NEWSTrends“ตัดผม-เผาฮิญาบ” ความสูญเสียที่นำมาสู่การเรียกร้องสิทธิสตรีในอิหร่าน

“ตัดผม-เผาฮิญาบ” ความสูญเสียที่นำมาสู่การเรียกร้องสิทธิสตรีในอิหร่าน

“สตรี ชีวิต และเสรีภาพ!”
“เผด็จการจงพินาศ!”

เสียงตะโกนของผู้ประท้วงชาวอิหร่านทั้งชายและหญิงดังกึกก้อง ภาพการก่อกองเพลิงเผาฮิญาบ การตัดผมประท้วง พร้อมการทำลายรูปภาพผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ปรากฏอยู่ทุกเมืองทั้งเล็กและใหญ่ทั่วประเทศ

ในขณะเดียวกัน โซเชียลมีเดียก็เต็มไปด้วยวิดีโอการตัดผมประท้วง พร้อมภาพเด็กนักเรียนจากหลายโรงเรียนชูนิ้วกลางให้แก่รูปภาพของผู้นำ โดยพวกเธอทั้งหมดอยู่ในสภาพปล่อยผมยาวสยาย ปราศจากฮิญาบ

หากพูดถึง “อิหร่าน” เราคงนึกถึงประเทศในแถบตะวันออกกลางที่เคร่งศาสนา และเคร่งครัดกับการแต่งกายของสตรี แต่เหตุใดจึงเกิดการลุกฮือเป็นวงกว้างอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และนำไปสู่การประท้วงที่มีผู้เสียชีวิตนับร้อยเช่นนี้

เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเพราะการเสียชีวิตของหญิงสาววัย 22 ปี ชื่อ “มาห์ซา อามินี”

ความสูญเสียที่จุดประเด็นร้อนในตะวันออกกลาง

ในวันศุกร์ที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา “มาห์ซา อามินี” (Mahsa Amini) หญิงสาวชาวอิหร่านวัย 22 ปี เสียชีวิตหลังจากถูกควบคุมตัวโดย “ตำรวจศีลธรรม” หน่วยงานที่ดูแลเรื่องการแต่งกายของประชาชนโดยเฉพาะ เมื่อ 3 วันก่อนหน้านั้น ในข้อหาแต่งกายไม่ถูกต้องตามกฎระเบียบ

หลังการจับกุม มาห์ซา อามินี เข้าโรงพยาบาลด้วยอาการโคม่าและเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยทางเจ้าหน้าที่ระบุว่าเธอเสียชีวิตเพราะอาการหัวใจล้มเหลว แต่ครอบครัวไม่เชื่อเช่นนั้น พร้อมกับยืนยันว่า บุตรสาวสุขภาพแข็งแรงดีและไม่เคยมีอาการป่วยเกี่ยวเนื่องกับหัวใจมาก่อน

วิดีโอจากกล้องวงจรปิดที่มีการปล่อยออกมาโดยสื่อของทางรัฐ แสดงให้เห็นภาพของอามินีที่กำลังทรุดตัวล้มลง หน้าศูนย์การศึกษาศีลธรรมที่เธอถูกควบคุมตัวไปอบรมเรื่องการแต่งกาย

ในการพูดคุยร่วมกันระหว่างครอบครัวของมาห์ซา อามินี ผู้ช่วยผู้นำสูงสุดอิหร่าน อับดลเรซา ปูร์ซาฮาบี (Abdolreza Pourzahabi) ให้คำมั่นสัญญาว่า จะทำการสอบสวนถึงเบื้องหลังการเสียชีวิตของเธออย่างละเอียด และยังบอกอีกว่าทางผู้นำสูงสุดของอิหร่าน หรือ อาลี คาเมเนอี (Ali Khamenei) รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมาก

ในด้านของหน่วยงานตำรวจ ฮุสเซน ราฮิมี (Hossein Rahimi) ผู้บัญชาการตำรวจเตหะราน ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าตำรวจศีลธรมเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมาห์ซา อามินี และยืนยันว่า ตำรวจอิหร่านทำทุกวิถีทางเพื่อจะยื้อชีวิตของอามินีให้ได้

เขายังบอกอีกว่า อามินีไม่ได้ถูกทำร้ายร่างกายแต่อย่างใดในขณะที่เธอถูกควบคุมตัว แต่ดูเหมือนว่าประชาชนจะไม่เชื่อเช่นนั้น

การลุกฮือของชาวอิหร่านทั่วประเทศ

การประท้วงเริ่มต้นขึ้นหลังจากงานศพของมาห์ซา อามินี ในวันที่ 17 กันยายน 2565 โดยเริ่มต้นจากเมืองแซเกซ บ้านเกิดของเธอ จากนั้นได้กระจายไปยังเมืองหลวงเตหะรานและเมืองต่างๆ ไปจนถึงเมืองที่เคร่งศาสนาและมีความเป็นอนุรักษนิยมมากๆ อย่างเมืองมาแชดด้วย

สำนักข่าว CNN รายงานว่า การประท้วงที่มีขนาดใหญ่และรุนแรงเช่นนี้ ไม่ได้มีให้เห็นนานแล้ว ตั้งแต่การประท้วงรัฐบาลเรื่องราคาแก๊สในปี 2019 หรือเมื่อ 3 ปีที่แล้ว

วิดีโอบนโลกออนไลน์แสดงให้เห็นเหล่าผู้ประท้วงทั้งชายและหญิง ตะโกนประโยคเช่น “สตรี ชีวิต และเสรีภาพ” (“Women, life, freedom.”) และ “เผด็จการจงพินาศ” (“Death to the dictator.”) พร้อมการเผาฮิญาบและการทำลายรูปผู้นำสูงสุด อาลี คาเมเนอี

วิดีโอหนึ่งจากเตหะรานแสดงให้เห็นภาพผู้ประท้วงซึ่งเป็นเยาวชน ยืนอยู่รอบกองเพลิงและส่งเสียงเป็นหนึ่งเดียว ใจความว่า พวกเขาคือบุตรหลานแห่งสงคราม ที่พร้อมจะสู้กลับ นอกจากนี้ยังมีการประท้วงแบบ “Flash Protest” หรือการชุมนุมและสลายตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการปะทะกับตำรวจสลายม็อบอีกด้วย

ส่วนทางตำรวจนั้นก็มีการใช้มาตรการต่างๆ ในการสลายการชุมนุม เช่น ไม้กระบอง รถฉีดน้ำแรงดันสูง น้ำตาเทียม รวมถึงการใช้อาวุธปืนพร้อมกระสุนจริง อย่างไรก็ตาม ตำรวจก็ไม่สามารถหยุดยั้งความไม่พอใจนี้ได้ ยังมีการประท้วงอย่างต่อเนื่อง แม้ ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2565 จะมีการคาดการณ์ว่ายอดผู้เสียชีวิตในการประท้วงทั่วประเทศสูงถึง 185 คน และ 19 คนในผู้เสียชีวิตคือเยาวชน

หลายประเทศได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงครั้งนี้ สหรัฐอเมริกาและแคนาดาประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ของอิหร่าน ส่วนสหภาพยุโรป (EU) กำลังพิจารณาแช่แข็งสินทรัพย์และแบนการเดินทางของอิหร่าน

“พวกคนที่ทุบตีผู้หญิงและเด็กหญิงชาวอิหร่าน พวกคนที่จับกุม กักขังผู้คนตามอำเภอใจ และนำมาสู่ความตายของผู้คนที่ต้องการเพียงจะใช้ชีวิตอย่างเสรี คนพวกนี้เลือกยืนอยู่ข้างที่ผิด” อันนาเลนา แบร์บ็อค รัฐมนตรีวา่าการต่างประเทศของเยอรมันให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Bild am Sonntag ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

(หมายเหตุ: บทความนี้เขียนขึ้น ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2565)

อ้างอิง
Why Iranian women are cutting their hair : https://cnn.it/3RRZZfz
Mahsa Amini: Iran women protest and burn their hijabs over death of woman who died in police custody : https://cnn.it/3Vh2tXA
Protests grip Iran as rights group says 19 children killed : https://reut.rs/3Vds9oh

#trend
#society
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements
Advertisements

 

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า