Prototype แบบเข้าใจ

4984
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com

ถ้าใครติดตามงานเขียนหรือพอดแคสต์หรือแม้แต่งานบรรยายของผมมาตลอดนั้น คงพอจำได้ว่า คำนึงที่ผมพูดบ่อยมาก คือคำว่า Rapid Prototyping (การสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว)

ความหมายในมุมที่ผมจะพูดก็คือเวลาจะออกสินค้าหรือบริการใหม่ๆ เราไม่รู้ว่าหรอกว่าลูกค้าจะชอบหรือไม่ชอบ แต่ให้ทำมันออกมาก่อน แล้วปล่อยลงตลาดไปเลย แล้วตามไปเก็บ feedback แล้วค่อยกลับมาพัฒนาต่อ แล้ววนลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ

หรืออยากนำเสนอ marketing message (ข้อความทางการตลาด) กับลูกค้าแบบไหน ถ้ายังไม่แน่ใจ ก็ลองทำหลายๆ แบบแล้วเก็บ feedback ลูกค้ามา เพื่อพัฒนาต่อ

Advertisements

จริงๆ แนวคิดนี้ก็มาจากแนวคิด build-measure-learn (สร้าง-วัดผล-เรียนรู้) ที่ startup ชอบใช้กัน แต่เราเอามาปรับรายละเอียดนิดหน่อย

คำพูดที่ติดปากกันของเราคือ “ถูก-เร็ว” ถูกนี่ไม่ใช่ถูกต้องนะครับ แต่หมายถึงใช้เงินน้อยๆ ซึ่งก็หมายถึง fail fast, fail cheap นั่นเอง

เพราะถ้าทำแบบแพงและใหญ่ ถ้าเจ๊งขึ้นมาจะเจ็บตัวหนัก และส่วนตัวก็เคยขาดทุนเละเทะเพราะเล่นใหญ่แบบไม่ดูตาม้าตาเรือมาแล้ว

แต่ความเชื่อเรื่อง rapid prototyping ก็มีข้อควรระวังครับ โดยเฉพาะถ้าเอามาใช้ในองค์กรที่บริบทไม่เหมือน startup, สินค้าไม่เหมือน, ผู้บริโภคไม่เหมือน และที่สำคัญคือ mindset ของคนในองค์กรไม่เหมือนกับ startup ด้วย

นี่คือสิ่งที่ผมเจอมาครับ

1. บางทีความ “เร็ว” เป็นปัญหา:
ในบางบริบทของบางองค์คำว่า fail fast นั้นมันไม่ fast จริงครับ กว่าจะขออนุมติกว่าจะนั่นโน่นนี่ บางทีซัดไป 6 เดือน ถึงได้ทำ ซึ่งอย่าลืมว่า “เวลา” ก็เป็นต้นทุนที่แพงมากๆ

กว่าจะได้ทำ prototype รอบแรก รอบสอง รอบสาม บางทีคนในทีมก็เฉาหมดแล้วครับ มันเลยกลายเป็น fail slow, fail painful, fail expensive ไป หนักกว่าเดิมอีก

ดังนั้นเวลาจะ “เร็ว” ต้องแน่ใจว่าองค์กรของคุณรองรับความ “เร็ว” ได้จริง

2. ทีมเล็กๆ เหมาที่สุด:
อันนี้ลองมาเยอะแล้วเหมือนกันครับ ถ้าอยาก rapid prototyping จริงๆ ทำทีมใหญ่ มากคน มากความจริงๆ ครับ ดังนั้นไม่ว่าบริษัทจะใหญ่แค่ไหนก็ตาม ถ้าอยากเร็วอย่าเอาคนมาเยอะครับ เอาซัก 4 – 8 คนกำลังดี

3. ถ้าเรื่องบางเรื่องรู้อยู่แล้วแน่ๆ ไม่ต้อง prototype ก็ได้:
อันนี้ยกตัวอย่างเรื่องจริงให้ฟังละกันครับ เราเก็บข้อมูลมาเยอะมากจากการทำ podcast มาเกือบๆ 900 ตอนแล้ว พบว่าหนึ่งในสิ่งที่คนให้ความสำคัญมากคือคุณภาพเสียง 

Advertisements

ทีมตัดสินใจว่าเรากำลังจะทำ VDO และการ live ก่อนจะทำอะไรผมบอกก่อนเลยว่า อุปกรณ์เรื่องภาพและเสียงต้องดี เพราะเรื่องนี้เราลองกันมาเยอะแล้ว ไม่จำเป็นต้อง prototype แบบอัดด้วยมือถือ เพราะเราข้ามจุดนั้นมาแล้ว

อย่างที่เขียนไปในข้อ 1 ครับ เวลาทำของพวกนี้ มันมีมิติเรื่องเวลาด้วย สำหรับผม การทำคลิปหรือ live นั้นเป็นเวลาที่ต้องลงทุนเตรียมเยอะมาก ดังนั้นถ้าทำแล้วต้องผ่านมาตรฐานขั้นต่ำสุด หรือเสียงและภาพต้องดีแบบที่คนฟังและไม่รำคาญ

อันนี้เรียกว่าพื้นฐาน ไม่ต้อง prototype แล้ว

4. กระบวนการ prototype ต้องเป็น good representative (ตัวแทนที่ดี) ของจุดหมายปลายทางของเรา:
ต้องยอมรับว่ามีบางอย่างที่ prototype ง่าย บางอย่างที่ prototype ยาก 

แต่ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ต้องแน่ใจว่าวิธีการ prototype จะเอามาเชื่อมโยงกับจุดหมายปลายทางได้ นั่นหมายความว่าข้อมูลที่ได้จากการ prototype จะตอบคำถามเรื่องการทำของจริงได้

ผมเคยคุยกับนักธุรกิจท็อป 5 ของไทย ที่พูดชื่อไปใครก็รู้จัก และเป็นคนที่เชื่อเรื่อง rapid prototyping ด้วย ผมถามว่าเวลา prototype ต้องคิดถึงอะไรมากที่สุด

คำตอบนั้น สั้น ง่าย และชัดเจนมาก 

“จะ prototype อะไร ต้องแน่ใจว่ามันเป็น apple to apple กับโจทย์ของเรา“
(apple to apple เป็นสำนวนเปรียบเปรยว่าสิ่งที่เราทำนั้นนำไปสู่สิ่งเดียวกัน)

ผมคิดว่าชัดเจน ไม่ต้องอธิบายเพิ่ม

5. ให้แน่ใจว่ากระบวนการ prototype นั้นมีสเกลที่ต่างจากของจริงมากพอ:
บางทีเรายึดติดกับคำว่า prototype มากเกินไปจนลืมไปว่าบางทีค่าใช้จ่ายในการ prototype นั้นต่างจากการ launch full sclae(เปิดตัวเต็มรูปแบบ) ในตลาดนิดเดียว แต่ full scale ในตลาดนั้นได้ข้อมูลมากกว่าเยอะ ในกรณีแบบนี้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่หากว่าสเกลใกล้เคียงกันเมื่อไหร่ ผมเชื่อว่าทำ full scale ไปเลยดีกว่า

ข้อเน้นว่าเรื่องทั้งหมดนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมล้วนๆ ครับ จากประสบการณ์ส่วนตัวล้วน ลองปรับใช้กันได้ครับ 

Happy Prototyping!

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่