คุยเรื่อง Well-being กับ คุณมด-ดุษฎี ตันเจริญ

26574

วันนี้ผมอยากมาชวนคุยกันในหัวข้อ Well-being ซึ่งผมได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญสุดพิเศษ คุณมด-ดุษฎี ตันเจริญ กรรมการผู้จัดการบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด มหาชน ได้มาพูดคุยกันใน Mission to the Moon EP. 587 เกี่ยวกับเรื่อง “Well-being” (การมีคุณภาพชีวิตที่ดี) อันเป็นสิ่งที่เราแสวงหากัน โดยผมขอสรุปมาเป็นบทความให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ

Well-being คืออะไร?

จริงๆ แล้วเรื่องของการมีชีวิตที่ดีหรือ “Well-being” นั้นเป็นเรื่องที่มีมายาวนาน เพียงแต่ว่าในช่วงหลังมานี้คนเริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น อาจจะเพราะเราเริ่มเห็นคนใกล้ตัวเป็นโรคที่เกี่ยวกับ NCDs (NCDs กลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรม) มากขึ้น 

ซึ่งส่วนใหญ่โรคเหล่านี้ก็เกิดจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของเราเนี่ยล่ะ และคนก็เริ่มเป็นกันเยอะ ทำให้คนส่วนใหญ่ที่เริ่มมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยเล็กๆ น้อยๆ เริ่มหันกลับมาคิด มามองตัวเองว่าจะทำอย่างไรดีให้ตัวเองพ้นหาย หรือหลุดพ้นจากการเป็นโรคเหล่านี้ได้

แต่ความหมายโดยรวมของคำว่า Well-being นั้นเป็นเรื่องของการมีสุขภาวะที่ดี จะแตกต่างจากคำว่า Wellness ที่หมายถึงเรื่องของสุขภาพดีทางร่างกาย แต่ Well-being นั้นมีความหมายที่ครอบคลุมมากกว่า เพราะนับรวมตั้งแต่การมีสุขภาพกาย สุขภาพใจ รวมไปถึงสุขภาวะทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย

การมีคุณภาพความเป็นอยู่ของชีวิตที่ดี ยังส่งผลต่อ Productivity กับเราโดยตรง (อย่างมาก) เพราะเมื่อไรที่เราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ดีไม่ว่าจะ ทางกาย ทางใจ หรือ ทางสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเราต่ำลง

ดังนั้นการหันกลับมาดูแลร่างกายให้อยู่ในจุดที่เรียกว่า Optimum Health (สุขภาพที่สมบูรณ์สูงสุด) ก็จะทำประสิทธิภาพการทำงานของเราก็จะดีขึ้น คิดงานได้เร็ว ทำงานได้มาก และไม่มีอาการอารมณ์แปรปรวนให้คนรอบตัวเสียสุขภาพจิต

Dusadees pic 4 m2m
คุณมด-ดุษฎี ตันเจริญ กรรมการผู้จัดการบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด มหาชน

Food is medicine (อาหารคือยา)

การดูแลตัวเองนั้นมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง แต่หนึ่งเรื่องที่สำคัญมากๆ คือ เรื่องของอาหาร ที่เป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง อย่างที่มีหลายคนพูดกันว่า “Food is medicine” อาหารคือยารักษาโรค เพราะอาหารเป็นสิ่งที่คนเราใส่เข้าไปในร่างกาย ฉะนั้นการใส่ใจว่าอาหารที่กินมีที่มาที่ไปจากไหน หรือ “Food source” (แหล่งที่มาของอาหาร) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

อีกเรื่องที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยคือ การกินอย่างมีสติ (Mindfullness Eating) ในที่นี้ความหมายคือ เวลาจะกินเราก็ต้องใส่ใจและสละเวลาให้กับมันด้วย ไม่ใช่ว่าประชุมไป ทานอาหารไป ไม่ได้สนใจเรื่องการย่อยอาหาร เพราะการกินท่ีดีต้องมองให้เห็นว่าอาหารที่กินเป็นอะไร เพื่อที่สมองจะได้รับรู้ว่าร่างกายกำลังจะกินอาหาร ขณะที่เคี้ยวก็ต้องเคี้ยวอย่างน้อย 25-30 ครั้งอยู่แล้ว เพื่อที่น้ำย่อยในปากจะได้หลั่งออกมาเพื่อย่อยแป้ง ย่อยโปรตีน

เรื่องของการกินอย่างมีสติจะเป็นการช่วยให้กระบวนการย่อยอาหารสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ รวมถึงเรื่องของการทำสมาธิ และการออกกำลังกายก็เป็นสิ่งที่ดีและควรทำเช่นกัน แต่เรามักทำกันไม่ค่อยได้

Well-being กับการทำงาน

ปกติแล้วถ้าพูดถึงคำว่า Well-being คนส่วนมากมักจะถึงถึงเรื่องคุณภาพชีวิตในแง่ร่างกาย แต่จริงๆ แล้วมันมีอะไรมากกว่านั้น คือเรื่องของคุณภาพชีวิตในการทำงาน อย่างธุรกิจของเคหะที่เกี่ยวข้องกับอสังหาฯ การที่จะส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีไปให้ลูกค้า อย่างแรกเลยคือคนในองค์กรจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีก่อน

ดังนั้นที่มั่นคงเคหะจึงมีกิจกรรมที่เรียกว่า Well-being Challenge โดยมีธีมของเดือนต่างๆ เช่น ธีม Joy คือทำอย่างไรให้พนักงานมีความสุข มีสภาพจิตใจที่ดี, ธีม Water Challenge คือการที่ให้พนักงานมาแข่งกันกินน้ำให้ได้วันละ 6-8 แก้ว และยังมีกิจกรรม Food Sharing ที่ให้พนักงานแต่ละคนทำอาหารมาทานด้วยกันในช่วงเที่ยง ซึ่งนอกจากจะได้สานสัมพันธ์กันแล้ว จะยังทำให้พนักงานได้มีเวทีโชว์ฝีมือทำอาหารด้วย 

แน่นอนว่าการที่องค์กรมีความรู้เรื่อง Well-being Lifestyle ให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีแบบนี้จะช่วยเพิ่ม Productivity ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลาที่ใช้ในการทำงานน้อยลง ไปจนถึงการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น 

Well-being ในมุมของภาพใหญ่

สุขภาวะที่ดีเริ่มจากคน เพราะแท้ที่จริงแล้วพวกเราทุกคนเนี่ยล่ะ ที่เป็นคนช่วยกันสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกิดขึ้น เราจึงต้องไม่มองแค่ตัวเรามีร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี แต่ควรจะมองไปถึงภาพรวม หรือ พฤติกรรมของเราที่ส่งผลต่อโลกของเราให้มากขึ้น

อย่างเช่นสิ่งที่ทุกคนน่าจะช่วยกันได้เลยคือเรื่องของการหลีกเลี่ยง การลดใช้ Single-use plastic (พลาสติดประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง)

Advertisements

อย่างที่ออฟฟิศของมั่นคงก็จะแจกกระบอกน้ำให้กับพนักงาน ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่เล็กน้อย แต่ถ้าเราปลูกฝังให้คนของเราสามารถเริ่มทำสิ่งเหล่านี้ได้ สมมติเพียง 2-3 คน แต่ที่สุดแล้วเขาก็จะไปบอกต่อให้กับคนรอบข้าง กับที่บ้าน กับเพื่อนของเขา เป็นจุดเล็กๆ ที่ทวีคูณขึ้นไปเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้สังคมและสภาพแวดล้อมของเราน่าอยู่มากขึ้น

Dusadees pic 2 m2m
คุณมด-ดุษฎี ตันเจริญ กรรมการผู้จัดการบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด มหาชน

“โครงสร้างเมือง” กับ “สุขภาพจิต”

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเมืองเองก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเช่นกัน การกระจายตัวของเมืองย่อยๆ สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้ด้วย

ยกตัวอย่างย่านบางนาที่มีห้างเมกาบางนามาเป็นศูนย์กลางของย่านนั้น หลายๆ อย่างก็จะไปรวมตัวกันอยู่ที่นั้น ทั้งร้านอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้ถ้าหากเราทำงานหรือมีบ้านอยู่แถบนั้น เราแทบจะไม่ต้องผ่านเข้าไปในเมืองเลย

หรือฝั่งตะวันตกเองก็จะมีเซ็นทรัลเวสเกททำหน้าที่เป็นศูนย์กลางให้กับย่านเขตนั้นเช่นกัน รวมถึงย่านอื่นๆ ก็จะมีศูนย์กลางแบบนี้ในอนาคต ทำให้ทุกคนไม่จำเป็นต้องเข้าไปแออัดอยู่ใน CBD (Central Business Center) เช่นเดิม

และการที่เราไม่ต้องไปผจญรถติดในเมือง หรือความแออัดในกรุงเทพฯ นี่ล่ะ ที่เป็นอีกสิ่งที่ช่วยให้เรามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

การอยู่อาศัยแบบ Multi Generation

อีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจของการมี Well-being ในเชิงสภาพจิตใจ นั้นรวมถึงคงการอยู่อาศัยของคนในครอบครัวด้วย

ก่อนหน้านี้เราอาจเคยมองว่า คนกำลังจะเริ่มอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น คนเริ่มแยกตัวกันไป แต่จาก Study ที่มั่นคงเคหะทำมาล่าสุดได้เจอ insight ว่าคนเริ่มกลับมาอยู่เป็นครอบครัวใหญ่มากขึ้น อาจจะด้วยสภาวะของเศรษฐกิจ เพราะถ้ามีสองบ้านทุกอย่างก็คูณสอง แต่เมื่อมาอยู่ร่วมกันจะช่วยในเชิงเศรษฐกิจอย่างมาก

และเรื่องนี้ยังช่วยเรื่องสภาพจิตใจด้วยตรงที่ การอยู่ร่วมกันแบบ 3 Generations ส่วนหนึ่งนั้นทำให้ผู้สูงอายุไม่เหงา มีความสดชื่น

เพราะอาจจะได้ดูแลหลานๆ และคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ก็สบายใจด้วยเพราะลูกได้อยู่กับ คุณปู่ คุณย่า สบายใจกว่าการฝากเลี้ยง

ในอีกมุมหนึ่งก็มีผลในเชิงจิตวิทยาทางฝั่งผู้สูงอายุด้วยเพราะคนที่เป็น Silent Generation (อายุ 70-80 ปี) เป็น Generation ที่เรียกได้ว่าทำงานหนัก และอาจจะไม่มีเวลาให้กับการเลี้ยงดูลูกๆ มากเท่าไหร่นัก การได้ดูแลและเลี้ยงดูหลานๆ จึงเหมือนเป็นการทดแทนทางความรู้สึกในเชิงจิตใจ

Well-being เป็นสิ่งที่เราทุกควรตระหนัก

เราทุกคนควรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของ Well-being เพราะว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่ส่งผลต่อภาพรวมของเราตั้งแต่ร่างกายจิตใจและภาพรวมอื่นๆ ปกติเราจะพูดกันถึงแต่การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน การทำธุรกิจ ถ้าว่างบางคนก็อาจจะไปเล่น Social Media

แต่จริงๆ แล้วถ้าเราลองใช้เวลาเพื่อตัวเองหรือรักตัวเองให้มากขึ้น ดูแลตัวเองให้ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ตั้งหากที่จะทำให้เราเข้าใจตัวเอง และเราจะเริ่มใช้ชีวิตแบบมีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้ แล้วมันถึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ที่เรียกว่า “Lifestyle Change” 

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่