ย้อนรอย CPTPP ก่อนเตรียมเข้าสภาฯ เป็นครั้งแรก

1482

ย้อนดูเส้นทาง CPTPP | รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock Thailand

มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ
  • คณะรัฐมนตรีเตรียมจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาข้อดี-ข้อเสียของการเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP ในวันที่ 10-11 มิ.ย.นี้

ประเด็นเรื่องการผลักดันข้อตกลง CPTPP เข้าที่ประชุมรัฐสภา เป็นอีกหนึ่งข่าวที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ซึ่งต้องบอกว่าที่ผ่านมาได้มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้หลายครั้ง และอยู่ในความสนใจของประชาชนมาตลอด 

ล่าสุด ครม. ได้ตกลงให้รัฐสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือ กมธ. เพื่อพิจารณาเรื่องการพาประเทศเข้าร่วม CPTPP เรียบร้อยแล้ว โดยการประชุมจะมีการจัดขึ้นในวันพรุ่งนี้ ซึ่งนี่ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นของรัฐบาล

แต่ก่อนที่จะเดินทางไปถึงบทสรุปของเรื่องนี้ เราจะพาทุกคนมาย้อนดูไทม์ไลน์ของ CPTPP ตลอดช่วงสองเดือนที่ผ่านว่า กระบวนการต่างๆ ได้ผ่านมือของใครมาบ้างแล้ว

Advertisements

จุดเริ่มต้น ช่วงปลายเดือนเม.ย. นับเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายรัฐบาลออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นนี้อย่างจริงจัง โดยทาง ครม. ได้แถลงว่า กำลังเตรียมหารือเรื่องการเข้าเป็นสมาชิกข้อตกลง CPTPP อยู่

หลังข่าวนี้เผยแพร่ออกไป ประชาชนก็ออกมาคัดค้านกันอย่างล้นหลาม จนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต้องยอมถอนวาระนี้ออกจากที่ประชุม ภายหลังเขาได้เปิดเผยว่า อยากให้ความเห็นของประชาชนไปในทิศทางเดียวก่อน

แต่หลังจากนั้นไม่ถึงเดือน ก็มีข่าวว่าทาง ครม. จะหารือเรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 19 พ.ค. คราวนี้ประชาชนได้รวมตัวกันเป็น “เครือข่ายต่อต้าน CPTPP” เพื่อเตรียมหาทางหยุดยั้ง แต่สุดท้ายเรื่องนี้ก็ไม่ถูกบรรจุในวาระการประชุมแต่อย่างใด เพราะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ (ผู้ที่ผลักดันให้ไทยเข้าร่วมข้อตกลงนี้) ได้ลาป่วยไปก่อน

Advertisements

แต่แล้วในช่วงปลายเดือนพ.ค. ประเด็น CPTPP ได้กลับมาอีกรอบ และถือเป็นครั้งที่มีความคืบหน้ามากที่สุด หลังนายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย แถลงข่าวขอยื่นญัตติด่วน เพื่อให้รัฐสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือ กมธ. พิจารณาผลกระทบของการเข้าร่วม CPTPP อย่างถี่ถ้วน 

ทันทีที่ญัติด่วนดังกล่าวได้รับการตรวจสอบเรียบเรียบร้อยแล้ว ทาง ครม. ก็ได้ส่งเรื่องนี้ให้วิปรัฐบาลเสนอต่อสภาฯ เพื่อตั้ง กมธ.ตามที่นายศุภชัยยื่นเรื่องไว้

การตัดสินใจรับเรื่องการตั้ง กมธ. เพื่อพิจารณา CPTPP ทำให้ ครม.ถูกประชาชนคัดค้านอย่างมาก จนเกิดเทรนด์ #NOCPTPP ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในทวิตเตอร์ 

แต่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ได้อีก เพราะวันประชุมรัฐสภาที่จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 10-11 มิ.ย.นี้ ฝั่ง ครม. ได้บรรจุวาระการพิจารณาตั้ง กมธ. ไว้เรียบร้อยแล้ว

ในวันพรุ่งนี้เราต้องติดตามกันต่อไปว่าเหล่า ส.ส. จะมีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร เพราะการเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP เป็นเรื่องที่จะส่งผลกระทบกับประชาชนทุกคนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะภาคการเกษตร และภาคการบริการ

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่