดมันจะถูกกระบวนการของเทคโนโลยี, วิวัฒนาการ, สังคม เลือกเองว่าอะไรที่มันจะออกมาโด่งดัง

เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci)

เลโอนาร์โด ดาวินชี เริ่มต้นชีวิตการทำงานตั้งแต่อายุ 14 โดยเขาไปอยู่กับอาจารย์คนหนึ่ง ซึ่งอาจารย์คนนี้สอนดาวินชีหลายเรื่อง ทั้งเรื่อง เรขาคณิต, ทัศนมิติ, การแรเงา คณิตศาสตร์ต่าง ๆ เพียงอายุแค่ 20 เลโอนาร์โด ดาวินชี ก็ได้เป็นมาสเตอร์เพ้นท์เตอร์ (คนที่สามารถวาดภาพเพื่อขายได้) ที่นี้มันมีความเจ๋งอยู่อย่างหนึ่ง คือ ตอนอายุ 20 ดาวินซี ก็ได้วาดภาพหนึ่งร่วมกับอาจารย์ของ ซึ่งชื่อภาพว่า พระเยซูรับศีลจุ่ม (the baptism of christ) ซึ่งเป็นรูปพระเยซู และมีเทวดาสององค์ เทวดาที่วาดโดยอาจารย์ดูแข็งทื่อและไม่มีชีวิตชีวา และเส้นผมก็ดูตรงๆ แต่เทวดาที่ดาวินชี วาดดูมีชีวิต ชีวิตวา เส้นผมก็ดูเป็นธรรมชาติ ดวงตาก็ดูมีชีวิต

The Baptism of Christ
ภาพ พระเยซูรับศีลจุ่ม (the baptism of christ) | รูปภาพจาก wikipedia

ซึ่งเขาก็มีเทคนิคในการวาดนะ ชื่อว่า สฟุมาโต้ (Sfumato) ซึ่งโดยหลังจากนั้น เขาก็ใช้เทคนิคนี้ในการวาดภาพแล้วก็โด่งดังมาก

แม้ว่าจะดาวินชีจะเป็นคนที่มีความสามารถมาก แต่เขาก็เป็นคนที่หาไอเดียใหม่ ๆ อยู่เสมอ อันนี้เป็นอีกอันที่สำคัญ ถ้าเกิดคุณรู้สึกว่าคุณเก่งแล้วเนี่ย มันจะยากมากเลยที่คุณจะได้ไอเดียเจ๋ง ๆ อีกในอนาคต

Advertisements

ตัวดาวินชีเองชอบคุยกับคนนู้นคนนี้เยอะมาก และยังใช้เวลากับ สถาปนิก ที่โด่งดังหลายคน

กระทั่งมีอยู่ครั้งหนึ่งเขาได้ยินชื่อสถาปนิก ชาวโรมันชื่อ วิตรูวิอุส (Vitrvvivs) อันนี้คือแบบโบราณมากประมาณ 1 ศตวรรษ ก่อนคริสตกาล คนนี้เป็นคนที่เขียนตำราทางสถาปนิก ชื่อดัง ชื่อ De architectura ซึ่งเป็นตำราทางสถาปนิกที่โด่งดัง วิตรูวิอุส มีความเชื่อว่า อาคารนั้น ควรจะออกแบบตามหลักสรีรวิทยาของมนุษย์ ไอเดียนี้โดนใจดาวินชีมาก จึงเป็นแรงผลักดันให้เขาศึกษาเรื่องของ กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ และเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเขียนภาพที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งนั่นคือ “วิทรูเวียนแมน” (Vitruvian Man)

Vitruvian Man
ภาพ วิทรูเวียนแมน (Vitruvian Man) | รูปภาพจาก wikipedia

หลายคนเข้าใจว่าดาวินชีเป็นจิตรกร แต่จริงๆแล้วเขาเป็นนักวิทยาศาตร์มากพอ ๆ กับการเป็นจิตรกร ตัวอย่างหนึ่งที่น่าทึ่งมาก คือ เขาไปศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ จากศพของมนุษย์ ดาวินชีเข้าไปขอผู้บริหารโรงพยาบาลในยุคนั้นให้เอาศพมา แล้วเขาก็วาดภาพกระดูกทุกชิ้น กล้ามเนื้อทุกส่วนของมนุษย์ ออกมาได้อย่างสวยงาม เขามีภาพวาดเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ 240 กว่าภาพ ตั้งแต่หัวใจ, สมอง, ตับ ไปจนถึงกระทั่งตัวอ่อนของมนุษย์

แต่สิ่งที่น่าทึ่งที่สุดของการศึกษาของ ดาวินชี คงหนีไม่พ้นเรื่องหัวใจ คือในยุคนั้นแพทย์มีความเชื่อว่าตับ ทำหน้าที่ส่งเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่ดาวินชีศึกษาจนเข้าใจว่า หัวใจต่างหากที่เป็นอวัยวะที่ใช้ในการส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ สมมติฐานของดาวินชี ได้รับการพิสูจน์ใน 450 ปี หลังจากนั้น

พูดถึง เลโอนาร์โด ดาวินชี เราก็ต้องพูดถึง โมนาลิซ่า (Mona Lisa) เป็นภาพวาดชิ้นเอกของ ดาวินชี เป็นภาพวาดที่มีคนเข้าชมมากที่สุดในโลกนี้ ทุกปีก็จะมีคนเข้าชมเฉพาะภาพโมนาลิซ่า ไม่ต่ำกว่า 8 ล้านคนต่อปี ตอนนี้โมนาลิซ่า จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ในกรุงปารีส

Mona Lisa
ภาพ โมนาลิซ่า (Mona Lisa) | รูปภาพจาก wikipedia

ภาพ โมนาลิซ่า อยู่กับ ดาวินชี ไปจนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ ชีวิต 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519 ในวัย 67 ปี


โรเบิร์ต แลง (Robert Lang)

โรเบิร์ต แลง เป็นนักฟิสิกซ์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก แต่เขาไม่ได้โด่งดังจาก ฟิสิกส์ อย่างเดียว สิ่งที่โรเบิร์ต แลง ชอบทำอีกอย่างคือ การพับกระดาษโอริกามิของญี่ปุ่น เขาพับกระดาษควบคู่กับทำงานฟิสิกส์ มาจนกระทั่งอายุ 40 กว่า ก่อนที่เขาจะหยุดทำงานด้านฟิสิกส์มาศึกษาด้านโอริกามิอย่างจริงจัง

yellow jacket
ผลงานของ โรเบิร์ต แลง | รูปภาพจาก langorigami.com

เขาใช้ศาสตร์ของโอริกามิมาพับของยาก ๆ เช่น นาซ่าจะส่งแผงรับสัญญาณออกไปนอกโลก คือมันใหญ่มาก จะเอามันส่งไปทื่อ ๆ แบบนั้นเลยก็ไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีพับมันเข้าไป นาซ่าก็เลยเชิญ โรเบิร์ต แลง เนี่ยมาพับเข้าไปในจรวด

หรือบริษัทรถยนต์ของเยอรมันต้องการจะเอาถุงลมนิรภัยไปใส่ไว้ในที่แปลก ๆ เช่น เสา, เบาะ, แผงประตู, โรเบิร์ต แลง ก็เป็นคนพับให้โดยใช้ศาสตร์ของโอริกามิ

แม้แต่นักวิจัยที่ศูนย์วิจัยชื่อดัง อย่าง จอห์น ฮอปกินส์ (Johns Hopkins) ต้องการที่จะเอา ของเล็ก ๆ คล้าย ๆ นาโนโรบอต เข้าไปในคน ซึ่งมันเข้าไปตรง ๆ ก็ไม่ได้ มันก็ต้องถูกพับก่อน โรเบิร์ต แลง ก็คิดให้ว่ามันจะพับได้ยังไง

เขาเชื่อมศาตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์มาก ๆ กับงานที่เป็นศิลปะของการพับกระดาษ ซึ่งเหมือนกับที่ดาวินชีใช้ฝีมือในการวาดภาพวาดภาพกระดูก และอวัยวะของมนุษย์ เพื่อเริ่มต้นศึกษา กายวิภาคศาสตร์

เพราะฉะนั้นเราจึงเข้าใจได้ว่าไอเดียเนี่ย มันไม่ได้ตกมาจากต้นไม้เหมือนลูกแอปเปิ้ล แบบนั้นนะ จริง ๆ มันต้องผ่านกระบวนการในการตกผลึก และการทำงานอย่างหนักมาก


เรื่องราวทั้ง 3 นี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่ากระบวนการในการสร้างสรรค์ไอเดีย มันต้องใช้เวลา และใช้การลองผิดลองถูกเยอะมาก

สรุปวิธี 2 ข้อในการหาไอเดียคือ

  1. ปริมาณสำคัญไม่แพ้คุณภาพ พูดง่ายๆคือทำให้เยอะ ๆ
  2. ต้องคิดว่าตัวเองไม่รู้ แล้วก็หาความรู้ใหม่ ๆ เสมอ จะทำให้เราได้ไอเดีย ขึ้นมาประกอบกัน เราจะสังเกตได้ว่าไอเดียพวกนี้มันเป็นการประกอบจากเรื่องที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน แล้วจึงเกิดเป็นไอเดียใหม่ ๆ
Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่